Post Traumatic Stress Disorder (ตอนที่ 2)

PostTraumaticStressDisorder-2

      

      เมื่อตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึงอาการของโรค PTSD โดยทั่วไป และอาการของโรค PTSD ในส่วนกลุ่มอาการความทรงจำที่รบกวนจิตใจ ในตอนที่ 2 นี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงกลุ่มอาการหลักๆ ของโรค PTSD อีกสามกลุ่มคือ ภาวะหลีกเลี่ยง (Avoidance), ความคิดและทางอารมณ์เปลี่ยนแปลงในไปในทางลบ (Negative changes in thinking and mood) และมีการเปลี่ยนแปลงทางการตอบสนองของร่างกายและอารมณ์ (Changes in physical and emotional reactions)

      กลุ่มอาการภาวะหลีกเลี่ยง มักมีอาการดังนี้

      • พยายามหลีกเลี่ยงที่จะคิดหรือพูดถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น

      • หลีกเลี่ยงที่จะไปตามที่ต่างๆ ทำกิจกรรมต่างๆ หรือพบปะผู้คนที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

      กลุ่มอาการความคิดและทางอารมณ์เปลี่ยนแปลงในไปในทางลบ มักมีอาการดังนี้

      • มองตนเอง มองผู้อื่น และมองโลกในแง่ลบ

      • รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีอนาคต

      • มีปัญหาด้านความจำ รวมถึงจำช่วงสำคัญๆในเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ประสบไม่ได้

      • ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่นได้

      • รู้สึกแปลกแยกจากครอบครัวและเพื่อนฝูง

      • ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบทำ

      • มีความรู้สึกเชิงบวกลดน้อยลง

      • ไม่ค่อยมีความรู้สึกใดๆ

      กลุ่มอาการที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการตอบสนองของร่างกายและอารมณ์ มักมีอาการดังนี้

      • ตื่นตกใจและหวาดผวาง่าย

      • ระแวดระวังภัยตลอดเวลา

      • มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์จัด และขับรถเร็ว

      • นอนไม่หลับ

      • ไม่มีสมาธิ

      • รู้สึกรำคาญ ระเบิดอารมณ์เมื่อโกรธ และมีพฤติกรรมก้าวร้าว

      • รู้สึกผิดหรืออับอายเกินกว่าเหตุ

      สำหรับเด็ก อาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย คือ จำลองเหตุการณ์สะเทือนขวัญผ่านการเล่น และฝันร้ายที่อาจไม่ได้เกี่ยวกับ

      เหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ประสบ รวมถึง ปัสสาวะรดที่นอน และวิตกกังวลเมื่อต้องแยกจากผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด

      ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็น PTSD หลังประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญ คือผู้ที่มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลอยู่แล้ว หรือผู้ที่ได้รับการดูแลจากครอบครัวไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนั้น ยังเกิดได้จากพันธุกรรมอีกด้วย

      ความรุนแรงของอาการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับระยะเวลา เมื่อเกิดความเครียด และเมื่อเกิดสิ่งกระตุ้นให้ระลึกถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น ควรพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้เกินหนึ่งเดือน หรือรู้สึกว่าอาการเหล่านี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Post-traumatic stress disorder (PTSD)https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/post-traumatic-stress-disorder/symptoms-causes/syc-20355967[2019, April 6].
  2. Post-traumatic stress disorder (PTSD) https://www.nhs.uk/conditions/post-traumatic-stress-disorder-ptsd/causes/ [2019, April 6].