กระดานสุขภาพ

ผมเป็นนิ่วในไต แต่หมอไม่ได้ให้ยาอะไรมารักษาเลยครับ ทำอย่างไรดี
Gosi*****n

27 พฤศจิกายน 2555 18:02:22 #1

ผลของการตรวจ  Liver is not enlarged. Patchy hypereecho areas are seen at right lobe liver. no definite pressure effect to adjacent vessels. Portal vein is intaact.

bile ducts and GB are normal. no stone.

Pancreas.spleen are both kidneys are nornal.Small right RC is seen at upper polem0.3 cm. Small left RC is also observed at lower pole.0.4cm 

no ascitis or LN enlargement IMPRESSION  patchy hyperecho at right lobe liver.focal fatty liver is suggested. Small bilateral RC without evidence of calyectasis 

 

ผมอยากทราบดังนี้ครับ

1. ผมควรจะไปตรวจอีกครั้ง เมื่อไหร่ครับ

2.ผมสามารถที่จะไปขอทำการรักษาได้ไหมครับ ( หมอที่ตรวจผม เขาบอกว่า ยังไม่ต้องทำการรักษาใดๆ ทั้งสิ้น ณ ตอนนี้   

อายุ: 32 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 73 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.84 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

(วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)

29 พฤศจิกายน 2555 02:46:01 #2

นิ่วในไตทั้ง 2 ข้างของคุณ ขนาดเล็กมาก คือ ข้างขวา 0.3 ซม และข้างซ้าย o.4 ซม. นิ่วขนาดนี้มักหลุดออกมาได้เองจากการดูแลตนเอง โดยเฉพาะการดื่มน้ำมากๆ คุณอายุ 32 ปี คงยังไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคไต โรคหัวใจ) จึงอาจดื่มน้ำได้ถึงวันละ 1-2 ลิตร ทยอยดื่มตลอดทั้งวัน และดูแลตนเองในเรื่องการจำกัดอาหารที่เพิ่มให้เกิดการตกตะกอนของปัสสาวะ (แนะนำให้คุณอ่านบทความเรื่อง นิ่วในไต ในเว็บ haamor.com ที่มีคำแนะนำในเรื่องอาหาร รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไตเพื่อการดูแลตนเอง)

การกินยาต่างๆ จะเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของยาโดยไม่จำเป็น เช่น ความดันโลหิตต่ำ หรือ ผลต่อไต และตับ แพทย์จึงไม่ได้ให้ยาคุณ แต่แพทย์คงแนะนำการดูแลตนเองแล้ว ให้คุณปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ และตามที่ได้แนะนำในบทความที่แนะนำให้คุณอ่านคะ

จากใบอ่านผลตรวจ ดิฉันเดาว่า เป็นการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ คุณสามารถตรวจติดตามเรื่องนิ่วได้ ภายใน 1-2 เดือนหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยเฉพาะการดื่มน้ำมากๆ และถ้ากังวลถึงผลข้างเคียงจากการตรวจอัลตราซาวด์ แนะนำคุณอ่านอีกบทความ เรื่อง อัลตราซาวด์ ในเว็บhaamor.com เช่นกัน จะได้หายกังวลคะ

คุณควรคอยสังเกตตนเอง ถ้ามีอาการ ปวดท้อง/ปวดหลัง/ปวดเอวมาก ลักษณะจะปวดบีบเป็นพักๆ ข้างซ้าย หรือ ขวาก็ได้ เพราะคุณมีนิ่วทั้ง 2 ข้าง อาจร่วมกับมีไข้ได้ คุณควรรีบไปโรงพยาบาลที่คุณได้รับการตรวจมา เพราะนิ่วขนาดเล็กในไต อาจหลุดลงมาอุดตันในท่อไตได้คะ

 

พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

Gosi*****n

30 พฤศจิกายน 2555 18:42:59 #3

ขอบพระคุณคุณหมอ อย่างยิ่งครับ ที่ได้ให้ความกระจ่างแ่ก่ผมมาก ผมจะนำวิธีการที่คุรหมอแนะนำ ไปปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดครับผม ผมมีข้อสงสัยเพิ่มเติมครับ ไม่ทราบว่าผมจะแยก อาการปวดหลัง กับอาการปวดเนื่องมาจากนิ่วในไต ไปอุดตันที่ท่อไตได้อย่างไรครับ เพราะ ทุกวันนี้ผม มีอาการปวดหลัง มาเป็นเวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากผมนั่งทำงานนานครับ เวลาปวดผมจะทายาคลายกล้ามเนื้อ พอรุ่งเช้าก็อาการดีขึ้นครับผม  ผมอาจจะวิตก เกินเหตุ ไปหรือปล่าวครับ ใจจริงๆ ผมอยากจะทำ shock wave มากครับ เพื่อสลายนิ่ว แต่กลัวว่า คุณหมอ จะไม่ยอมทำให้ครับ เนื่องจาก คุณหมอเห็นว่าก้อนนิ่วยังไม่โตพอ ที่ควรจะทำ ไม่ทราบว่าเราสามารถเลือกที่จะทำ shock wave ได้ไหมครับ ถ้าเราไม่รอให้ ร่างกายขับก้อนนิ่ว ออกมาเอง ขอบคุณคุณหมอ อีกครั้งนะครับ ที่สละเวลามาตอบให้ผู้ป่วย 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

(วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)

1 ธันวาคม 2555 02:00:12 #4

อาการปวดหลังของคุณ น่าจะเกิดจากการนั่งนานๆตามที่คุณวินิจฉัยตัวเอง การแก้ไข คือ ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ ขยับท่าทางและเคลื่อนไหวเสมอ เลือกเก้าอี้ให้เหมาะกับงาน และนั่งให้ถูกท่าทาง (หลังตรงเสมอ)

การแยกอาการปวดหลังจากทั้ง 2 กรณีให้ได้ 100% เป็นไปไม่ได้ ต้องใช้การตรวจร่างกาย และการตรวจอัลตราซาวด์แยกเรื่องนิ่ว

อย่างไรก็ตาม แพทย์มีแนวทางแยกทั้ง 2 กรณีดังนี้ -อาการปวดหลังจากนิ่วในท่อไต จะเกิดเฉียบพลัน ปวดข้างเดียว ปวดเอว (คือปวดด้านข้าง) ปวดมาก มักปวดจนตัวงอ ปวดบีบเป็นพักๆ อาจมีไข้ และร่วมกับมีประวัติเป็นนิ่วในไต -แต่ปวดหลังจากโรคปวดหลังทั่วไป จะปวดไม่มาก ปวดเรื้อรัง อาจเรียกว่าปวดเมื่อย ปวดตรงกลาง บางครั้งร้าวลงหน้าขาได้ บางครั้งถ้ามีโรคหมอนรองกระดูกด้วย ก็จะมีอาการชา ขา หรือ นิ้วเท้าร่วมด้วยได้ (ถ้าต้องการรู้ว่าปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเป็นอย่างไร แนะนำอ่านบทความในเว็บ haamor.com เรื่อง ปวดหลัง: ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง คะ)

ทั้งนี้ การทำ shock wave ไม่มีข้อบ่งชี้ให้ทำในนิ่วขนาดเล็ก เพราะการรักษาอาจพลาดเป้า และนิ่วขนาดเล็กหลุดได้เองจึงไม่คุ้มที่จะเสี่ยงกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจาก shock wave คือ -นิ่วไม่แตก (นิ่วยังคงอยู่ พบได้ประมาณ 20%)

  • นิ่วหลุดมาอุดตันในท่อไต
  • ไตติดเชื้อ
  • ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • มีเลือดออกในไต
  • และเนื้อเยื่อไตถูกทำลายจากตัวคลื่น shockwave ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรังในภายหน้าได้

 

บรรณานุกรม

http://www.livestrong.com/article/68669-complications-extracorporeal-shock-wave-lithotripsy/ [2012, Dec 1].

 

พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์