บาร์บิทูเรต (Barbiturate)

สารบัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ: คือยาอะไร?

 บาร์บิทูเรต (Barbiturate) คือ กลุ่มสารอนุพันธุ์ของกรดบาร์บิทูริก (Barbituric acid,สารต้นกำเนิดของยาบาร์บิทูเรต) ถูกสังเคราะห์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1864 (พ.ศ. 2407) โดยนักวิจัยชาวเยอรมัน และถูกนำมาใช้กับวงการแพทย์ในเวลาต่อมา ด้วยกลไกที่มีผลกดการทำงานของสมอง จึงนำบาร์บิทูเรตไปใช้เป็น ‘ยาสงบประสาท (ยาคลายเครียด)’ ช่วยให้นอนหลับ (ยานอนหลับ) จนถึงขั้นใช้เป็นยาสลบ (Anesthesia) ใช้รักษาโรคลมชัก โรคไมเกรน และบรรเทาอาการโรควิตกกังวล เป็นต้น

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการทหารสหรัฐอเมริกาได้เลือกใช้ยาบางตัวในกลุ่มบาร์บิทู เรตโดยตั้งชื่อว่า ‘Goofball’ และใช้เป็นยาเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ลดความเครียด ลดความดันโลหิต เป็นเหตุให้ทหารกลุ่มที่ได้รับ Goofball มีอาการติดยาเมื่อเสร็จสิ้นสงคราม

ปัจจุบันบาร์บิทูเรตได้รับความนิยมน้อยลงไปด้วยมีผลข้างเคียงมากกว่ายากลุ่มอื่นที่มีฤทธิ์ของการรักษาเหมือนหรือใกล้เคียงกัน อย่างเช่นยาในกลุ่มเบนโซไดอะซิปีน (Benzodiazepine) รายชื่อยาในกลุ่มบาร์บิทูเรตมีอยู่หลายรายการ แต่จะขอยกตัวอย่างเพียงบางตัวดังต่อไปนี้ Allobarbital, Alphenal, Amobarbital, Aprobarbital, Brallobarbital, Butobarbital, Butalbital, Cyclobarbital, Methylphenobarbital, Methohexital, Pentobarbital, Phenobar bital, Secobarbital, Talbutal, Thiamylal, และThiopental ทั้งนี้ การจะเลือกใช้ยาตัวใดมารัก ษากับแต่ละอาการโรคของผู้ป่วยต้องได้รับการคัดกรองและมีคำสั่งจากแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น ผู้ ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างเคร่งครัด ห้ามปรับเปลี่ยนขนาดรับประทานหรือหยุดการใช้ยานี้ด้วยตนเอง

บาร์บิทูเรตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?

บาร์บิทูเรต

ยาบาร์บิทูเรตมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้:   

  • ใช้เป็นยาสงบประสาท (ยาคลายเครียด) ช่วยให้นอนหลับ (ยานอนหลับ)
  • ใช้เป็นยาสลบก่อนนำคนไข้เข้ารับการผ่าตัด
  • รักษา  โรคลมชัก    โรคไมเกรน
  • ช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • ช่วยคลายความวิตกกังวล (มักใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น)

บาร์บิทูเรตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยาบาร์บิทูเรตคือ ตัวยาจะจะออกฤทธิ์ต่อตัวรับ(Receptor)ต่อสาร  กาบา/ GABA (Gamma aminobutyric acid receptor, ตัวรับของสารสื่อประสาท GABA ที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัวของสมอง)ในสมอง และส่งผลกดการทำงานของกระแสประสาท ซึ่งการใช้ยาที่ถูกขนาด ถูกอาการ จะก่อให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ

บาร์บิทูเรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

 ยาบาร์บิทูเรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น

  • ยาเม็ด
  • ยาแคปซูล
  • ยาน้ำชนิดรับประทาน
  • ยาน้ำแขวนตะกอน
  • สารละลาย
  • ยาเหน็บทวาร
  • ยาฉีดชนิดผงแห้ง (ใช้ละลายน้ำก่อนฉีด)

บาร์บิทูเรตมีขนาดการใช้ยาอย่างไร?

 ยาในกลุ่มบาร์บิทูเรตมีหลายรายการ ดังนั้นขนาดรับประทานและวิธีใช้ต้องเป็นไปตามคำ สั่งของแพทย์เท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ป่วยปรับเพิ่ม - ลดขนาดรับประทานยาเอง สามารถหาข้อมูลรายละเอียดของการใช้ยา ข้อห้าม ข้อควรระวัง การเก็บรักษา ได้จาก ฉลากยา/ เอกสารกำกับยาที่แนบมากับภาชนะบรรจุ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาบาร์บิทูเรต ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์  พยาบาล และ เภสัชกร  เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่นคัน หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย   
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาบาร์บิทูเรตอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

โดยปกติทั่วไป หากลืมรับประทานยาบาร์บิทูเรต สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

 อย่างไรก็ตาม การลืมรับประทานยานี้บ่อยๆ สามารถทำให้อาการป่วยไม่ทุเลา และยังอาจเพิ่มความรุนแรงของอาการได้มากยิ่งขึ้น

บาร์บิทูเรตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

 กลุ่มยาบาร์บิทูเรตสามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)  เช่น

  • การสูญเสียความทรงจำ
  • กดการหายใจ (หายใจเบา ตื้น)
  • ไตทำงานผิดปกติ
  • ตกใจง่าย
  • จิต/ประสาทหลอน
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดกระดูก
  • เบื่ออาหาร
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • น้ำหนักลดผิดปกติ
  • ตัวเหลือง

*อนึ่ง: สำหรับอาการของผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาด เช่น รู้สึกสับสนอย่างมาก การตอบสนองต่อการถูกกระตุ้นน้อยมาก ง่วงนอนอย่างมาก มีไข้  ตัวเย็น ความสามารถในการตัดสินใจแย่ลง การหาย ใจติดขัด/หายใจลำบาก ชีพจรเต้นเบา พูดไม่ชัด  ตากระตุก  อ่อนเพลียมาก   ซึ่งหากพบอาการดังกล่าว ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน

มีข้อควรระวังการใช้บาร์บิทูเรตอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้บาร์บิทูเรต เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มนี้
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วย โรคถุงลมโป่งพอง   ผู้ป่วยโรคตับ   โรคไต   ผู้ป่วยที่มีโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Obstructive sleep apnea)
  • ห้ามใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ด้วยยานี้สามารถก่อความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้กับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ด้วยยากลุ่มนี้สามารถซึมผ่านเข้าน้ำนมมารดาและส่งผลต่อทารกได้
  • การหยุดยานี้ทันทีอาจก่อให้เกิดภาวการณ์ถอนยา/ลงแดง เช่น มีอาการวิตกกังวล คลื่นไส้อาเจียน   และมีอาการชัก
  • ระวังการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานด้วยสามารถทำให้เกิดการติดยาได้
  • ผู้ป่วยมิควรปรับขนาดการรับประทานยานี้เอง การรับประทานยาควรต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอเท่านั้น
  • ระวังการใช้ยานี้กับเด็ก (นิยามคำว่าเด็ก) ด้วยยากลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดภาวะตื่นเต้นหรือตื่นตระหนกอย่างผิด ปกติ
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้สูงอายุ ด้วยยานี้สามารถก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและมีอาการสับสนติดตามมา
  • ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

                 ***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มบาร์บิทูเรตด้วย) ยาแผนโบราณ    อาหารเสริม   ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

บาร์บิทูเรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาบาร์บิทูเรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การรับประทานยาบาร์บิทูเรต ร่วมกับ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงติดตามมา เช่น วิงเวียน และง่วงนอนอย่างมาก จึงห้ามรับประทานร่วมกัน
  • การรับประทานยาบาร์บิทูเรต ร่วมกับ ยาเม็ดคุมกำเนิด สามารถลดความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ของยาคุมกำเนิดดังกล่าว หากมีการใช้ยาร่วมกัน ควรต้องปรับขนาดรับประทานอย่างเหมาะสม และใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆร่วมด้วยเช่น การใช้ถุงยางอนามัยชาย
  • การใช้ยากลุ่มบาร์บิทูเรต ร่วมกับ ยาบางกลุ่ม สามารถเพิ่มฤทธิ์ในการกดประสาทส่วน กลางได้ เช่น  ยาแก้หวัด    ยาแก้แพ้    ยารักษาโรคหืด   ยากล่อมประสาท (ยาคลายเครียด)   ยาแก้ปวด   ยาคลายกล้ามเนื้อ    ยาต้านชัก   หากไม่ความจำเป็นใดๆควรเลี่ยงการใช้ยาบาร์บิทูเรตร่วมกับยากลุ่มดังกล่าว

ควรเก็บรักษาบาร์บิทูเรตอย่างไร?

 สามารถเก็บยาบาร์บิทูเรต เช่น

  • เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง
  • ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด และความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

บาร์บิทูเรตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาบาร์บิทูเรต มียาชื่อการค้า และ บริษัทผู้ผลิต  เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Ama (เอมา) Atlantic Lab
Amytal (อะไมทอล) Eli Lilly
Phenobarbitone GPO (ฟีโนบาร์บิโทน จีพีโอ) GPO
Phenobarbital Chew Brothers (ฟีโนบาร์บิทอล ชิว บาร์เทอร์) Chew Brothers
Phenobarbital Atlantic (ฟีโนบาร์บิทอล แอทแลนติค) Atlantic Lab
Neuramizone (นิวราไมโซน) Sriprasit Pharma
Elixir Phenobarb (อิลิคเซอร์ ฟีโนบาบ) Suphong Bhaesaj
Belladonna Alkaloids w/ Phenobarbital  
(เบลลาดอนนา อัลคาลอยด์ ดับเบิ้ลยู/ฟีโนบาร์บิทอล) Samakeephaesaj
Anesthal (แอเนสทอล) Jagsonpal
Thiopen (ทิโอเพน) Unique

 

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Barbiturate   [2022,Jan8]
  2. https://www.thegooddrugsguide.com/drug-types/types-of-barbiturates.htm   [2022,Jan8]
  3. https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/barbiturate-oral-route-parenteral-route-rectal-route/side-effects/drg-20069290   [2022,Jan8]
  4. https://www.indiastudychannel.com/resources/143909-The-classification-mechanism-action-uses.aspx  [2022,Jan8]
  5. https://science.jrank.org/pages/740/Barbiturates-Precautions.html  [2022,Jan8]
  6. https://www.drugs.com/pregnancy/butabarbital.html  [2022,Jan8]
  7. https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=phenobarbital  [2022,Jan8]
  8. https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=thiopental   [2022,Jan8]