ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือ ยาไดแลนติน (Dilantin)

สารบัญ

ทั่วไป

ยาเฟนิโทอิน

ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อการค้า คือ ยาไดแลนติน (Dilantin) ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยนักเคมีชาวเยอรมัน และถูกนำมาใช้รักษาอาการชักชนิดเกิดจากสมองมีความผิดปกติเฉพาะบางส่วน (Partial Seizures) และชนิดการชักเกิดจากสมองมีความผิดปกติทั้งซีกซ้ายและซีกขวา (Generalized Tonic – Clonic Seizures) โดยยานี้ มีกลไกยับยั้งการทำ งานของเกลือโซเดียมในร่างกาย และส่งผลให้กลไกที่ทำให้ร่างกายมีอาการชักถูกยับยั้งในที่ สุด

ยาเฟนิโทอินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาเฟนิโทอินมีสรรพคุณดังนี้ คือ

  • ใช้ควบคุมอาการชัก (Tonic – Clonic & Complex Partial Seizures)
  • ป้องกันการชักระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดเส้นประสาท
  • ใช้รักษาอาการไมเกรน
  • ใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว

ยาเฟนิโทอินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยาเฟนิโทอิน คือ หลังจากการรับประทาน ยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และจะมีระยะเวลากระจายตัวในกระแสเลือดอยู่ที่ 7 – 42 ชั่วโมง และสามารถถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะและทางน้ำดี ขณะที่ตัวยาผ่านเข้าไปในสมอง/ขมอง จะทำให้เกิดการชะลอการแลกเปลี่ยนเกลือโซเดียม และส่งผลให้สมองส่วน Motor Cortex (สมองส่วนควบ คุมการเคลื่อนไหว) ไม่สามารถสร้างกระแสประสาทไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดการชักได้

ยาเฟนิโทอินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายในประเทศไทยอย่างไร?

รูปแบบการจัดจำหน่ายในประเทศไทยของยาเฟนิโทอิน ได้แก่

  • ชนิดแคปซูลขนาด 100 มิลลิกรัม
  • ชนิดเม็ดขนาด 50 มิลลิกรัม
  • ชนิดฉีดขนาด 50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

ยาเฟนิโทอินมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ขนาดรับประทานของ ยาเฟนิโทอิน คือ

  • สำหรับผู้ใหญ่ ในโรคลมชัก รับประทานครั้งละ 100 มิลลิกรัมวันละ 3ครั้ง หรือรับประทาน 300 มิลลิกรัมครั้งเดียว

    ขนาดสูงสุดไม่ควรรับประทานเกิน 600 มิลลิกรัมต่อวัน

  • สำหรับเด็ก รับประทานขนาด 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน 2 – 3 ครั้งต่อวัน

*****อนึ่ง ขนาดรับประทานของยาทุกชนิด รวมถึง ยาเฟนิโทอิน อาจแตกต่างจากนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้สั่งยา

เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาเฟนิโทอิน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำ บาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาเฟนิโทอินอาจส่งผลให้อาการ ของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาเฟนิโทอิน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

ยาเฟนิโทอินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ผลไม่พึงประสงค์/ผลข้างเคียงของยาเฟนิโทอิน ได้แก่

  • ในกรณีของยาฉีด อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำงานผิด ปกติ และสามารถก่อให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้
  • ยานี้ยังส่งผลต่อสมอง และสามารถก่อให้เกิดอาการต่างๆ อาทิเช่น การพูดติดขัด วิง เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ อาการสั่น
  • ผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ภาวะตับถูกทำลายเกิดตับอักเสบได้
  • ก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง/ภาวะซีด
  • อาการทางผิวหนัง เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ริมฝีปากบวม

มีข้อควรระวังการใช้ยาเฟนิโทอินอย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาเฟนิโทอิน คือ

  • ห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยาเฟนิโทอิน
  • ห้ามใช้ยากับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าและ/หรือ หัวใจผิดจังหวะ
  • ห้ามใช้ยาในผู้ป่วยด้วยโรค Adams – Stokes Syndrome (กลุ่มอาการหมดสติจากหัวใจ เต้นผิดปกติ)
  • ห้ามใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ เพราะมีผลต่อทารกในครรภ์ ทารกอาจพิการแต่กำเนิดได้
  • ระวังการใช้ยาร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ปริมาณยาเฟนิโทอินในกระแสเลือดมีปริมาณสูงขึ้น แต่ถ้าใช้ยานี้ร่วมกับผู้ป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง จะก่อให้เกิดการลดปริมาณยาในกระแสเลือดได้เช่นกัน
  • ระวังการใช้ยาเฟนิโทอินกับผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตต่ำ เพราะสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบมากขึ้น
  • ระวังการใช้ยาเฟนิโทอินกับผู้ที่มีภาวะตับโต ผู้ที่มีภาวะดีซ่าน เพราะจะทำให้อาการของภาวะนั้นๆรุนแรงขึ้น

***** อนึ่ง

ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาเฟนิโทอิน ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวม ทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาเฟนิโทอินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ด้วยยาเฟนิโทอิน สามารถเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา กับยาได้หลายชนิด จึงขอแบ่งปฏิกิริยาระหว่างยาของเฟนิโทอินกับยาอื่นๆ ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  • การรับประทานยาต่อไปนี้ร่วมกับยาเฟนิโทอิน สามารถทำให้ระดับของ ยาเฟนิโทอินในกระแสเลือดมีปริมาณสูงขึ้น ยากลุ่มดังกล่าว เช่น Dicoumarol Disulfiram Methylphenidate Omeprazole Ticlopidine Viloxazine NSAIDs Halothane Chloramphenical Erythromycin INH Sulfonamides Felbamate Succinimides Amphotericin B Fluconazole Ketonazole Miconazole Itraconazole Benzodiazepines Amiodarone Diltiazem Nifidipine Estrogens Tolbutamide Fluoxetine และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
  • การรับประทานยาต่อไปนี้ร่วมกับยาเฟนิโทอิน สามารถทำให้ระดับของ ยาเฟนิโทอินในกระแสเลือดลดลง ยากลุ่มดังกล่าว เช่น Fluoroquinolones Diazoxide Reserpine Sucralfate Theophylline Vigabatrin
  • กลุ่มยาที่มีผลกระทบต่อฤทธิ์ในการรักษาของยาเฟนิโทอิน ได้แก่ กลุ่มยากันชักกลุ่มอื่นๆ เช่น Chlordiazepoxide Diazepam
  • กลุ่มยาที่ได้รับผลกระทบ และทำให้ฤทธิ์การรักษาของยากลุ่มดังกล่าวแตกต่างไปจากเดิม เมื่อรับประทานร่วมกับยาเฟนิโทอิน ได้แก่ Clozapine Corticosteroids Coumarin ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด Cyclosporine Diazoxide Furosemide Paroxetine Vitamin D Doxycycline Rifampicin Praziquantel Tetracycline Methadone Sulfonylurea และกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน (Antidiabetic Drugs)

ควรเก็บรักษายาเฟนิโทอินอย่างไร?

ควรเก็บยาเฟนิโทอิน ในอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส (Celsius) เก็บยาให้พ้นแสง แดดและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็ก

ยาเฟนิโทอินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ชื่ออื่นและบริษัทที่ผลิตยาเฟนิโทอินในประเทศไทย เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Dantoin (แดนโทอิน)Pharmasant Lab
Dilantin (ไดแลนติน)Pfizer
Ditoin (ไดโทอิน)Atlantic Lab
Fenitoina Rubio (เฟนิโทอินา รูบิโอ)Lab Rubio
Pepsytoin-100 (เปปซีโทอิน-100)Pond’s Chemical
Utoin-250 (ยูโทอิน-250)Umeda

บรรณานุกรม

  1. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Dilantin/?q=dilantin&type=brief [2013,Dec11].
  2. http://en.wikipedia.org/wiki/Phenytoin [2013,Dec11].