กระดานสุขภาพ

ทานยาคุุมฉุกเฉินร่วมกับยาคุมปกติ อันตรายมั้ย
Anonymous

6 ธันวาคม 2560 14:07:35 #1

สอบถามค่ะ ตามเรื่องราวด้านล่าง 1.เมื่อกินยาคุมฉุกเฉินร่วมกับยาคุมปกติ เมนส์จะมาวันไหนคะ 2.มีโอกาสท้องมั้ยคะ 3.ถ้าช่วงหมดยาเม็ดที่ 21 (แผงแรก)รอขึ้นแผงที่ 2 ช่วง 7 วันที่รอ เมนส์ควรมา ถ้าไม่มาคือท้อง100%เลยมั้ยคะ หรือแปรปรวนจากยาคุมฉุกเฉิน 4. เพื่อให้แน่ใจว่าท้องหรือไม่ ใช้ที่ตรวจครรภ์ปกติตรวจจะเจอมั้ย? หรือควรตรวจเลือดดีคะ? 5.ถ้าตั้งครรภ์แล้วไม่รู้ว่าตั้งครรภ์ แต่กินยาคุมแผง21 ต่อไป อันตรายกับเด็กมั้ยคะ วันที่ 1 = เมนส์มาวันแรก วันที่ 3 = เริ่มกินยาคุมแบบปกติ (21เม็ด)) วันแรก ( กินตอน 8 โมงเช้าของทุกวัน) *แผงแรกหลังจากหยุดกินไป 3 เดือน วันที่ 5 = • กินยาคุมแบบปกติมาได้ 5 วัน • มีเพศสัมพันธ์ตอนกลางคืน (ประมาณ 5 ทุ่มครึ่ง) **ไม่มั่นใจว่ายาคุมปกติออกฤทธิ์คุมกำเนิดรึยังเลยกินยาคุมฉุกเฉินร่วมด้วย** วันที่ 6 = • กินยาคุมฉุกเฉินเม็ดที่ 1 ตอน เที่ยงวัน วันที่ 6 (ภายใน 12 hr หลังมีเพศสัมพันธ์) • กินยาคุมฉุกเฉินเม็ดที่ 2 ตอน เกือบเที่ยงคืน (ภายใน 12 hr หลังยาเม็ดแรก) • กินยาคุมแบบปกติตอน 4 ทุ่ม (เปลี่ยนเวลากินยาคุมปกติจาก 8โมงเช้า เป็น 4 ทุ่ม) วันที่ 6 และ 8 = • กินยาคุมแบบปกติอยู่ทุกวัน • มีเพศสัมพันธ์ตอนกลางคืนทุกคืน
อายุ: 31 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 56 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.08 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

11 ธันวาคม 2560 04:15:14 #2

เรียน คุณ dc841,

ก่อนตอบคำถามของคุณ ขอให้ข้อมูลว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดรายเดือน หากรับประทานยาเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือน จะสามารถยับยั้งไม่ให้มีไข่ตกได้ตั้งแต่รับประทานยาเม็ดแรกครบ 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเพิ่มเติมให้สิ้นเปลือง หรือรบกวนระบบฮอร์โมนเพศของร่างกายอีก

วิธีิการรับประทานยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง คือ

- รับประทานยาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เวลารับประทานยาไม่ควรคลาดเคลื่อน +/- เกิน 1 ชั่วโมง เพื่อให้ระดับยาในเลือดสม่ำเสมอ และป้องกันการลืมรับประทานยา

- รับประทานยาทุกชนิดด้วยน้ำเปล่าสะอาดเท่านั้น (ยกเว้น ว่าจะมีระบุเป็นอย่างอื่น) เนื่องจากเครื่องดื่มบางชนิดจะทำให้ตัวยาตกตะกอน ร่างกายไม่สามารถดูดซึมยาได้ เช่น ชา (รวมถึงชาเขียว) กาแฟ โกโก้ นม (รวมถึงโยเกิร์ต) น้ำเต้าหู้ โซดา น้ำอัดลม เป็นต้น หรือน้ำผลไม้บางชนิดจะทำให้ตับที่เป็นแหล่งในการเผาผลาญหรือกำจัดยา สร้างเอนไซม์ หรือน้ำย่อยที่ใช้ในการกำจัดยา เพิ่มมากขึ้น ร่างกายจึงกำจัดยาได้มากหรือเร็วขึ้น เช่น น้ำเกรปฟรุต น้ำส้มคั้น น้ำแอปเปิ้ล นำ้แครนเบอร์รี่ เป็นต้น

- ไม่ซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆมาใช้ร่วมกัน โดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา "ยาตีกัน" จนทำให้ยาคุมกำเนิดไม่ได้ผล หรือยาที่ใช้รักษาไม่ได้ผลตามต้องการ

กลับมาที่คำถามของคุณ

  • 1. ประจำเดือนอาจมาล่าช้ากว่ากำหนดนะครับ เพราะโดยทั่วไปยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะทำให้ประจำเดือนล่าช้ากว่าเดิมประมาณ 10-14 วัน
  • 2. หากรับประทานยาถูกต้อง และสม่ำเสมอ อัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ครับ
  • 3. สาเหตุน่าจะเกิดจากการรบกวนระบบฮอร์โมนเพศจากปริมาณสูงของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากกว่าครับ
  • 4. หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่ากำหนด 3 สัปดาห์ ควรตรวจเลือดจะดีกว่าครับ เพื่อให้ได้ความแม่นยำของฮอร์โมนการตั้งครรภ์
  • 5. หากรับประทานยาคุมกำเนิดต่อเนื่อง อาจกดระบบฮอร์โมนเพศของทารกในครรภ์ได้

ดังนั้นหากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือเภสัชกร "ก่อน" การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา "ยาตีกัน" จนเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพจนเสียชีวิตได้

 

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)

แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา

สูตินรีแพทย์

ยาลดประสิทธิภาพยาคุมกำเนิด (Common medications that reduce efficacy of birth control medications)
ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม