เบต้า 2 แอดริเนอร์จิก อโกนิสท์ (Beta2 - adrenergic agonists)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาขยายหลอดลมประเภท/กลุ่มเบต้า 2 แอดริเนอร์จิก อโกนิสท์ (Beta 2-adrenergic ago nist หรือ Beta 2-adrenergic receptor agonist หรือเรียกสั้นๆว่า Beta 2 agonist) ซึ่งต่อไปในบทความนี้ขอเรียกสั้นๆว่า ‘ยาขยายหลอดลม’ เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ที่ตัวรับชื่อ เบต้า 2 แอดริเนอร์จิก (Beta 2-adrenergic receptor) มีผลให้กล้ามเนื้อเรียบเกิดการคลายตัวและส่งผลต่อมาที่อวัยวะหลายอวัยวะของร่างกายเช่น เกิดการขยายหลอดลม หลอดเลือดบริเวณกล้ามเนื้อเรียบและตับขยายตัวกว้างออก ท่อทางเดินปัสสาวะเกิดการคลายตัว และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น ยาหลายตัวในยากลุ่มนี้ถูกนำมารักษาโรคทางเดินหายใจเช่น โรคหืดและโรคปอด

อาจจะแบ่งยาขยายหลอดลมประเภท Beta2 adrenergic agonist ตามการออกฤทธิ์ได้ดังนี้

1. ประเภทออกฤทธิ์ในระยะเวลาสั้นๆ (Short-acting beta2 agonists) เช่น Levosalbutamol, Terbutaline, Pirbuterol, Procaterol, Clenbuterol, Metaproterenol, Fenoterol, Bitolterol mesylate, Ritodrine, Isoprenaline

2. ประเภทออกฤทธิ์เป็นเวลานาน (Long-acting beta2 agonists) เช่น Salmeterol, Formoterol, Bambuterol, Clenbuterol, Olodaterol

3 ประเภทออกฤทธิ์เป็นเวลายาวนานกว่าประเภท 2 (Ultra-long-acting beta2 agonists)เช่น Indacaterol

คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้คัดเลือกยาในกลุ่มนี้บรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ของไทย อาทิเช่น Salbutamol, Procaterol, Terbutaline, และ Fenoterol โดยระบุการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ช่วยขยายหลอดลม

การพิจารณาเลือกใช้ยาขนานใด เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องผ่านการ คัดกรอง โดยนำความรู้ด้านการรักษาและความสามารถในการวินิจฉัยมาประกอบกัน แพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้สั่งจ่ายการใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ประชาชนหรือผู้ป่วยไม่สมควรหาซื้อมาใช้เองโดยเด็ดขาด

ยาขยายหลอดลมมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

เบต้า2แอดริเนอร์จิก-อโกนิสท์

ยาขยายหลอดลมมีสรรพคุณดังนี้

  • ใช้ขยายหลอดลมในผู้ป่วยโรคหืด
  • ใช้รักษาและบรรเทาอาการของโรคปอด

ยาขยายหลอดลมมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาขยายหลอดลมกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ตัวรับในระดับเซลล์ที่เรียกว่า เบต้า แอดริเนอร์จิก รีเซ็ปเตอร์ (Beta adrenergic receptors) ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม ส่งผล ให้ช่องทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น จึงมีฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ

ยาขยายหลอดลมมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาขยายหลอดลมมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้

  • ยาเม็ด ขนาดความแรง 2 และ 2.5 มิลลิกรัม/เม็ด
  • ยาเม็ด ขนาดความแรง 25 และ 50 ไมโครกรัม/เม็ด
  • ยาพ่น ขนาด 100 ไมโครกรัม/โด๊ส (Dose, ปริมาณยาต่อการใช้ 1 ครั้ง)
  • ยาพ่นชนิดสารละลาย ขนาดความเข้มข้น 0.1% และ 0.5% น้ำหนัก/ปริมาตร (0.1 และ 0.5 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร)
  • ยาพ่นชนิดเนปบูล/ฝอยละออง (Nebules) 2.5 มิลลิกรัม
  • ยาชนิดน้ำเชื่อม ขนาด 1.5 และ 2 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร
  • ยาชนิดน้ำเชื่อม ขนาด 5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร

ยาขยายหลอดลมมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ด้วยในกลุ่มยาขยายหลอดลมประเภทเบต้า 2 แอดริเนอร์จิก อโกนิสท์ มีหลายรายการ ขนาดรับประทานจึงขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ โดยต้องอาศัยประวัติทางการแพทย์ของตัวผู้ป่วย รวมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการ และมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการรับประทานจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาขยายหลอดลม ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำ บาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาขยายหลอดลมอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภท สามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาขยายหลอดลมสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับ การรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า อย่างไรก็ตาม หากลืมรับประ ทานยาบ่อยๆหลายครั้งก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยได้เช่นเดียวกัน

ยาขยายหลอดลมมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาขยายหลอดลมประเภทเบต้า2 แอดริเนอร์จิก อโกนิสท์ อาจก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์(ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ และส่งผลให้ชีพจรเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ จิตใจสับสน มือสั่น คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ เกิดภาวะปอดบวม หัว ใจขาดเลือด วิงเวียน อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูงหรือต่ำก็ได้

มีข้อควรระวังการใช้ยาขยายหลอดลมอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาขยายหลอดลมดังนี้

  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มนี้
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยยานี้จะไปเพิ่มความต้องการออกซิ เจนในกล้ามเนื้อหัวใจ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดขึ้นได้
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีประวัติหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (โรคหลอดเลือดหัวใจ) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคลมชัก และผู้ป่วยโรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ)
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยาขยายหลอดลมประเภท Long acting beta2 agonist ในผู้ป่วยที่ใช้ยา กลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ควบคุมอาการหอบหืด ด้วยอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อคน ไข้มากขึ้น
  • ไม่แนะนำการใช้ยากลุ่มนี้กับหญิงตั้งครรภ์ ด้วยยาสามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
  • ยากลุ่มนี้หลายตัวสามารถผ่านเข้าไปในน้ำนมของมารดา หากไม่จำเป็นควรเลี่ยงการใช้ยากับสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบัน ทุกชนิด (รวมยาขยายหลอดลมด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามี ทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยา ทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาขยายหลอดลมมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาขยายหลอดลมมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้

  • การใช้ยาขยายหลอดลมประเภทเบต้า2 แอดริเนอร์จิก อโกนิสท์ร่วมกับยาขับปัสสาวะประ เภทขับโพแทสเซียมออกด้วย (Non-potassium sparing diuretics) อาจทำให้เกิดภาวะเกลือโพ แทสเซียมในกระแสเลือดต่ำ (อาการเช่น อ่อนเพลีย เป็นตะคริว หัวใจเต้นผิดปกติ) หากมีความจำ เป็นต้องใช้ร่วมกัน ควรปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
  • การใช้ยาขยายหลอดลมประเภทเบต้า2 แอดริเนอร์จิก อโกนิสท์ร่วมกับยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม MAOI (Monoamine oxidase inhibitor) สามารถส่งผลให้ระบบหลอดเลือดหัวใจทำงานผิด ปกติ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยาขยายหลอดลมประเภทเบต้า2 แอดริเนอร์จิก อโกนิสท์ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ กลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-adrenergic receptor antagonist) สามารถรบกวนฤทธิ์ในการรักษาของยาขยายหลอดลม อีกทั้งอาจทำให้เกิดภาวะหลอดลมหดเกร็งตัวขึ้นมาได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

ควรเก็บรักษายาขยายหลอดลมอย่างไร?

สามารถเก็บยาขยายหลอดลมภายใต้อุณหภูมิห้อง เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยาขยายหลอดลมมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาขยายหลอดลมที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Aerotamol 100 (เอโรทามอล 100)Aerocare
Antomol (แอนโทมอล)Medicine Products
Asmasal SDU (แอสมาซอล เอสดียู)Silom Medical
Asmasal Syrup (แอสมาซอล ไซรัป)Silom Medical
Asmol (แอสมอล)Suphong Bhaesaj
Asthalin CFC-Free (แอสทาลิน ซีเอฟซี-ฟรี)Cipla
Asthamol (แอสทามอล)Okasa Pharma
Asthmolin (แอสโมลิน)Pharmasant Lab
Bronchosol (บรอนโชซอล)Siam Bheasach
Buto-Asma (บูโท-แอสมา)Lab Aldo-Union
Buventol Easyhaler (บูเวนทอล อิสซีเฮเลอร์)Orion
Durasal-CR (ดูราซอล-ซีอาร์)Raptakos
Naso (นาโซ)T.Man Pharma
Sabumol (ซาบูมอล)GPO
Salbusian (ซาลบูเซียน)Asian Pharm
Salbutac (ซาลบูแทค)Polipharm
Salbutamol GPO (ซาลบูทามอล จีพีโอ)GPO
Salbutamol Inhalation CFC-Free (ซาลบูทามอล อินฮาลาชั่น ซีเอฟซี-ฟรี)Jewim
Salbutamol Medicpharma (ซาลบูทามอล เมดิฟาร์มา)Medicpharma
Salbutamol Osoth (ซาลบูทามอล โอสถ)Osoth Interlab
Salbutamol Utopian (ซาลบูทามอล ยูโทเปียน)Utopian
Saldol (ซาลดอล)The Forty-Two
Salmol Atlantic (ซาลมอล แอทแลนติก)Atlantic Lab
Salmol Syrup (ซาลมอล ไซรัป)Biolab
Salvent (ซาลเวนท์)Okasa Pharma
Sulbuta-N (ซาลบูทา-เอ็น)L. B. S.
Venterol (เวนเทอรอล)Greater Pharma
Ventolin (เวนโทลิน)GlaxoSmithKline
Violin (ไวโอลิน)T.O. Chemicals
Zalbu Nebule (ซาลบู เนบลู)Pharma Innova
Asthnyl (แอสนิล)Osoth Interlab
Broncholine (บรอนโชลีน)T.O. Chemicals
Cofbron (คอฟบรอน)MacroPhar
P-Canyl (พี-คานิล)Osoth Interlab
Terbu Expectorant (เทอร์บู เอกซ์เปคโทแรนท์)Community Pharm PCL
Terbutaline Sulfate GPO (เทอร์บูทาลีน ซัลเฟต จีพีโอ) GPO
Terbutaline T.O. (เทอร์บูทาลีน ที.โอ.)T. O. Chemicals
Tolbin (ทอลบิน)Unison
Caterol (แคเธอรอล)Pharmasant Lab
Meptin (เมพทิน)Otsuka
Aerobidol (แอโรบิดอล)Aerocare
Berodual/Berodual Forte (เบโรดูแอล/เบโรดูแอล ฟอร์ท)Boehringer Ingelheim
Inhalex/Inhalex Forte(อินแฮเล็กซ์/อินแฮเล็กซ์ ฟอร์ท)Silom Medical
Iperol/Iperol Forte (ไอเพอรอล/ไอเพอรอล ฟอร์ท)L. B. S.
Iprateral (อิแพรเทอรอล)Pharma Innova
Punol (พูนอล)Biolab
Seretide (เซเรไทด์)GlaxoSmithKline
Serevent (เซเรเวนท์)GlaxoSmithKline
Seroflo 125 (เซโรโฟล)Cipla
Oxis (อ๊อกซิส)AstraZeneca
Symbicort/Symbicort Fort (ซิมบิคอร์ท/ซิมบิคอร์ท ฟอร์ท) AstraZeneca
Zenhale (เซนเฮล)MSD
Bambec (แบมเบค)AstraZeneca
Onbrez Breezhaler (ออนเบรซ บรีซแฮเลอร์)Novartis

บรรณานุกรม

  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Beta2-adrenergic_agonist[2017,May27]
  2. http://www.webmd.com/lung/copd/beta2-agonists-for-chronic-obstructive-pulmonary-disease-copd[2017,May27]
  3. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=terbutaline[2017,May27]
  4. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=fenoterol[2017,May27]
  5. http://www.cvpharmacology.com/cardiostimulatory/beta-agonist.html[2017,May27]
  6. http://www.rxlist.com/perforomist-drug/side-effects-interactions.html[2017,May27]
  7. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/beta-2-adrenergic-agonist-oral-route-injection-route/proper-use/drg-20069364[2017,May27]
Updated 2017,May27