กระดานสุขภาพ

ต่อมน้ำเหลืองบวม
Anonymous

12 พฤษภาคม 2562 16:37:36 #1

ผมไปเสี่ยงมา3วันหลังจากนั้นมีไข้ไม่สบาย มีต่อมน้ำเหลืองโตใต้ขากรรไกร และตรงขาหนีบแต่หมอบอกเม็ดเล็กมาก หมอบอกว่าเป็นไข้ไทฟรอย ตอนนี้หายมา1เดือนแต่ต่อมน้ำเหลืองยังไม่หายไป แต่เล็กลงนิดนึง ผมมีโอกาสติดเชื้อhivไหมครับ ไปตรวจตอนเสี่ยงมา1เดือน ผลเป็นลบ แต่ต่อมน้ำเหลืองไม่ยุบ แต่เล็ก อยากทราบว่านานไหมครับ กว่าต่อมน้ำเหลืองจะเป็นปกติ ไม่เจ็บเลย กดขยับได้ ใช้เวลานานเท่าไรครับ
อายุ: 19 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 80 กก. ส่วนสูง: 171ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.36 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Anonymous

12 พฤษภาคม 2562 16:45:51 #2

ที่ขาหนีบขนาดเล็กกว่าปลายนิ้วก้อย ใต้ขากรรไกรมีขนาดโตกว่านิดเดียวประมานปลายนิ้วกลาง
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

14 พฤษภาคม 2562 14:11:57 #3

โดยปกติต่อมน้ำเหลืองเป็นเนื้อเยื่อที่มีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นหรือคลำพบได้มีอยู่ทั่วร่างกายแต่ที่โตแล้วจะคลำพบได้บ่อยคือต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอรักแร้และขาหนีบที่คลำพบได้บ้างเช่นที่เหนือไหปลาร้าแก้มหน้าใบหูกกหูชายผมด้านหลังข้อพับแขนและข้อพับเข่า

ต่อมน้ำเหลืองโต(Lymphadenopathy) คลำได้มักเกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ/อวัยวะในบริเวณใกล้ๆกับต่อมน้ำเหลืองนั้นๆ(เช่นต่อมน้ำเหลืองลำคอโตมักเกิดจากการมีแผลหรือมีการอักเสบของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆในช่องปากเป็นต้น) จึงส่งผลให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลือง(ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ) ซึ่งพบเป็นสาเหตุได้ประมาณมากกว่า90% ของต่อมน้ำเหลืองโตทั้งหมดโดยต่อมน้ำเหลืองอักเสบมักมีขนาดโตไม่เกิน1 เซนติเมตรค่อนข้างนิ่มและมักรู้สึกเจ็บเมื่อคลำ

อนึ่งกรณีที่เป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรังหรือต่อมน้ำเหลืองที่การอักเสบหายแล้วในบางคนจะเกิดมีเนื้อเยื่อพังผืดขึ้นในต่อมน้ำเหลืองที่ส่งผลให้ยังคลำต่อมน้ำเหลืองได้แต่ไม่เจ็บโดยต่อมน้ำเหลืองนี้จะมีขนาดเท่าเดิมไม่โตขึ้น

อีกประมาณ10% ที่เหลือเกิดได้จากการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองจากภาวะร่างกายมีความผิดปกติในภูมิคุ้มกันต้านทานโรคเช่นในโรคเอดส์/โรคติดเชื้อเอชไอวีหรือในโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองหรือจากโรคติดเชื้อของต่อมน้ำเหลืองเอง(เช่นวัณโรคต่อมน้ำเหลือง) หรือจากโรคมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองเอง(โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง) หรือจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆทุกชนิดที่ลุกลามแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองซึ่งเมื่อมีสาเหตุจากโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักมีขนาดโตเกิน1 เซนติเมตรค่อนข้างแข็งและมักไม่เจ็บ

ทั้งนี้เมื่อคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตหลายๆต่อมหรือมีขนาดโตเกิน1 เซนติเมตรหรือต่อมฯโตขึ้นเรื่อยๆหรือร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆเช่นมีไข้ต่ำๆผอมลงเบื่ออาหารอ่อนเพลียควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอเพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุเพื่อการรักษาที่เหมาะสมแต่เนิ่นๆ

Simp*****s

14 พฤษภาคม 2562 15:53:54 #4

ต่อมน้ำเหลืองที่ติดเชื้อhiv จะเหมือนลูกประคำใช่ไหมครับ แล้วที่คอผมขนาดเท่าปลายนิ้วกลาง ขยับได้ กดไม่เจ็บ นี่มีโอกาสเป็นเอดส์ไหมครับ
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

18 พฤษภาคม 2562 07:34:53 #5

การวินิจฉัยโรคเอดส์ ขั้นแรกสุดคือ การซักประวัติของผู้ป่วยและการตรวจร่างกาย ซึ่งมัก จะมีประวัติการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมาก่อนแล้ว ซึ่งแพทย์สามารถทราบจากการตรวจเลือดว่า มีผลบวกต่อเอชไอวีหรือไม่ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่เคยตรวจเลือดมาก่อน การที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ก็จะทำให้แพทย์สงสัยว่าอาจจะเป็นผู้ที่ได้ติดเชื้อมาแล้วได้ นอกจากนั้นการตรวจร่างกายมักจะพบอาการแสดงที่บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยอยู่ในระยะของการเป็นโรคเอดส์แล้ว ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น

วิธีต่อมาคือ การตรวจเลือดว่ามีภูมิต้านทานต่อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV anti body) เกิด ขึ้นหรือไม่ โดยมากการตรวจเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการจะใช้วิธีที่เรียกว่าอีไลซา (ELISA ย่อมาจาก Enzyme-linked immunosorbent assay) ถ้าเลือดผู้ป่วยมีภูมิต้านทาน (Anti-HIV anti body) เกิดขึ้น เรียกว่าเลือดบวกต่อการตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV - POSI TIVE) แสดงว่าผู้ป่วยเคยได้ติดเชื้อมาแล้ว ในการรายงานผล เราไม่ควรเรียกว่าเลือดบวกอย่างเดียวเพราะการตรวจเลือดว่า มีผลบวกหรือลบในทางการแพทย์นั้น สามารถตรวจได้หลายโรค เช่น โรคซิฟิลิส โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น ซึ่งถ้ากล่าวเพียงว่าเลือดบวกจะไม่ทราบว่าเลือดบวกต่อโรคอะไร อาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ ถ้าตรวจแล้วไม่พบภูมิต้านทานต่อเชื้อเอชไอวีเราเรียกว่า ผลเลือดเป็นลบต่อการตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสเอชไอวี (Anti-HIV - NEGATIVE) แสดงว่าคนๆนั้นไม่เคยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายมาก่อนเลย ร่างกายจึงไม่สร้างภูมิต้านทานให้ตรวจพบได้ ผู้ที่ตรวจเลือดครั้งแรกได้ผลบวก โดยมากแพทย์จะให้ตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยใช้วิธีที่เรียกว่าเวสเทิร์นบลอท (Western blot) หรืออิมมูโนฟลูออเรสเซนส์แอสเส (Immunofluo rescence assay) เพื่อให้มั่นใจว่าเลือดให้ผลบวกแน่นอน การตรวจวิธีเหล่านี้มีจุดอ่อนที่ทำให้ ผลเป็นลบทั้งๆที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้ามาในร่างกายเรียบร้อยแล้ว เมื่อตรวจในช่วงที่ร่างกายยังไม่สร้างภูมิต้านทาน ทั้งนี้เป็นเพราะร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 3 - 12 สัปดาห์ในการสร้างภูมิต้านทาน (ระยะเวลาในแต่ละคนไม่เท่ากัน) ถ้าตรวจเลือดในช่วงนี้จะไม่พบ และจะทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้ติดเชื้อ ระยะเวลาช่วงนี้เรียกว่า Window period

การเจาะเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด ทีลิมโฟซัยท์ที่มีซีดี 4 เป็นบวก (CD 4-positive T cell) จะพบว่าจำนวนลดลงมาก เพราะเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในเซลล์ชนิดนี้ และจะทำลายเซลล์ชนิดนี้ไปเรื่อยๆ โดยมากถ้ามีปริมาณของทีลิมโฟซัยท์ที่มีซีดี 4 เป็นบวกลดลงต่ำกว่า 350 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรในผู้ใหญ่ (ค่าปกติ 600 - 1,200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิ เมตร) ระดับของ CD4+ T cell ที่ใช้ในการวินิจฉัย ถ้าเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือนจะมี CD4+น้อยกว่า 30% ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด เด็กอายุ12 - 35 เดือนจะมี CD4+ น้อยกว่า 25% และเด็กอายุ 36 - 59 เดือนจะมี CD4+ น้อยกว่า 20%

การนับจำนวนของเชื้อไวรัสในเลือด โดยมากเราไม่สามารถนับเชื้อไวรัสโดยตรงได้ แต่เราใช้วิธีนับสารพันธุกรรมที่เรียกว่า อาร์เอ็นเอของไวรัส (Serum HIV RNA) หรือเรียกว่า การตรวจหา Viral load การตรวจหาสารพันธุกรรมนี้จะทำให้วินิจฉัยโรคได้เร็วกว่าการตรวจหาสารภูมิต้านทานไวรัสเอชไอวี เพราะสามารถพบสารพันธุกรรมของไวรัสนี้ได้ตั้งแต่ 3 - 5 สัปดาห์หลังติดเชื้อ

การตรวจวิธีอื่นๆ เช่น เอ๊กซเรย์ปอด อาจพบว่ามีความผิดปกติเช่น วัณโรคปอด ปอดบวมจากเชื้อรา หรือจากเชื้อฉวยโอกาสชนิดอื่นได้

การตรวจเลือดเพื่อหาหลักฐานการติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดอื่นๆ

การตรวจอุจจาระเพื่อหาหลักฐานการติดเชื้อฉวยโอกาสในทางเดินอาหาร