สัญญาณชีพ (Vital sign)

สัญญาณชีพ คือ อาการสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยบอกถึงความปกติหรือความผิด ปกติของร่างกาย ประกอบด้วย 4 อาการแสดง (Sign อาการที่แพทย์สามารถตรวจพบได้) คือ

  • ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ Pulse หรือ Pulse rate ย่อว่า P)
  • อัตราการหายใจ (Respiratory rate ย่อว่า RR หรือ R)
  • อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature ย่อว่า T) และ
  • ความดันโลหิต (Blood pressure ย่อว่า BP)

สัญญาณชีพ เป็นอาการที่สามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีการง่ายๆอาจด้วยตนเอง ยกเว้น ความดันโลหิตที่ต้องมีเครื่องวัด แต่ก็เป็นเครื่องที่ผู้ใหญ่ทุกคนสามารถใช้ได้ ใช้เป็น

สัญญาณชีพ เป็นตัวบอกความมีชีวิต ใช้ประเมินการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายโดย เฉพาะ หัวใจ ปอด และสมอง นอกจากนั้น ยังมีประโยชน์ทั้งในการประเมิน วินิจฉัยสุขภาพเบื้อง ต้น อาจช่วยวินิจฉัยโรคได้ และยังใช้ในการตรวจติดตามและประเมินผลการรักษา

ค่าของสัญญาณชีพของแต่ละบุคคล ปกติจะไม่เท่ากัน ขึ้นกับ อายุ เพศ และตรวจใน ขณะพัก หรือหลังการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการออกแรง และเมื่อเกิดความผิดปกติหรือเกิดโรค ค่าของสัญญาณชีพก็จะเปลี่ยนแปลงผิดปกติ เช่น เมื่อมีไข้ ชีพจร อัตราการหายใจ จะสูง ขึ้น ความดันโลหิตอาจสูงหรือต่ำ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงหรือต่ำกว่าปกติ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค เป็นต้น

    ค่าปกติในผู้ใหญ่ปกติ ของ
  • ชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ วัดนับจากการใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้คลำการเต้นของหลอดเลือดแดงตรงด้านหน้าของข้อมือ (ด้านหัวแม่มือ) ที่อยู่ต่ำกว่าฐานของนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งจะประ มาณ 60-100 ครั้งต่อนาที
  • อัตราการหายใจ วัดโดยดูจากการขยายตัวของช่องอก จะประมาณ 12-18 ครั้งต่อนาที
  • ความดันโลหิต ใช้ตรวจวัดจากเครื่องวัด จะประมาณ 90/60-120/80 มิลลิเมตรปรอท
  • อุณหภูมิร่างกาย ค่าปกติจะประมาณ 37+/- 0.5 องศาเซลเซียส/Celsius (อ่านเพิ่มเติมใน บทความเรื่องไข้ และในเกร็ด วิธีวัดปรอท ในเว็บ haamor.com)

บรรณานุกรม

  1. Human body temperature http://en.wikipedia.org/wiki/Human_body_temperature [2013,March5]
  2. Vital sign http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002341.htm [2013,March5].