ปวดศีรษะข้างเดียว อาการปวดศีรษะข้างเดียว (Hemicranial Headache)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

อาการปวดหัว หรือ อาการปวดศีรษะ หรือ ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะ (Headache) เป็นอา การทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งทุกคนต้องเคยมีอาการปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะบางครั้งรุนแรง บางครั้งพอรำคาญ บางคนก็ปวดหมดศีรษะ บางคนก็ปวดบริเวณหน้าผาก ต้นคอ เบ้าตา ซึ่งที่พบบ่อยคือ ปวดบริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่ง (เป็นลักษณะของปวดศีรษะไมเกรน) ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะรู้จักปวดศีรษะไมเกรนเท่านั้น แต่จริงแล้วอาการ/โรคปวดศีรษะข้างเดียว ยังมี สาเหตุ/แบบ/ชนิด ต่างๆอีก เรามาติดตามดูครับ ว่าอาการปวดศีรษะข้างเดียว (Hemicranial headache) มีสาเหตุจากอะไรบ้าง

ปวดศีรษะข้างเดียวมีชนิด/แบบอะไรบ้าง?

ปวดศีรษะข้างเดียว

อาการปวดศีรษะข้างเดียวที่พบบ่อย คือ ปวดศีรษะไมเกรน (จะไม่กล่าวถึงในบทความนี้ อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง ไมเกรน) ส่วนสาเหตุ/แบบ/ชนิด อื่นๆที่พบได้ไม่บ่อย ได้แก่

  • ปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster headache) ซึ่งได้กล่าวโดยละเอียดแยกต่างหากในอีกบทความ ซึ่งอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง โรคปวดศีรษะคลัสเตอร์ ในบทความนี้ จะเป็นเรื่องของการปวดศีรษะข้างเดียวของ 3 ชนิด/แบบ ที่เหลือ คือ ปวดศีรษะ SUNCT ปวดศีรษะ SUNA และปวดศีรษะ Hemicranial continua (ข้อ 2-4)
  • ปวดศีรษะข้างเดียวแบบปวดเส้นประสาทและน้ำตาไหล ตาแดง (Short- lasting Uni lateral Neuralgiform Headache attack with Conjunctival injection and Tearing หรือเรียกย่อว่า SUNCT)
  • ปวดศีรษะข้างเดียวแบบปวดเส้นประสาท ร่วมกับอาการระบบประสาทอัตโนมัติผิด ปกติ (Short–lasting Unilateral Neuralgiform with cranial Autonomic features หรือเรียกย่อว่า SUNA)
  • ปวดศีรษะข้างเดียวไม่เปลี่ยนข้าง (Paroxysmal hemicranial continua หรือ Hemi cranial continua)

ปวดศีรษะข้างเดียวแต่ละชนิดมีอาการอย่างไร?

อาการปวดศีรษะข้างเดียวแต่ละชนิด/แบบนั้น มีลักษณะอาการเด่น ดังนี้

  • มีอาการปวดศีรษะข้างเดียว คือ ปวดบริเวณขมับ เบ้าตา รอบๆตา และหน้าผาก ด้านใดด้านหนึ่ง ซ้าย หรือ ขวา ก็ได้เพียงด้านเดียว
  • ธรรมชาติของโรคมี 2 แบบ คือ
    • แบบเป็นๆ หายๆ คือ ปวดศีรษะคลัสเตอร์ , ปวดศีรษะ SUNCT, และ ปวดศีรษะ SUNA
    • และแบบเป็นตลอดเวลา คือ ปวดศีรษะ SUNCT บางราย และปวดศีรษะข้างเดียวแบบไม่เปลี่ยนข้างตลอดเวลา (Hemicranial continua)
  • ลักษณะการปวดมีแบบ
    • ปวดตุ้บๆ แบบไมเกรน เช่น ปวดศีรษะคลัสเตอร์
    • ถ้าปวดตื้อๆ ตุ้บๆ ตลอดเวลา เช่น Hemicranial continua
    • และปวดเสียวแปล๊บๆ แบบปวดจากเส้นประสาท เช่น ปวดศีรษะ SUNCT, และปวดศีรษะ SUNA
  • มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติร่วมด้วย เช่น ตาแดง น้ำตาไหล ตาบวม ลืมตาลำบาก น้ำมูกไหล

ปวดศีรษะข้างเดียวที่ไม่ใช่ไมเกรน มีลักษณะต่างกันอย่างไร?

เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย สรุปเป็นตาราง ดังนี้

แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นปวดศีรษะข้างเดียวได้อย่างไร?

ในการวินิจฉัยว่า เป็นโรค/อาการปวดศีรษะข้างเดียว แพทย์จะวินิจฉัยจาก

  • ลักษณะการปวดที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟัง
  • และการตรวจร่างกายเพิ่มเติม เช่น
    • ตรวจพบความผิดปกติของระบบประ สาทอัตโนมัติหรือไม่ในขณะที่มีอาการ ปวด
    • ที่สำคัญ คือ ต้องตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆของระบบประสาท

ผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอมอาร์ไอสมองหรือไม่?

แพทย์จะพิจารณาลักษณะผิดปกติที่ตรวจพบร่วมกับอาการที่ผู้ป่วยบอก ถ้าเข้าได้กับลักษณะการปวดศีรษะอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น และตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ก็สามารถให้การวินิจฉัยได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งตรวจสืบค้นอะไรเพิ่มเติม

ปวดศีรษะข้างเดียวดังกล่าวเกิดจากอะไร?

อาการปวดศีรษะข้างเดียวทั้ง 3 ชนิด/แบบดังกล่าว เป็นกลุ่มที่ตรวจไม่พบความผิดปกติในสมอง (Primary headache) แต่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติของประ สาทสมองที่ชื่อ Trigeminal (Trigeminal automatic cephalalgias : TACs) โดยเชื่อว่ามีความผิดปกติของเซลล์สมองบริเวณก้านสมอง และส่งผลให้มีการหลั่งสารเคมีและสารสื่อประ สาทบางชนิด ไปมีผลต่อหลอดเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา (Dura mater) จึงทำให้มีอา การปวดศีรษะผิดปกติดังกล่าว

ใครคือกลุ่มมีโอกาสสูงที่เกิดอาการปวดศีรษะข้างเดียว?

อาการปวดศีรษะข้างเดียวมักเกิดขึ้นใน

  • กลุ่มผู้ใหญ่วัยกลางคน
  • พบในผู้ชายมากกว่าผู้ หญิง
  • พบมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้น้อยมาก

ปวดศีรษะข้างเดียวมีปัจจัยกระตุ้นอะไรบ้าง?

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดปวดศีรษะข้างเดียว เช่น

  • อากาศที่เปลี่ยนแปลง
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • และการอดนอน

รักษาอาการปวดศีรษะข้างเดียวอย่างไร?

การรักษาอาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็นการรักษาต่างกันเฉพาะแต่ละชนิดของการปวด คือ

  • อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ รักษาโดยให้ดมออกซิเจน ให้ยาคาร์เฟอร์ก๊อต (Cafergot) ที่รักษาไมเกรนก็ได้ผล
  • อาการปวดศีรษะข้างเดียว Hemicranial continua ตอบสนองดีต่อยาแก้ปวด Indome thacin
  • ส่วนอาการปวดศีรษะ SUNCT/SUNA นั้นไม่มียาที่ได้ผลชัดเจน แต่ก็ตอบสนองต่อยา สเตียรอยด์/ยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone), ยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine, ยาทางจิตเวชและยากันชัก) และยาลามิคทอล (Lamictal, ยารักษาทางจิตเวช และยากันชัก/ยาต้านชัก)

ปวดศีรษะข้างเดียวมีผลข้างเคียงแทรกซ้อนหรือไม่?

อาการปวดศีรษะข้างเดียวนั้น ไม่มีอันตราย และ ไม่มีมีผลข้างเคียงแทรกซ้อนใดๆ แต่สร้างความรำคาญและทรมานในผู้ป่วยบางราย และไม่พบมีความสัมพันธ์กับการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก หรือ ความจำ

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์?

ผู้ป่วยทุกคน แนะนำให้พบแพทย์/มาโรงพยาบาลเมื่อ

  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรง เพราะต้องให้แพทย์ตรวจประเมินว่า ไม่มีสาเหตุอื่นๆ เพราะบางโรคที่อันตราย อาจมีอาการคล้ายกันได้ เช่น เนื้องอกสมอง เนื้องอกของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

เมื่อปวดศีรษะข้างเดียวควรดูแลตนเองอย่างไร?

กรณีมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ควรดูแลโดยการทานยาที่ได้ผล ตามที่แพทย์ได้ให้ยามารักษา หรือการดมออกซิเจนกรณีเป็นอาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ การรักษานั้นมีทั้ง

  • กรณีที่เป็นไม่บ่อย ก็ทานยารักษาเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆหรือช่วงที่มีอาการเท่านั้น
  • แต่กรณีที่เป็นบ่อยๆ และเป็นนาน อาจจำเป็นต้องทานยาต่อเนื่อง ถึงแม้ช่วงที่ไม่มีอาการก็ตาม

ป้องกันอาการปวดศีรษะข้างเดียวได้หรือไม่?

การป้องกันอาการปวดศีรษะข้างเดียวที่ดีนั้นคือ

  • การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าวข้างต้นใน หัวข้อ ‘ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ ‘
  • การผ่อนคลาย การไม่เครียด
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • และการไม่ดื่มแอลกอฮอล์