กระดานสุขภาพ

ยา provera 5 mg มีผลข้างเคียงกับยาคุมฉุกเฉินไหมค่ะ
Anonymous

20 ตุลาคม 2559 14:47:21 #1

คือหนูไปหาหมอปจดมาไม่ปกติหมอจ่ายยาprovera 5 mg ให้ทาน10วันวันละ2เม็ด เพื่อให้ปจดมาปกติ หนูทานได้5วัน มีเพศสัมพันธ์ทานยาคุมฉุกเฉินไปจะมีผลต่อตัวยาที่หมอจ่ายมามั้ยค่ะ แล้วถ้าปจดมากลับมาทานยาให้ครบตามปกติได้มั้ยค่ะ ขอบคุณค่ะ
อายุ: 22 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 48 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.63 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

27 ตุลาคม 2559 04:03:50 #2

เรียน คุณ b37d2,

ก่อนตอบคำถามของคุณ ขอแนะนำว่าก่อนเริ่มต้นการใช้ยาใด ๆ ต้องสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรร้านยาใกล้บ้าน เพื่อป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
เสี่ยงต่อการเกิดการตั้งครรภ์หรือการเกิดอันตรายต่อสุขภาพจนถึงแก่ชีวิตได้
กลับมาที่คำถามของคุณ จากตัวยาที่แพทย์สั่งให้ น่าจะเกิดจากภาวะขาดประจำเดือน ให้รับประทานยา Pro... 5 MG (norethisterone) ที่เป็นฮอร์โมนโปรเจสติน ช่่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น และเมื่อหยุดยา ก็จะมีการหลุดลอกของเยื่อบุผนังมดลูก จนเป็นเลือดประจำเดือนในที่สุด
ส่วนยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้น ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน เช่นเดียวกัน แต่ตัวยาคือ Levonorgestrel 750 ไมโครกรัมต่อเม็ด (2 เม็ด รวม 1,500 ไมโครกรัม)
เมื่อรับประทานยาครบถ้วน ถูกต้อง จะทำให้เกิดการคุมกำเนิดได้ แต่มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ 8-15 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้น คุณจึงได้รับฮอร์โมนโปรเจสตินทั้งสองประเภท และส่งผลต่อการมีประจำเดือน โดยประจำเดือนอาจมาช้ากว่ากำหนดเดิม อีก 7-14 วัน และประจำเดือนอาจมามากหรือน้อยกว่าปกติ หรืออาจส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน (จากภาวะโรคเดิมของคุณ) หากหยุดยา Pro... ไปแล้ว 7-14 วัน ยังไม่มีประจำเดือนมา ควรใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้
ขอแนะนำเพิ่มเติม คือ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้น ทางการแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้แทนการคุมกำเนิดปกติ โดยมักใช้เมื่อถูกข่มขืน หรือ เมื่อถุงยางอนามัยฉีกขาด รั่วซึม
เนื่องจากประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไป หรือการใช้ถุงยางอนามัย และเนื่องจากปริมาณฮอร์โมนที่สูงกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไป (ทั่วไปประมาณ 50-75 ไมโครกรัม) คำแนะนำของบริษัทยา จึงไม่ควรเกิน 2 ชุด (4 เม็ด ต่อเดือน) เพราะอาจเกิดอันตรายจากการตั้งครรภ์นอกมดลูกจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าสตรีที่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มากเกินกว่า "3 ครั้ง ตลอดชีวิต" จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่่าง ๆได้มากกว่าสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดทั่วไป เช่น มะเร็งสมอง เต้านม มดลูก รังไข่ หรือมะเร็งตับ
หากคุณยังไม่ได้แต่งงาน ขอแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัย นอกจากคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน พยาธิในช่องคลอด ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บีหรือซี เริม หรือโชคร้ายสุดคือ ไวรัสเอชไอวี ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด และยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี (HPV - Human Papilloma Virus) ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง และหูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาติในเพศชายด้วย
สรุป คือ รอจนกว่ารับประทานยาหมด แล้วประจำเดือนมาตามปกติหรือไม่ หากผ่านไป 7-14 วัน ให้ใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ หากผลเป็นลบ ไม่มีการตั้งครรภ์ ก็ให้รอจนกว่าประจำเดือนจะมา แล้วจึงเริ่มต้นคุมกำเนิดด้วยยาคุมกำเนิดปกติทั่วไป สามารถสอบถามการเลือกยาคุมฯที่เหมาะสมจากแพทย์หรือเภสัชกรร้านยาใกล้บ้าน
แต่หากผลเป็นบวก มีการตั้งครรภ์ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจการตั้งครรภ์ยืนยัน โดยการเจาะเลือด หากผลยังคงเป็นบวก (ตั้งครรภ์) ให้แจ้งแพทย์ด้วยว่ามีการรับประทานยาก่อนหน้าอย่างไรบ้าง เพื่อเฝ้าระวังอาการผิดปกติต่อไป

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเรา

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea)
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ
สูตินรีแพทย์

ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill)
แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา
สูตินรีแพทย์

นอร์อิทิสเตอโรน (Norethisterone) หรือ พริมโมลูท เอ็น (Primolut N)
เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร