ซีลีเนียมในอาหาร (Dietary selenium)

บทความที่เกี่ยวข้อง


ซีลีเนียมในอาหาร

บทนำ

แร่ธาตุรอง (Micro minerals or Trace elements) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน ถึงแม้ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ไม่สามารถขาดได้ เนื่องจากจำเป็นต่อการเจริญเติบโต แร่ธาตุรองได้แก่ เหล็ก ไอโอดีน ซีลีเนียม แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โมลิบดินัม โครเมียม ฟลูออไรด์ เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ซีลีเนียมที่ได้จากอาหาร(Dietary selenium)

ซีลีเนียมคืออะไร?

ซีลีเนียมส่วนใหญ่พบในโปรตีน (Protein) เป็นธาตุที่มีสมบัติเหมือนกำมะถัน ร่างกายต้องการซีลีเนียมน้อยมาก หากได้รับมากและนานเกินไปจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ซีลีเนียมมีผลต่อร่างกายอย่างไร?

ผลของซีลีเนียมต่อร่างกาย ได้แก่

1. เป็นองค์ประกอบของซีลีโนโปรตีน (Selenoprotein) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)

2. ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ซึ่งมีผลต่อการควบคุมสมดุลของระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย

3. ช่วยปกป้องและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ในร่างกาย

4. ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิด โรคมะเร็ง โรคหัวใจ

5. กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในร่างกายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

6. ช่วยลดอาการแพ้สารเคมีต่างๆ และมลพิษจากอากาศ

7. มีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์สเปิร์ม/อสุจิ (Sperm)

8. มีบทบาทในการบำรุงสุขภาพของเส้นผมและเล็บ

แหล่งอาหารที่พบซีลีเนียม

ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างซีลีเนียมขึ้นเองได้ เราจึงควรได้รับซีลีเนียมจากอาหารอย่างเหมาะสม อาหารที่พบซีลีเนียมมาก ได้แก่

1. อาหารทะเล เช่น หอย และทูน่า เป็นต้น

2. เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อแดง เนื้อเป็ด ไก่ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต เป็นต้น

3. พืชพบมากใน ซีเรียล ธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะเมล็ดทานตะวัน เห็ด ข้าวสาลี

ซีลีเนียมที่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์จะดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารได้ดีที่สุด และสามารถรวมตัวกับเอนไซม์ที่ต้องใช้ซีลีเนียม และ ซีลีโนโปรตีนชนิดต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ซีลีเนียมที่มาจากอาหารจะจับกับกรดอะมิโน (Amino acid) เช่น เมทิโอนีน (Methionine) และ ซิสเทอีน (Cysteine) ได้

ตารางที่ 1 ปริมาณธาตุซีลีเนียมที่เหมาะสำหรับแต่ละช่วงอายุและเพศ

หมายเหตุ

ค่าที่นำเสนอในตารางนี้สำหรับปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน (Recommended Dietary Allowance หรือ RDA) แสดงด้วยตัวเลขทึบ ปริมาณสารอาหารที่พอเพียงในแต่ละวัน ปริมาณสารอาหารพอเพียงใจแต่ละวัน(Adequate Intake หรือ AI) แสดงด้วยตัวเลขธรรมดาและมีเครื่องหมาย * กำกับอยู่ข้างบน ค่า RDA และ AI เป็นปริมาณที่แนะนำ สำหรับต่ละบุคคลทั้ง 2 ค่า ความแตกต่างอยู่ที่การได้ค่า RDA จะเป็นปริมาณที่ครอบคลุมความต้องการของบุคคลในกลุ่ม (ร้อยละ 97-98) สำหรับทารกซึ่งดื่มน้ำนมแม่และมีสุขภาพดีใช้ค่า AI ซึ่งหมายถึงค่าเฉลี่ยของปริมาณสารอาหารที่ได้รับจากน้ำนมแม่ สำหรับค่า AI ตามเพศและวัยอื่นๆ เชื่อว่าเป็นค่าที่เพียงพอสำหรับความต้องการของบุคคลในกลุ่มแต่ยังขาดข้อมูล หรือความไม่แน่นอนของข้อมูลที่จะนำไปกำหนดปริมาณที่บริโภคตามเปอร์เซ็นต์ความเชื่อมั่น

†แรกเกิดจนถึงก่อนอายุครบ 6 เดือน

‡อายุ 1 ปี จนถึงก่อนอายุครบ 4 ปี

สรุป

ซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุที่มีผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย ถึงแม้จะต้องการในปริมาณที่ไม่มาก แต่ไม่สามารถขาดได้ เนื่องจากซีลีเนียมเป็นสารตั้งต้นสำคัญในกระบวนทำงานของเซลล์ต่างๆในร่างกาย เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดธาตุซีลีเนียม ผู้บริโภคควรต้องรับประทานอาหารหลักห้าหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุซีลีเนียมอย่างเพียงพอ

บรรณานุกรม

  1. Roger A. Sunde. Chapter 14. Selenium. Modern Nutrition in Health and Disease, Eleventh edition: 225-237, 2014.
  2. อาหารหลัก 5 หมู่. https://krooaoodpat.files.wordpress.com [2018,Sept8]
  3. บทที่ 6 วิตามิน แร่ธาตุและน้ำ. www.facagri.cmru.ac.th/2013/wp-content/uploads/.../6วิตามิน-แร่ธาตุ-น้ำ.pdf [2018,Sept8]
  4. การเสริมวิตามิน – แร่ธาตุ และCRN ปิระมิด www.med.cmu.ac.th/dept/nutrition/DATA/COMMON/vitmin%20crn%20pyramid.pdf [2018,Sept8]
  5. ซีลีเนียม. https://www.pharmanordsea.co.th/products/bio-selenium [2018,Sept8]