กระดานสุขภาพ

ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
Anonymous

11 กรกฎาคม 2557 11:31:54 #1

ขอคำปรึกษาคุณหมอเรื่องท้องอืดหน่อยค่ะ

ก่อนหน้านี้มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อาการนั้นเกิดขึ้นก่อนเป็นประจำเดือนมา 1 สัปดาห์ หลังประจำเดือนมาก็ดีขึ้น

แต่ก่อนหน้านี้หนูมีประวัติเป็นโรคกระเพาะมาก่อนค่ะ เลยอยากเรียนถามคุณหมอว่า

- อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ส่วนใหญ่จะมีผลทำให้ปวดบริเวณใต้หน้าอกไหมคะ คือไม่เจ็บเต้านมเหมือนตอนประจำเดือนค่ะ แต่เหมือนปวดๆ ใต้อก บางทีก็ลามไปปวดกระเพาะบ้าง หรือท้องน้อยบ้าง แต่รู้สึกได้่ว่ามีแก๊ซในกระเพาะ

เคยถามหมอที่คลีนิก บอกว่าเวลาท้องอืด จะมีผลทำให้เจ็บๆหน้าอกด้วย เป็นเพราะอะไรหรอคะ ตอนนั้นถามไม่ค่อยละเอียด 

- อาหารที่เหมาะสมมีอะไรบ้างคะ คือรู้มาว่าพวกโรคกระเพาะ ไม่มีทางหายขาด ตอนนี้ไม่มีอาการคลื่นไส้อะไร แต่กินพวกยาลดกรดหลังอาหาร 

- ความเครียด และพักผ่อนน้อย มีผลต่อโรคกระเพาะอาหารมากน้อยเพียงใดคะ

จึงเรียนมาเพื่อสอบถามค่ะ

 

อายุ: 26 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 44 กก. ส่วนสูง: 155ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.31 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Haamor Admin

(Admin)

12 กรกฎาคม 2557 06:08:14 #2

ถึง คุณ 3fd5e

เนื่องจากเว็บไซต์เป็นที่สาธารณะ ดังนั้นเพื่อให้ข้อมูลเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากที่สุด ทางทีมงานจึงทำการซ่อนชื่อจริงของผู้ถามให้นะคะ โดยคุณ 3fd5e ยังสามารถติดตามคำตอบคุณหมอได้ที่กระทู้นี้ค่ะ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

(วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)

12 กรกฎาคม 2557 10:10:56 #3

1. อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ส่วนใหญ่จะมีผลทําให้ปวดบริเวณใต้หน้าอก ฯลฯ: อาการดังกล่าวเกิดได้จากแก๊สในระบบอาหารส่งผลให้ให้เกิดการดันขยายของอวัยวะทางเดินอาหารก่ออาการปวดท้องได้ทุกส่วนของช่องท้อง และถ้าแก๊สในทางเดินอาหารไปดันกระบังลมก็จะส่งผลให้เจ็บหน้าอกได้

2. อาหารที่เหมาะสม คือ อาหารย่อยง่าย รสจืด เคี้ยวอาหารให้ช้า เคี้ยวให้ละเอียด ไม่กินอาหาร่วมกับดื่มน้ํา กินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อย แต่กินให้มากมื้อขึ้น ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ดื่มกาแฟ ไม่ดื่มน้ําอัดลม ไม่สูบบุหรี่ หรือ สูบบุหรี่มือสอง สังเกตเสมอถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทอาหารและปริมาณอาหารที่ทานกับอาการ แล้วปรับตัวตามนั้นร่วมกับ การรักษาสุขภาพจิต การเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ออกกําลังตามควรกับสุขภาพทุกวัน

3. เครียดและพักผ่อนน้อยเป็นปัจจัยสําคัญต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารเพราะส่งผลให้เกิดกรดในกระเพราะอาหารมากเกินปกติ

 

พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์