กระดานสุขภาพ

สอบถามอาการดังต่อไปนี้ค่ะ
Anonymous

31 พฤษภาคม 2557 06:02:56 #1

เนื่องจากอาการนี้เป็นมาได้ประมาณเกือบ 3 สัปดาห์แล้วค่ะ ไม่หายสักที จึงอยากจะรู้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

คือ อาการมีดังนี้ค่ะ คือ มีอาการง่วงนอน ตอนแรก คิดว่า เอะ เราพักผ่อนไม่เพียงพอหรือเปล่า หรือเรานอนดึกหรือเปล่า ก็เลยนอนเร็วขึ้น 20.30 น. ก็นอน ตื่นขึ้นมา 04.30 น. ก็ยังเป็นเหมือนเดิม ยังคงมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา หาวตลอดเวลา ยิ่งช่วง1สัปดาห์ที่ผ่านมา อาการง่วงยิ่งมากขึ้น โดยหาว และอยากนอนทั้งวัน พยายามไม่นอน แต่พอเวลา 17.00น.เริ่มง่วงจัดชนิดว่านั่งอยู๋ยังสามารถหลับได้ ก็พยายามไม่นอน พอเวลา 18.00 นี่ ฝืนไม่ไหวแล้วค่ะ ต้องนอน ไม่งั้นมีอาการปวดและเวียนหัว และหาวจนน้ำตาไหลเลย อยากทราบว่ามันเป็นอาการของโรคต่างๆไได้หรือเปล่าค่ะ ทุกวันนี้พยายามบังคับตัวเองให้นอน 21.00 แต่ไม่ถึง 21.00 ก็หลับก่อนแล้วค่ะ แล้วตื่นมาอีกที ตอนช่วงตี3-5 แล้วก็นอนไม่หลับแล้วค่ะ ทำให้สงสัยว่าจะเกิดจากเป็นสัญญานเตือนของโรงอะไรหรือเปล่าค่ะ 

อายุ: 22 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 58 กก. ส่วนสูง: 157ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.53 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
นพ.มงคล อังคศรีทองกุล

ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว

3 มิถุนายน 2557 03:50:31 #2

การง่วงนอนง่ายผิดปกติ เป็นอาการผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยทั่วไป ความง่วง ถือว่าเป็นภาวะปกติของร่างกาย บางครั้งแยกยากว่า ง่วงแค่ไหน หรือแบบไหน เป็นปกติ หรือผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ความง่วงที่เกิดบ่อย ง่าย มักจะรบกวนสมาธิ รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และมีผลต่อสุขภาพในภาพรวมด้วย จากการศึกษาสำรวจ พบว่า ในวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 5 มีปัญหาเรื่องง่วงนอนผิดปกติ โดยส่วนใหญ่พบร่วมกับ การอดนอน นอนหลับไม่สนิท นอนกรน การทำงานเป็นกะ การใช้ยานอนหลับ เครื่องดื่มชา กาแฟ รวมถึง แอลกอฮอล์ 

สาเหตุ หรือ ปัจจัยที่สำคัญๆ ของการง่วงนอนผิดปกติ ที่พบบ่อย คือ การนอนไม่เพียงพอ หรืออดนอน โดยทั่วไปมีผลจากการใช่้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ทัศนคติที่มีต่อการนอน ทำให้นอนน้อยลง มีผลให้จำนวนชั่วโมงการนอนที่ร่างกายต้องการถูกลดลงสะสมไปเรื่อย รองลงมา คือ การขาดความต่อเนื่องในการหลับ หรือการหลับถูกรบกวนต่อเนื่องเป็นระยะๆ ส่งผลให้อ่อนเพลีย ง่วงนอนในตอนกลางวัน อาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงรบกวน แสงไฟในห้องนอน อุณหภูมิร้อนเย็นเกินไป หรือแม้แต่จากเตียง ที่นอน จากความผิดปกติหรือโรคประจำตัว เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ที่เกิดเป็นพักๆขณะหลับ การกรน การหยุดหายใจเป็นพักๆ ส่งผลต่อระดับออกซิเจนในเลือด ทำให้มีอาการรู้สึกตัวของสมองเป็นช่วงๆ การนอนหลับจะขาดความต่อเนื่ิอง การปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัจจัยอีกอย่างหนึ่ง คือ วงจรจังหวะการนอน-ตื่น ของแต่ละคน ซึ่งเปรียบเสมือนนาฬิกาของร่างกายที่คอยบอกว่าควรนอน ควรตื่นเมื่อไหร่ ในคนที่ทำงานเปลี่ยนกะบ่อยๆ คนที่เดินทางข้ามโซนเวลา เกิด jet lag ทำให้วงจรจังหวะการนอนจะผิดปกติ ส่งผลต่อการง่วงการนอนได้ นอกจากนี้ การใช้ยานอนหลับ ชา กาแฟ เหล้าเบียร์ โรคของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น โรคระบบประสาท โรคซึมเศร้า โรคไทรอยด์ ภาวะโลหิตจาง โรคหัวใจ เป็นต้น ก็ส่งผลต่อการนอน การง่วงนอนได้