แมคโครไลด์ (Macrolide)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยากลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolide) เป็นสารที่มีโครงสร้างเคมีของ Macrolide ring ที่เป็นสาร ในยาปฏิชีวนะหลายชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก ในธรรมชาติจะพบเห็นสารประเภทแมคโครไลด์ที่อยู่ในหมวดยาปฏิชีวนะที่ได้จากแบคทีเรียที่อาศัยในดินกลุ่มสเตรปโตมัยซีส (Streptomycetes) นอก จากนี้ยังมีกลุ่มยาที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็น Macrolide ring แต่มีประโยชน์ทางการแพทย์ที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น ใช้เป็นยาต้านเชื้อรา, ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ต้องเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เป็นต้น

อาจจำแนกแมคโครไลด์เป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

ก. กลุ่มที่เป็นยาปฏิชีวนะและถือเป็นกลุ่มที่มีตัวยามากที่สุด เช่นยา Azithromycin, Clarithromycin, Erythromycin, Telithromycin, Carbomycin A, Josamycin, Kitasamycin, Midecamycin, Midecamycin acetate, Oleandomycin, Solithromycin, Spiramycin, Troleandomycin, Tylosin /tylocine, Roxithromycin

ข. กลุ่มที่ใช้เป็นยาต้านเชื้อรา เช่นยา Amphoteracin B, Nystatin

ค. กลุ่มที่ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่นยา Cyclosporin

*ทั้งนี้ สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงยาแมคโคไลด์ที่ใช้เป็นยาปฏิชีวนะเท่านั้น

แมคโครไลด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

แมคโครไลด์

ยาแมคโครไลด์มีสรรพคุณ /ข้อบ่งใช้ ที่เป็นยาปฏิชีวนะ โดยกลุ่มยาปฏิชีวนะแมคโครไลด์จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง ใช้ยับยั้งการติดเชื้อของแบคทีเรียชนิดแกรมบวก เช่น

  • ใช้รักษา โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือ โรคติดเชื้อของเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ตัวอย่างยาที่ใช้ เช่น ยา Erythromycin
  • รักษาการอักเสบในอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ยา Azithromycin
  • รักษาการติดเชื้อ H.Pylori (โรคติดเชื้อเอชไพโลไร) เช่น ยา Clarithromycin

แมคโครไลด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะกลุ่มแมคโครไลด์ คือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสัง เคราะห์โปรตีนของแบคทีเรียที่ตอบสนองกับยากลุ่มนี้ อีกทั้งยังยับยั้งการเปลี่ยนถ่ายและสลายการเชื่อมกันของสารพันธุกรรมชนิดที่เรียกว่า ไรโบโซม (Ribosome) ในตัวแบคทีเรีย จากกลไกที่กล่าวมาโดยรวมทำให้ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรียตามสรรพคุณ

แมคโครไลด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาแมคโครไลด์มีรูปแบบการจัดจำหน่าย:

  • ยารับประทานชนิดยาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำแขวนตะกอน
  • ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ยาใช้ภายนอก เช่น ยาขี้ผึ้งป้ายตา ยาเจลแต้มสิว

แมคโครไลด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?

เนื่องจากยาในกลุ่มแมคโครไลด์มีหลายรายการความเหมาะสมของตัวยากับกลุ่มโรคมีความแตกต่างกันออกไป และยังมีข้อห้ามใช้กับสตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับทำงานผิดปกติ หรือผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มนี้ ดังนั้น การใช้ยากลุ่มนี้จึงขึ้นกับแพทย์ผู้ทำการรักษาที่จะบริหารยา/ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้ป่วย

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยากลุ่มแมคโครไลด์ ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาลและเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่น/หายใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยากลุ่มแมคโครไลด์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยากลุ่มแมคโครไลด์ สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

แมคโครไลด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยากลุ่มแมคโครไลด์สามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น

  • เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
  • คลื่นไส้-อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดเกร็ง/ปวดบีบในท้อง
  • ท้องเสีย
  • วิงเวียน
  • เป็นลม
  • ผื่นคัน
  • มีอาการตัวเหลือง
  • รบกวนการทำงานของตับ
  • มีภาวะหูดับ
  • อ่อนเพลีย
  • ปัสสาวะมีสีคล้ำ
  • บางกรณียาในกลุ่มนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้ยาได้ที่มักพบอาการ
    • ใบหน้า-ปาก-คอบวม
    • แน่นหน้าอก
    • หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก
    • หากพบอาการดังกล่าวหลังใช้ยานี้ ต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่งแพทย์/ไปโรงพยาบาลโดยทันที

มีข้อควรระวังการใช้แมคโครไลด์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาแมคโครไลด์ เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มแมคโครไลด์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ
  • การใช้ยาในกลุ่มแมคโครไลด์มีข้อจำกัดและต้องระวังการใช้ยากับ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรเช่น ยา Erythromycin, ส่วนยา Roxithromycin และ Clarithromycin มีความปลอดภัยในการใช้กับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • การใช้ยากลุ่มนี้นานมากกว่า 10 วันมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับอักเสบ
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มแมคโครไลด์ด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

แมคโครไลด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาแมคโครไลด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การรับประทานยา Erythromycin ร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด เช่นยา อะซีโนคูมารอล (Acenocoumarol) อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาวะเลือดออกง่าย หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานเป็นกรณีไป
  • การใช้ยา Azithromycin กับยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เช่นยา ไดจ็อกซิน (Digoxin) จะทำให้ยาโรคหัวใจดังกล่าวคงอยู่ในร่างกายได้ยาวนานขึ้นจนส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น หรือหัวใจหยุดเต้นได้ หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานเป็นรายบุคคลไป
  • การใช้ยา Roxithromycin ร่วมกับยากลุ่ม Ergot Alkaloids เช่นยา Ergotamine, Dihydroergotamine ถือเป็นข้อที่ต้องระมัดระวังอย่างสูง ด้วยเคยมีรายงานผลที่มีการใช้ยา 2 กลุ่มนี้ร่วมกัน มีความเป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดการตายของเนื้อเยื้อและมีการเสื่อมสภาพของเซลล์ติดตามมาจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

ควรเก็บรักษาแมคโครไลด์อย่างไร?

ควรเก็บยากลุ่มแมคโครไลด์:

  • เก็บยาภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • ห้ามเก็บยานี้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
  • ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

แมคโครไลด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยากลุ่มแมคโครไลด์ มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Azithro (อาซิโธร) M & H Manufacturing
Binozyt (บิโนซิท) Sandoz
Floctil (ฟลอกทิล) Unison
Zithromax (ซิโธรแมก) Pfizer
Zmax (ซีแมก) Pfizer
Clacina (คลาซินา) GPO
Clacinia (คลาซิเนีย) GPO
Clarith (คลาริธ) L. B. S.
Claron (คลารอน) Siam Bheasach
Crixan (คลิซาน) Ranbaxy Unichem
Fascar (ฟาสคาร์) Unison
Klacid (คลาซิด) Abbott
E S Cap (อี เอส แคป) Community Pharm PCL
Erathrom (อีราทรอม) Asian Pharm
Ericin (S) (อีริซิน) Chew Brothers
Erimit (อีริมิท) T P Drug
Erimycin (อีริมัยซิน) Siam Bheasach
Eryacne (อีรีแอคเน่) Galderma
Erycin (อีรีซิน) Atlantic Lab
Erycon (อีริคอน) T.O. Chemicals
Erymin (อีรีมิน) Milano
Eryo Dry Syrup (อีริโอ ดราย ไซรัป) Vesco Pharma
Erypac (อีริแพค) Inpac Pharma
Erysate (อีริเสท) The United Drug (1996)
Erysil (อีริซิล) Silom Medical
Eryth-mycin (อีริท-มัยซิน) Pond’s Chemical
Erythorate (อีริโทเรท) Inpac Pharma
Erythromed (อีริโทรเมด) Medicpharma
Erythromycin Asian Pharm (อิริโทรมัยซิน เอเชียน ฟาร์ม) Asian Pharm
Erythromycin Osoth (อิริโทรมัยซิน โอสถ) Osoth Interlab
Erytomin (อีริโทมิน) Acdhon
Erytomin Dry Syrup (อีริโทมิน ดราย ไซรัป) Acdhon
Malocin (มาโลซิน) M & H Manufacturing
Medthrocin (เมดโทรซิน) Utopian
Pocin (โพซิน) Polipharm
Rintacap (รินทาแคป) T. Man Pharma
Rintacin (รินทาซิน) T. Man Pharma
Rytho-Cap (รีโท -แคป) Medicine Products
Stacin (สเตซิน) Macro Phar
Stiemycin (สเตมัยซิน) Stiefel
Suthrocin (สุโทรซิน) Suphong Bhaesa
Tomcin (ทอมซิน) General Drugs House
Ammirox (แอมมิร็อก) MacroPhar
Coroxin (โคโรซิน) Community Pharm PCL
Eroxade (อีโรเสด) Osoth Interlab
I-Throcin (ไอ-โทรซิน) T.C. Pharma-Chem
Manroxin-150 (แมนร็อกซิน-150) T. Man Pharma
Poliroxin (โพลิร็อกซิน) Polipharm
Rocitro (โรซิโทร) Thai Nakorn Patana
Romed (โรเมด) Medicpharma
Rothricin/Rothricin Pediatric (โรทริซิน/โรทริซิน พิดิเอทริก) Siam Bheasach
Roxamycin (ร็อกซามายซิน) Inpac Pharma
Roxcin (ร็อกซิน) Biolab
Roxicin (ร็อกซิซิน) Atlantic Lab
Roxifect (ร็อกซิเฟ็ก) Bangkok Lab & Cosmetic
Roxilan (ร็อกซิแลน) Olan-Kemed
Roximed (ร็อกซิเมด) Burapha
Roximin (ร็อกซิมิน) Pharmaland
Roxino (ร็อกซิโน) Suphong Bhaesaj
Roxinox (ร็อกซิน็อก) Charoen Bhaesaj Lab
Roxinpac (ร็อกซินแพค) Inpac Pharma
Roxithro (ร็อกซิโทร) Millimed
Roxithromycin Central (ร็อกซิโทรมัยซิน เซ็นทรัล) Pharmasant Lab
Roxithroxyl (ร็อกซิโทรซิล) Bangkok Lab & Cosmetic
Roxitin (ร็อกซิติน) T P Drug
Roxitop (ร็อกซิทอป) Farmaline
Roxitron (ร็อกซิตรอน) R.X.
Roxlecon (ร็อกเลคอน) Pond’s Chemical
Roxthomed (ร็อกโทเมด) Medicine Products
Roxthrin (ร็อกทริน) T.O. Chemicals
Roxto (ร็อกโท) M & H Manufacturing
Roxtrocin (ร็อกโทรซิน) Greater Pharma
Roxy (ร็อกซี) Sriprasit Pharma
Rucin (รูซิน) General Drugs House
Rulid (รูลิด) sanofi-aventis
Rulosone (รูโลโซน) P P Lab
Ruxitex (รูซิเท็ก) The United Drug (1996)
Saroxxo (ซาร็อกโซ) Pharmahof
Uonin (โอนิน) Unison
Utolid (ยูโทลิด) Utopian
Vesthromycin (เวสโทรมายซิน) Vesco Pharma
V-Rox 300 (วี-ร็อก 300) V S Pharma

บรรณานุกรม

1 http://en.wikipedia.org/wiki/Macrolide [2020,Oct17]
2 http://www.drugs.com/drug-class/macrolides.html[2020,Oct17]
3 http://www.merckmanuals.com/professional/infectious_diseases/bacteria_and_antibacterial_drugs/macrolides.html [2020,Oct17]
4 https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a697037.html#if-i-forget [2020,Oct17]
5 http://www.drugs.com/ppa/erythromycin.html [2020,Oct17]
6 http://acnedefend.blogspot.com/2013/10/eryacne-erythromycin-gel-4.html [2020,Oct17]