EF (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

EF-2

      

      บางคนเกิดมาพร้อมความด้อยของ EF ซึ่งได้แก่ คนที่เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder = ADHD) คนที่ซึมเศร้าหดหู่ (Depression) หรือ บกพร่องในการเรียนรู้ (Learning disabilities) นอกจากนี้คนที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองด้านหน้า หรือสมองด้านหน้าถูกทำลายจากโรคอัลไซเมอร์ หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Strokes) ก็มีผลกระทบต่อ EF

      ผู้ใหญ่สามารถเอื้อต่อการพัฒนา EF ของเด็กได้ด้วยการเป็นพฤติการรมต้นแบบ ให้การส่งเสริมและสนับสนุนความสัมพันธ์ สอนให้เด็กรู้ถึงการจัดการกับความเครียด การออกกำลังกาย และให้โอกาสเด็กในการพึ่งตนเองด้วยการลดการควบคุมของผู้ใหญ่

      ต่อไปนี้ เป็น16 วิธี ที่จะช่วยในการพัฒนา EF ของเด็ก

1. ทำให้เด็กรู้สึกผูกพันไว้วางใจในพ่อแม่หรือคุณครู

2. จัดสรรสภาพแวดล้อมให้สะอาด สงบ ปลอดภัย มีหนังสือ ของเล่น เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้

3. มีโอกาสเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ

4. กินอิ่ม นอนหลับให้เพียงพอ

5. ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

6. ฝึกให้รู้จักการอดทน รอคอย

7. ส่งเสริมให้เด็กทำงานจนเสร็จ

8. ฝึกให้เด็กๆ รู้จักรับผิดชอบในบ้านเล็กๆ น้อยๆ

9. สอนให้รู้จักคิดก่อนตอบ คิดก่อนทำ

10. สอนให้รู้จักจัดการอารมณ์ตัวเอง

11. สอนให้เด็กๆ พึ่งพาตัวเองตามวัย

12. สอนให้เด็กๆ รู้จักจัดการความเครียด

13. หมั่นเล่านิทานให้ฟัง โดยเลือกเรื่องราวที่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ได้แยกเป็นตอนสั้นๆ

14. พาเด็กไปเรียนรู้นอกสถานที่ เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจากเดิมจะกระตุ้นให้เด็กต้องคิดด้วยสมองส่วนหน้ามากขึ้น

15. เลือกของเล่นหรือเกมส์ที่ต้องใช้สมาธิและความจำ เช่น เลโก้ หมากฮอส เป็นต้น

16. สนับสนุนกิจกรรมเสริมทักษะ เช่น ดนตรี กีฬา งานศิลปะ ก็นับเป็นกิจกรรมที่ฝึกเชิงบริหารที่ดี ต้องใช้สมาธิ ทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. 16 วิธี พัฒนา Executive Function (EF). http://www.thaihealth.or.th/Content/39078- 16 วิธี พัฒนา Executive Function (EF).html [2018, November 3].
  2. What Is Executive Function? https://www.webmd.com/add-adhd/guide/executive-function#1 [2018, November 3].
  3. Executive Function & Self-Regulation. https://developingchild.harvard.edu/science/key-concepts/executive-function/ [2018, November 3].