ยามิฟีพริสโตน (Mifepristone): ยายุติการตั้งครรภ์ / ยาทำแท้ง

สารบัญ

ทั่วไป

ยามิฟีพริสโตน (Mifepristone หรือ Mifeprex/มิฟีเพรก) จัดเป็นสารสังเคราะห์กลุ่มสเตียรอยด์ ทางการแพทย์ใช้เป็นยาหยุด หรือยุติการตั้งครรภ์ ถูกคิดค้นในแถบยุโรป ในช่วงแรกยานี้ถูกเรียกว่า RU-486 ซึ่งมีผู้ต่อต้านการทำแท้งออกมาประท้วงการนำยานี้มาใช้ แต่บางประเทศในแถบยุโรปก็ประกาศเป็นที่ยอมรับ โดยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและการดูแลของแพทย์

ยามิฟีพริสโตนมีข้อบ่งใช้ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ข้อบ่งชี้การใช้ยามิฟีพริสโตน คือ

ยามิฟีพริสโตนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยามิฟีพริสโตน ออกฤทธิ์โดย ต้านการฝังตัวของทารกในครรภ์

ยามิฟีพริสโตนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ขณะนี้ (มีนาคม พ.ศ. 2555) ยังไม่มีการจัดจำหน่าย ยามิฟีพริสโตน ตามร้านขายยา และอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฎหมายไทย

ยามิฟีพริสโตนมีขนาดการรับประทานอย่างไร?

ยามิฟีพริสโตน เป็นยาเม็ด ใช้รับประทาน เมื่อใช้ยุติการตั้งครรภ์จะได้ผลต่อเมื่ออายุครรภ์อยู่ในระยะแรก คือ ประมาณไม่เกิน 49 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย

การบริหารยามิฟีพริสโตน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยขนาดและปริมาณการใช้ขึ้นกับอายุครรภ์ของมารดา ประกอบกับต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความปลอดภัย สะอาด ถูกสุขลักษณะต่อผู้ป่วย

เมื่อมีการสั่งใช้ยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยามิฟีพริสโตน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือ แน่น หายใจติดขัด
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือ เกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อนแล้ว
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือไม่ (เมื่อใช้ยานี้ในการรักษาโรคต่างๆ) หรือ กำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาหลายตัวสามารถผ่านรก หรือ ผ่านเข้าสู่น้ำนม และเข้าสู่ทารกก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้

ยามิฟีพริสโตนมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?

ยามิฟีพริสโตน มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง อาทิ เช่น เลือดออกมากในบริเวณช่องคลอดและมดลูก เกิดภาวะติดเชื้อในมดลูก ทำให้ผู้ได้รับยารู้สึกอ่อนเพลียและไม่มีกำลัง ปวดหลัง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ซึมและวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ วิตกกังวล และเกิดภาวะหดเกร็งของระบบทางเดินอาหาร

ยามิฟีพริสโตนมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?

การรับประทานยามิฟีพริสโตน ร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่มเอนเสดส์ (NSAIDs, non- steroidal anti inflammatory drugs) จะทำให้ฤทธิ์การรักษาของยาแก้ปวดลดประสิทธิภาพลง ยาแก้ปวดดังกล่าว เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin)

ยามิฟีพริสโตนมีข้อควรระวังในการใช้ยาอย่างไร?

ข้อควรระวังเมื่อใช้ยามิฟีพริสโตน คือ

  • ห้ามใช้ยากับผู้ป่วยที่มีโรคหืด
  • ห้ามใช้ยากับสตรีที่ติดบุหรี่ และมีอายุมากกว่า 35 ปี
  • ห้ามใช้ยากับผู้ที่มีภาวะโรคหัวใจหรือผู้ที่แสดงอาการและมีความเสี่ยงว่าเป็นโรคหัวใจ
  • ห้ามใช้ยากับผู้ที่ป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ห้ามใช้ยากับผู้ป่วยที่มีประวัติการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
  • ระมัดระวังการใช้ยากับผู้ที่สงสัยภาวะท้องนอกมดลูก (ขาดประจำเดือน หรือเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ร่วมกับปวดท้องน้อย)
  • ระมัดระวังการใช้ยากับผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง (Chronic Adrenal Failure)
  • ระมัดระวังการใช้ยากับผู้ที่มีประวัติการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน
  • ระมัดระวังการใช้ยากับผู้ที่มีประวัติแพ้ยามิฟีพริสโตน และแพ้ยากลุ่มโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เช่น ยามิโสโพรสทอล (Misoprostol) ที่ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • ระมัดระวังการใช้ยากับผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย หรือผู้ที่กำลังรับประทานยากลุ่มต้านทานการจับตัวของเกล็ดเลือด
  • ระมัดระวังการใช้ยากับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคตับ และ/หรือโรคไต
  • ระมัดระวังการใช้ยากับผู้ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ (เมื่อใช้ยานี้ในการรักษาโรคต่างๆ) หรือกำลังให้นมบุตร
  • ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด

บรรณานุกรม

  1. Mifepristone. http://en.wikipedia.org/wiki/Mifepristone [ March 12, 2012]
  2. Mifepristone. http://www.mims.com/Thailand/drug/info/mifepristone/mifepristone?type=brief&mtype=generic [2012, March 22].
  3. Emergency Contraception With Mifepristone and Levonorgestrel: Mechanism of Action. http://journals.lww.com/greenjournal/Abstract/2002/07000/Emergency_Contraception_With_Mifepristone_and.11.aspx [March 22, 2012]