กินของดิบ เสี่ยงถูกพยาธิกิน (ตอนที่ 8 และตอนจบ)

parasite-8

      

      สำหรับการรักษานั้น จะรักษาด้วยการให้ยาถ่ายพยาธิ 1-3 วัน ซึ่งได้แก่

  • ยา Albendazole
  • ยา Ivermectin

      ส่วนการป้องกันให้หลีกเลี่ยงการกินของดิบหรือดิบๆ สุกๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ

      พยาธิอะนิซาคิส (Anisakis)

      หรือพยาธิที่มากับปลาดิบ เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เช่น ปลาวาฬหรือสิงโตทะเล ได้ถ่ายลงในทะเลและปล่อยตัวอ่อนที่ติดเชื้อออกมา สัตว์น้ำ ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู (สัตว์ที่มีเปลือกหุ้มตัวลำตัวเป็นปล้องโดยมีระยางค์ยื่นออกมาเป็นคู่ = Crustaceans) จะกินตัวอ่อนนี้ แล้วปลาจะกิน กุ้ง กั้ง ปู อีกที

      จึงทำให้คนที่กินปลาดิบหรือดิบๆ สุกๆ ติดเชื้อไปด้วย โดยบางคนอาจรู้สึกได้ถึงความรู้สึกซ่า (Tingling sensation) ขณะกินหรือหลังกิน เนื่องจากพยาธิกำลังเคลื่อนย้ายเข้าไปในปากหรือคอ

      และบางคนอาจใช้มือดึง หรือใช้การไอ การอาเจียน เพื่อทำให้พยาธิออกจากปากและป้องกันการติดเชื้อ เพราะหากพยาธิเข้าสู่ร่างกายแล้ว พยาธิจะฝังตัวอยู่ที่บริเวณผนังหลอดอาหาร ท้อง หรือลำไส้

      อาการของการติดเชื้อพยาธิอะนิซาคิส ได้แก่

  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องอืด (Abdominal distention)
  • ท้องเสีย
  • ถ่ายเป็นมูกเลือด
  • เป็นไข้อ่อนๆ
  • เป็นผื่นแพ้ คัน

      ซึ่งการรักษาอาจต้องให้ยา Albendazole นาน 6-21 วัน และกรณีที่ทำให้ลำไส้อุดตัน ไส้ติ่งอักเสบ หรือ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) ต้องเอาพยาธิออกจากร่างกายด้วยการส่องกล้อง (Endoscopy) หรือผ่าตัด

      ส่วนการป้องกันที่ทำได้ ก็คือ ไม่กินปลาดิบ หรือปลาที่ไม่สุก

แหล่งข้อมูล:

  1. Gnathostomiasis.http://www.tm.mahidol.ac.th/pediatrics/sites/default/files/Gnathostomiasis.pdf [2018, May 27].
  2. Parasites - Anisakiasis.. https://www.cdc.gov/parasites/anisakiasis/faqs.html [2018, May 27].