กระดานสุขภาพ

อาการของการตั้งภรรภ์ , ยาคุมกำเนิด , คำนวนไข่ตก
Anonymous

12 มีนาคม 2558 05:48:15 #1

1.สวัสดีค่ะ คือว่า ก่อนหน้านี้ทานยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด แล้วเว้น 7 วัน รอประจำเดือนมา (ปกติทานทุกวันจันทร์ เวลา 20.00 น. ) แล้ววันที่ 26  ก.พ.58 เป็นวันที่ประจำเดือนมาค่ะ หลังจากนั้นพอครบ 7 วัน ก็เริ่มทานยาแพงถัดไป(**ทานยาคุมมาประมาณปีกว่าแล้วค่ะ**) คือทานวันจันทร์ค่ะ ทานยาคุมกำเนิดได้ 3 วัน คือ จันทร์ ที่ 2 มี.ค. , อังคาร ที่ 3 มี.ค. และ พุธ ที่ 4 มี.ค. (ซึ่งวันพุธที่ 4 ทานยาช้าไป ทานไปตอน 2 ทุ่มกว่า แล้ววันที่ 4 ก็มีเพศสัมพันธ์ หลังจากที่ทานยาไปแล้วค่ะ ) อยากทราบว่ายังอยู่ในช่วง หน้า 7 หลัง 7 หรือไม่ และมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์มั้ย เพราะหลังจากนั้นเริ่มมีอาการคือ วันอังคารที่ 10 มี.ค มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ ทานเข้าไปแล้วก็อาเจียนออกมา มีท้องเสียร่วมด้วย จึงอยากทราบว่าเป็นอาการของคนที่ตั้งครรภ์หรือไม่หรือ  และจะสามารถตรวจหาผลการตั้งครรภ์โดยการตรวจปัสสาวะได้เมื่อไหร่

2.ระหว่างทานยาคุมกำเนิดกับการฉีดยาคุมกำเนิดแบบไหนดีกว่ากันคะ

3.ยาคุมกำเนิด 1 เม็ด สามารถได้เมื่อไหร่และคุมกำเนิดได้นานเท่าไหร่คะ (ไม่ใช่แผงแรกนะคะ )

4.อยากจะทราบวันตกไข่ จะทราบได้อย่างไรคะ เคยไปศึกษาดูในอินเตอร์เน๊ต ก็จะมีบอกว่าถ้าสำหรับคนที่ประจำเดือนมา สม่ำเสมอจะสามารถคำนวนวันตกไข่ได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าประจำเดือนของเรามาสม่ำเสมอ เคยลองนับวันที่จะจำเดือนมาดูก็ยัง งง เลยไม่ค่อยแน่ใจ

ประจำเดือนมาล่าสุด 26 ก.พ. 58 ก่อนล่าสุด 29 ม.ค.58 ก่อนของก่อนล่าสุด 01 ม.ค.58 (โดยสังเกตแล้ว จะมาทุกวันพฤหัส) อย่างนี้เรียกว่าประจำเดือนมาสม่ำเสมอหรือป่าวคะ แล้วอย่างนี้วันที่ไข่ตกจะเมื่อไหร่คะ หรือต้องรอดูประจำเดือนอย่างน้อย 6 เดือนก่อน ถึงจะรู้ว่ามาสม่ำเสมอหรือไม่ เพื่อจะได้คำนวนวันตกไข่ได้

ขอบคุณค่ะ

อายุ: 23 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 47 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.26 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
นพ.เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล

(สูติ-นรีแพทย์)

17 มีนาคม 2558 17:03:19 #2

กรณีแรก การคำนวณวันตกไข่นั้น จะใช้ได้แม่นยำในคนที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอนะครับ ซึ่งการคำนวณจะต้องคำนวณจากระยะระหว่างรอบประจำเดือน โดยจะนับจากวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมาย้อนไป 2 สัปดาห์ หรือ 14 วัน เช่น หากรอบเดือนประมาณ 30 วัน และวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมาเป็นวันที่ 30 ดังนั้นวันที่ตกไข่ ก็จะเป็นวันที่ 16 เป็นต้น ซึ่งการมีเพศสัมพันธ์ก่อนหน้าและหลังวันนี้ 2 วัน จะเป็นช่วงที่มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้สูงครับ ซึ่งการนับวันตกไข่นี้ ปกติแล้วจะใช้เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้มากขึ้นสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก ไม่ควรนำมาใช้ในการคุมกำเนิดครับ เพราะจะพลาดได้มากครับ และ หากทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบแผงรายเดือนอยู่ ก็จะเป็นการยับยั้งการตกไข่อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมานับวันเลยครับ

ซึ่งในเรื่องของยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นแบบ 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด ก็มีวิธีการใช้เหมือนกันครับ คือ เร่ิมทานเม็ดแรกของแผงภายใน 5 วัน นับจากประจำเดือนมาวันแรก ทานช่วงเวลาไหนก็ได้ ขอให้เป็นเวลาเดิม และ เป็นเวลาที่คาดว่าจะไม่ลืมทาน ซึ่งหากเริ่มทานได้ดังนี้ ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ช่วงใดก็ได้ จะหลั่งด้านในหรือนอกก็ได้ครับ หากทานแบบ 28 เม็ด ก็ให้ทานต่อแผงไปเรื่อยๆ ซึ่งประจำเดือนจะมาช่วง 7 เม็ดสุดท้ายของแต่ละแผง ส่วนหากทานแบบ 21 เม็ด ก็ให้เว้น 7 วัน และเริ่มแผงใหม่ได้เลย โดยระหว่างที่เว้นนี้ จะเป็นช่วงที่ประจำเดือนมาครับ หากมีการลืมทาน หากลืมเพียง 1 เม็ดก็ไห้ทานเมื่อนึกขึ้นได้ และหากลืมทาน 2 เม็ด ก็ไห้ทานวันที่นึกขึ้นได้พร้อมกับเม็ดที่ต้องทานในว้นนั้นๆไปรวมเป็นสองวันติดกัน แต่หากลืมทาน 2 เม็ด ในช่วงที่เลยกลางรอบเดือนไปแล้ว หรือ มากกว่า 3 เม็ดขึ้นไป ก็ให้คุมกำเนิดวิธีอื่นๆด้วย เช่น ใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยครับ ซึ่งจากที่กล่าวมา หากทานเลยเวลาไปเล็กน้อย ถือว่า ประสิทธิภาพยาไม่ได้ลดลงจะทำให้ป้องกันการตกไข่ไม่ได้ครับ และ ประสิทธิภาพของยาจะเร่ิมตั้งแต่เม็ดแรกๆ เลยครับ ซึ่งกลไกในช่วงแรกจะเป็นการยับยั้งการกระตุ้นไข่ทำให้ไข่ไม่พร้อมที่จะตก จึงเป็นการยับยั้งการตกไข่ในช่วงกลางรอบเดือนครับ ส่วนอาการต่างๆนั้น ไม่ได้เป็นอาการของการตั้งครรภ์นะครับ อาการต่างๆนี้จะเร่ิมเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 6-7 สัปดาห์ไปแล้วหากตั้งครรภ์จริงครับ

ในเรื่องการคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉีดนั้น จะมีข้อดีในเรื่องสะดวกในการบริหารยาทุก 3 เดือน แต่อาจมีข้อเสียได้เล็กน้อย เช่น อาจมีเลือดกะปริดกะปรอยได้ หลังหยุดยากอาจมีเลือดประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่เป็นรอบได้ และ โอกาสมีบุตรหลังจากหยุดฉีดยาในช่วง 1-3 เดือนนั้น อาจมีโอกาสค่อนข้างน้อยครับ แต่จะกลับมามีได้ประมาณ 90% ภายใน 3-6 เดือนหลังหยุดยาครับ หากไม่มีปัญหาเรื่องอื่นๆ ดังนั้น ข้อดีข้อเสีย อาจต้องประเมินในเรื่องว่า ต้องการคุมกำเนิดนานเพียงใด โดยคำนึงถึงความสะดวกในการบริหารยามากกว่าครับ

ส่วนการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะนั้น ควรตรวจในช่วงที่ประจำเดือนไม่มาหรือขาดหายไปประมาณ 1 สัปดาห์ ผลที่ได้จะน่าเชื่อถือครับ การตรวจก่อนหน้านี้ ไม่สามารถบอกได้นะครับ หรือ หากสับสนว่าจะตรวจช่วงไหนดี ก็อาจตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด 2 สัปดาห์ และ ให้ตรวจซ้ำอีกครั้งใน 1 สัปดาห์ต่อมา หากปกติด้วยครับ และ หากประจำเดือนไม่มาหรือขาดหายไปเกิน 2 สัปดาห์ก็ควรมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุจะดีกว่าครับ