อาหารในโรคไขมันพอกตับ (Diet for fatty liver disease)

สารบัญ

บทนำ

อาหารในโรคไขมันพอกตับ

ภาวะไขมันพอกตับ คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันอยู่ในตับ ซึ่งไขมันส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) และอาจมีเพียงแค่ไขมันคั่งอยู่ในเซลล์ตับ หรือมีอาการอักเสบของตับร่วมด้วย ถ้าการอักเสบของตับต่อเนื่องเป็นระยะยาว เนื้อตับก็อาจกลายเป็นพัง ผืดหรือโรคตับแข็งได้ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ไขมันพอกตับ)

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีภาวะไขมันพอกตับ?

การดูแลตนเองเมื่อมีไขมันพอกตับ ทำได้โดย

  • ควบคุมอาหาร โดยจำกัดการกินอาหารโดยเฉพาะกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
    • เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ 18.5 - 22.9 กิโล กรัม/ตารางเมตร)
    • ลดน้ำหนักลง ถ้ามีน้ำหนักตัวเกิน ต้องพยายามลดน้ำหนักให้ได้ และลดอยู่ในระดับที่ปลอด ภัย คือ ลดน้ำหนักสัปดาห์ละไม่เกิน 0.5-1 กิโลกรัม การลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว อาจก่อให้ เกิดตับอักเสบอย่างรุนแรงได้
    • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
    • ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีไขมันในเลือดสูง
    • ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง
  • เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ใช้ยาต่างๆเฉพาะแต่ที่จำเป็น และควรเป็นยาที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันพอกตับให้ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง

ทั้งนี้ ในบทความนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะในเรื่อง การดูแลในเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับเท่านั้น

ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อมีไขมันพอกตับ?

เป้าหมายในการคุมอาหารในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับคือ ลดการสะสมของไขมัน และการอักเสบภายในตับ เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดหรือโรคตับแข็งในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มการนำไขมันที่สะสมอยู่ในตับออกมาใช้ให้ได้ ซึ่งทำได้โดยการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเนื่องจากไตรกลีเซอไรด์เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับ จึงต้องพยายามจำกัดอาหารที่จะเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ให้ได้

ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งร่างกายได้มาจาก

  • จากอาหาร
    • การกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล แป้ง ขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม รวมทั้งผลไม้ น้ำผลไม้มากเกินไป
    • กินไขมันทั้งจากพืชและจากสัตว์ในปริมาณมากเกินไป

      ไขมันจากพืช เช่น ไขมันทรานส์ (Trans fatty acid) กะทิ มีไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง น้ำมันพืช ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวสูง (Polyunsaturated fatty acid) จะไม่เป็นของแข็งแม้อยู่ในตู้เย็น -ไขมันจากสัตว์ เช่น เนย นม เนื้อ หมู ไก่ ที่รับประทานเข้าไปโดยตรง จะเป็นไขมันอิ่มตัว(Saturated fatty acid ) ซึ่งจะแข็งตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง

    • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้ตับผลิตไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น และยังทำให้มีการเคลื่อนย้ายไขมันออกจากเลือดได้ช้ากว่าปกติด้วย จึงมักเป็นผลให้มีไขมันในเลือดสูง
  • ได้จากการที่ตับสังเคราะห์ขึ้นใช้เองในร่างกาย

โดยปกติร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงหลังการกินอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่ก็ถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆได้แล้ว คนทั่ว ไปจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ 50 -150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง พบว่ายังมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง นอกจากจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับแล้ว จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ/หัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ เช่นเดียวกับการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ระ ดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงมากๆ อาจทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้ และในผู้หญิง ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูง อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย

ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายได้อย่างไร?

ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ เกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วน และ/หรือได้รับพลังงานมากเกินไป ทำให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป

การลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย/ในเลือด ทำได้โดย

1. ลดอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล ข้าว-แป้ง ผลไม้ น้ำผลไม้ เพราะอาหารในกลุ่มนี้หากเหลือใช้ ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์ ทั้งนี้ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่ต้องระวังในการกิน ดูได้จากตารางที่ 1

หมวดอาหาร (Food Groups) ปริมาณ/ส่วน Amount / serving คาร์โบไฮ เดรต (กรัม) โปรตีน (กรัม) ไขมัน (กรัม) พลังงาน (แคลอรี)
หมวดน้ำนม
นมไขมันธรรมดา (whole milk)
นมพร่องไขมัน (low fat milk)
นมขาดมันเนย (skim milk)

240 มล.
240 มล.
240 มล.

12
12
12

8
8
8

8
5
0-3

150
120
90
หมวดผัก
ประเภท ก ให้พลังงานน้อยมาก รับประทานได้ตามต้องการ
ประเภท ข

50-70 กรัม
50-70 กรัม

-
5

-
2

-
-

-
25
หมวดผลไม้ ตามตารางหมวดที่ 3: ผลไม้ 15 60
หมวดข้าว แป้ง ขนมปัง ธัญพืช ตามหมวดที่ 4 15-18 2-3 0-1 80
หมวดเนื้อสัตว์
ประเภท ก (ไม่มีมันเลยเช่นเนื้อปลา)
ประเภท ข (ไขมันน้อย)
ประเภท ค (ไขมันปานกลาง)
ประเภท ง (ไขมันสูง)

30 กรัม
30 กรัม
30 กรัม
30 กรัม

-
-
-
-

7
7
7
7

0-1
3
5
8

35
55
75
100
หมวดไขมัน 1 ช้อนชา - - 5 45

*อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยน

-ข้อมูลจาก ”กินอย่างไรเมื่อไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง” วันทนีย์ เกรียงสินยศ.ผศ.ดร. หมอชาวบ้านเล่มที่ 315 กรกฏาคม 2548

อนึ่ง จะเห็นว่า อาหารหมวดที่มีคาร์โบไฮเดรตใกล้เคียงกันคือ หมวดน้ำนม ผลไม้ ข้าว แป้ง ขนมปัง ธัญพืช ดังนั้น จะลดไตรกลีเซอไรด์ จึงต้องลดการกินอาหารกลุ่มต่างๆดังกล่าว ซึ่งต้องพิจารณาเป็น ในแต่ละมื้ออาหาร และในแต่ละวันด้วย (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor. com บทความเรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยน)

ตัวอย่าง อาหารที่กินในแต่ละมื้อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารกลุ่มต่างๆ ดังนี้

มื้อ รายการอาหาร / ปริมาณ คาร์โบไฮเดรต (กรัม) โปรตีน(กรัม) ไขมัน (กรัม) พลังงาน (แคลอรี)
เช้า ขนมปัง 2 แผ่น 30 6 2 160
ทาแยม3 ช้อนชา 15 - - 60
ทาเนย ครึ่งก้อนเล็ก - - 5 45
ไข่ดาว 2 ฟอง - 14 10 75
ทอดในน้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ - - 15 135
น้ำส้มสด 1 แก้ว (ใช้ส้ม 3 ผลคั้น) 45 - - 180
นมสด 1 กล่อง (ไขมันธรรมดา) 12 8 8 150
รวม 102 28 40 805

อนึ่ง ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนกินอาหารเพื่อให้ลดคาร์โบไฮเดรตและไขมันลง เช่น

มื้อ รายการอาหาร / ปริมาณ คาร์โบไฮเดรต (กรัม) โปรตีน(กรัม) ไขมัน (กรัม) พลังงาน (แคลอรี)
เช้า ขนมปัง 1 แผ่น 15 3 1 80
งดทาแยม - - - -
งดทาเนย - - - -
ไข่ 2 ฟองต้ม หรือ ทำไข่ดาวน้ำ - 14 10 75
ส้ม 1 ผล 15 - - 60
นมสด 1 กล่อง (พร่องไขมัน) 12 8 3 90
รวม 42 25 14 305

2. งดกินอาหารกลุ่มไขมันสูง เช่น อาหารทอดทั้งหลาย หนังไก่ หนังเป็ด หมูกรอบ หมูสามชั้น อาหารที่มีส่วนประกอบของกะทิ อาหารแปรรูปที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ หมูตั้ง เป็นต้น

3. เลือกกินไขมันดี มีการศึกษาพบว่า กรดไขมันโอเมกา 3 ช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ จึงควรเลือกกินไขมันโอเมกา 3 ไขมันโอเมกา 3 พบมากในปลาทุกชนิด นอกจาก นั้นยังมีในน้ำมันพืชถั่วต่างๆ เป็นต้น

ตารางที่ 2 แสดงปริมาณกรดไขมันในปลาชนิดต่าง ๆ

ชนิดของปลา ปริมาณ น้ำหนัก (กรัม) คอเลสเตอรอล(มิลลิกรัม) ไขมัน รวม(กรัม) กรดไขมัน SFA (มิลลิกรัม) กรดไขมัน MUFA (มิลลิกรัม) กรดไขมัน PUFA (มิลลิกรัม) กรดไขมัน EPA (มิลลิกรัม) กรดไขมัน DHA (มิลลิกรัม)
ปลาช่อน,เนื้อ - 100444.3313248591608160710
1 ช้อนโต๊ะ1570.6519912924124106
ปลาช่อน,เนื้อ -100590.551691002061051
1 ช้อนโต๊ะ1590.0825153128
ปลาดุกด้าน,เนื้อ -100942.981019123460416126
1 ช้อนโต๊ะ14130.4214317384218
ปลาดุกอุย -100694.751740187992341145
1 ช้อนโต๊ะ14100.66244263129620
ปลาตะเพียน,เนื้อ -100633.451268101395143128
1 ช้อนโต๊ะ1490.48178142133618
ปลาม้า -100633.12127295759779114
1 ช้อนโต๊ะ1590.47191144901217
ปลาทับทิม,เนื้อ -100512.5185990357926134
1 ช้อนโต๊ะ1580.3812913587420
ปลาคัง, -100672.27558514222270
เนื้อ1 ช้อนโต๊ะ15100.3311312863310
ปลานิล,เนื้อ -100420.922862662531238
1 ช้อนโต๊ะ1560.1443403826
ปลาเก๋า,เนื้อ -100380.34102621331566
1 ช้อนโต๊ะ1450.051491929
ปลาอินทรีย์ -100534.0516158641079153603
1 ช้อนโต๊ะ1580.612421301622390
ปลาสวาย -1007413.964254525632853101286
1 ช้อนโต๊ะ15112.0963878849346193
ปลากะพงแดง - 100571.61563378553103271
1 ช้อนโต๊ะ1580.248457831541
ปลากะพงขาว -100691.4856440044663238
1 ช้อนโต๊ะ15100.22856067936
ปลาจาระเม็ดขาว -100562.58117458553971265
1 ช้อนโต๊ะ1480.3616482751037
ปลาจาระเม็ดดำ -100533.610884021561134906
1 ช้อนโต๊ะ1470.51525621819127
ปลาซาบะ,เนื้อ -1006016.22966830638198661682
1 ช้อนโต๊ะ1592.434451246573130252
ปลาทู -100765.216959531978636778
1 ช้อนโต๊ะ14110.7323713327789109
ปลาทูน่า -100510.8434514926126183
1 ช้อนโต๊ะ1580.13522239427
ปลาแซลมอน, -100556.4960212025003491215
ธรรมชาติ1 ช้อนโต๊ะ1580.9614432037552182
  • SFA (Saturated fatty acid) = กรดไขมันอิ่มตัว จะมีผลเพิ่มคอเลสเตอรอลรวม เพิ่มคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL/Low density lipoprotein )
  • MUFA (Monounsaturated fatty acid) = กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (มีไขมันไม่อิ่ม ตัวตำแหน่งเดียว) เป็นไขมันดีมาก ช่วยลดคอเลสเตอรอลรวม ลดคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) และอาจเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL/High density lipoprotein)
  • PUFA (Polysaturated fatty acid) = กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (มีไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง) เป็นไขมันดี ช่วยลดคอเลสเตอรอลรวม ลดคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) และอาจลดคอเลสเตอรอลดี (HDL)ด้วย
  • EPA (Eicosapentaenoic acid) =กรดไขมันอิ่มตัวหลายตำแหน่ง ช่วยหลอดเลือดขยาย ตัว ช่วยให้เลือดไม่เกาะกันเป็นก้อน ลดการเกิดลิ่มเลือด และทำให้เลือดไม่แข็งตัวง่าย จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • DHA (Docosahexaenoic acid) = เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ช่วยบำรุงสมองและสายตา ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

แหล่งที่มา ; “คอเลสเตอรอลและกรดไขมันในอาหารไทย” กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2547.

อนึ่ง จากตารางควรเลือกกินปลาที่มีไขมันโอเมกา 3 (EPA + DHA) และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงด้วยซึ่งได้แก่ปลาสวาย ปลาทู ปลาซาบะ แต่ก็อาจได้รับไขมันอิ่มตัวสูงด้วยจึงควรกินโดยมีเส้นใยอาหารด้วยในมื้อนั้นๆ ซึ่งจะช่วยจับไขมันที่มากเกินไปให้ แนะนำให้กินปลาอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรเลี่ยงการทอดปลา เนื่องจากไขมันโอเมกา 3 ที่ดีจะละ ลายไปกับน้ำมันที่ใช้ทอด ควรใช้วิธีการปรุงโดยการต้ม ย่าง นึ่ง อบแทน

ตารางที่ 3 แสดงปริมาณกรดไขมันในน้ำมันพืช

ไขมัน กรดไขมันอิ่มตัว (SFA) ร้อยละ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) ร้อยละ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) ร้อยละ
น้ำมันคาโนลา65836
น้ำมันดอกคำฝอย101575
น้ำมันดอกทานตะวัน122167
น้ำมันข้าวโพด132062
น้ำมันมะกอก14779
น้ำมันถั่วเหลือง162460
น้ำมันถั่วลิสง173740
น้ำมันรำข้าว184537
น้ำมันเมล็ดฝ้าย282227
น้ำมันปาล์ม503910
น้ำมันปาล์มเคอเนล (Kernel oil)86122
น้ำมันมะพร้าว9262
น้ำมันไก่274820
น้ำมันหมู404712
น้ำมันเนื้อ52445
เนย60305
แนะนำ28.642.828.6

ที่มา; “น้ำมันรำข้าว ทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทย” นัยนา บุญทวียุวัฒน์.เรวดี จงสุวัฒน์. กรุงเทพ ; โอเดียนสโตร์, 2545

อนึ่ง จากตาราง เพื่อให้ร่างกายได้รับไขมันที่ดี ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงและไขมันอิ่มตัวต่ำ เช่น น้ำมันคาโนลา (Canola oil) น้ำมันรำข้าว แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นไขมันดี ก็ต้องจำกัดปริมาณที่ใช้ด้วย จะใช้ปริมาณมากไม่ได้

ตารางที่ 4 แสดงคุณค่าอาหารของถั่วชนิดต่างๆ ในปริมาณ 28 กรัม

ชนิดของถั่ว ปริมาณ เม็ด พลังงาน(แคลอรี) โปรตีน(กรัม) ไขมันทั้งหมด (กรัม) ไขมันอิ่มตัว(ไขมันไม่ดี) (กรัม) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (ไขมันดีมาก) (กรัม) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (ไขมันดี)(กรัม)
อัลมอนด์(Almond)20-24160614193
เม็ดมะม่วงหิมพานต์16-18160413382
เฮเซลนัท(Hezelnut)18-201804171.5132
แมคคาดาเมีย419832002223170.5
ถั่วลิสง28170714274
พิสตาชิโอ(Pistachio)45-471606131.574
วอลนัท (Walnut)141904181.52.513

ที่มา; “กินดีได้สุขภาพดี” กฤษฏี โพธิทัต. กันยายน 2554

อนึ่ง ถั่วมีไขมันที่ดี การกินถั่ววันละ 30 กรัมคู่กับอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ จะสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าหรือถึง 2 เท่า (เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานอาหารสไตล์เดียวกันแต่ไม่มีถั่ว) และมีระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดลดลง

ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง หากได้กินปลาทะเลที่มีไขมันโอเมกา 3 สูง ปรุงด้วยวิธีการนึ่ง 2-3 มื้อต่อสัปดาห์ เลือกใช้ไขมันดีที่จะช่วยลดไขมันตัวร้ายได้ กินถั่วในปริมาณที่จำ กัด จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ค่อนข้างดี แต่ทั้งนี้ต้องลดการกินไขมันโดยรวม โดย เฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่ได้จากสัตว์บกลงด้วย มิฉะนั้น การกินอาหารที่มีไขมันโอเมกา 3 ไป ก็ไม่ทันกับไขมันที่รับเพิ่มขึ้นในร่างกาย

4. เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารสูง อาหารกากใยหรือ ใยอาหาร (Fiber) มีชนิดละลายน้ำได้ และชนิดไม่ละลายน้ำ มีมากในธัญพืช ผักและผลไม้ เส้นใย/ใยอาหารจะช่วยจับไขมัน และขับออกจากร่างกายก่อนที่จะดูดซึมเข้าไปในร่างกาย พบเส้นใยสูงในธัญพืชแบบไม่ขัดสี (Whole grain ) เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวสาลีแบบโฮลวีท (Whole wheat) ผัก และผลไม้ ควรเลือกกินอาหารที่มีเส้นใยสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับเส้นใย 25-35 กรัมต่อวัน

5. เลิกดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะแอลกอฮอล์มีคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นวัตถุดิบให้นำมาเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้

6. ควบคุมน้ำหนัก ผู้มีน้ำหนักตัวเกิน ต้องลดน้ำหนักลงให้ได้ โดยการลดปริมาณอาหารที่กินโดยเฉพาะอย่างยิ่งมื้อเย็น ลดข้าว-แป้ง งดไขมัน ที่สำคัญควรมีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตไม่ให้เหลือใช้ และเป็นการช่วยสลายไขมันออกจากตับได้ดี ไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหาร และไม่ควรลดน้ำหนักเร็วเกินไป เพราะการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็วโดยการงดอาหาร อาจก่อให้เกิดตับอักเสบอย่างรุน แรงได้ การลดน้ำหนักนั้นควรลดลงมาอย่างน้อย 15% จากน้ำหนักเริ่มต้น หรือจนน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (รู้ได้จากค่าดัชนีมวลกาย)

อนึ่ง ร่างกายจะสร้างไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น ถ้าได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป (ภา วะน้ำหนักตัวเกิน หรือโรคอ้วน) ดังนั้น การรู้จักเลือกกินจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการควบ คุมระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด กล่าวคือ ในแต่ละวัน ควรกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ ให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า เพราะพลังงานที่ได้จากอา หารจะถูกนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆตลอดวัน ในปัจจุบันคนทั่วไปมีความเร่งรีบจึงมักงดอา หารเช้า อย่างไรก็ตามควรคำนึงไว้เสมอว่า ต้องจำกัดอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ร่วมด้วยกับการออกกำลังกายให้ได้ทุกวัน เพื่อให้ไม่มีพลังงานเหลือที่จะนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ได้

สำหรับคนที่ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงจากโรค ควรควบคุมหรือรักษาโรคนั้นๆควบคู่กันไปด้วย เช่น ไตรกลีเซอไรด์สูงจากโรคเบาหวานประเภทที่ 2 การลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้โดยการพยายามคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติควบคู่กันไปด้วย สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การงดสูบบุหรี่ และลดการดื่มเบียร์ เหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ เพื่อทำให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และขจัดไขมันในเลือดได้ดีขึ้น จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการป้องกันไม่ ให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

สรุป

อาหารสำหรับโรคไขมันพอกตับ คืออาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โดยต้องเคร่งครัดในการจำกัด อาหารไขมันทุกประเภทที่รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ และอาหารแป้งและน้ำตาล

บรรณานุกรม

  1. กองโภชนาการ กรมอนามัย สาธารณสุข “คลอเรสเตอรอลและกรดไขมันในอาหารไทย” พิมพ์ครั้งที่ 2 : 2547
  2. กฤษฎี โพธิทัต “กินดี ได้สุขภาพดี” บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด กันยายน 2554.
  3. นัยนา บุญทวียุวัฒน์และเรวดี จงสุวัฒน์ “ น้ำมันรำข้าวทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทย” กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2545
  4. มูลนิธิโรคตับ ; http://www.thailiverfoundation.org/th. [2013,Dec18].
  5. ประไพศรี ศิริจักรวาล. “ คนที่มีไขมันในเลือดสูงแล้วควรเลือกรับประทานอาหารอย่างไร” สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  6. ธีระ พิรัชวิสุทธิ์.รศ.นพ. “ ไขมันสะสมคั่งในตับ ” หน่วยโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  7. ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. “อาหารต้านวัยต้านโรค” สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ กรุงเทพฯ 2552.
  8. สันต์ ใจยอดศิลป์.นพ. “ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride). ” Health.Co.Th Journal 2010:2:7-7.
  9. สมบัติ ตรีประเสริฐสุข,รศ.“ ภาวะไขมันเกาะตับ“ สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก http://www.chulalongkornhospital.go.th [2013,Dec18].
  10. วันทนีย์ เกรียงสินยศ.“ กินอย่างไร เมื่อไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ” นิตยสารหมอชาวบ้านเล่มที่ 315 กรกฏาคม 2005.