คอร์ติซอล ฮอร์โมนแห่งความเครียด (ตอนที่ 3)

Cortisol-3

      

      และผลของการที่ระดับคอร์ติซอลต่ำจะก่อให้เกิด

  • อาการเหนื่อยประจำ
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • น้ำหนักลด
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดท้อง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • เบื่ออาหาร
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตจากโรคของต่อมหมวกไต (Primary adrenal insufficiency = PAI) หรือ โรคแอดดิสัน (Addison disease) ซึ่งจะทำให้มีอาการอ่อนล้า สูญเสียกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด อารมณ์เปลี่ยนแปลง และผิวหนังเปลี่ยนแปลง

      ทั้งนี้ การทดสอบระดับคอร์ติซอลสามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือด

      และหากเป็นกรณีที่ร่างกายผลิตคอร์ติซอลไม่เพียงพอ แพทย์อาจสั่งยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ซึ่งเป็นยาที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น โดยทำหน้าที่เหมือนกับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกาย โดยยากลุ่มนี้จะช่วยรักษาอาการของร่างกาย เช่น

  • ลดอาการอักเสบ (เช่น โรคหืด )
  • โรคแอดดิสัน (Addison’s disease)
  • โรคผิวหนัง เช่น สะเก็ดเงิน

      อย่างไรก็ดี คอร์ติโคสเตียรอยด์ ทำให้มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ดังนี้

  • ผิวบาง
  • กระดูกพรุน
  • น้ำหนักเพิ่ม โดยเฉพาะบริเวณหน้า
  • เป็นเบาหวาน
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
  • ความดันโลหิตสูง

      สำหรับภาวะเครียดเป็นวิธีการที่ร่างกายตอบสนองเพื่อปกป้องตัวเอง ทั้งนี้เมื่อเรารู้สึกถูกคาดหวังไว้สูงหรือถูกคุกคาม ระบบประสาทจะหลั่งฮอร์โมนเครียด ซึ่งได้แก่ อะดรีนาลีนและคอร์ติซอล เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

แหล่งข้อมูล:

  1. The role of cortisol in the body.https://www.healthdirect.gov.au/the-role-of-cortisol-in-the-body [2018, April 25].
  2. What Is Cortisol?. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-cortisol#1 [2018, April 25].
  3. What is Cortisol?https://www.hormone.org/hormones-and-health/hormones/cortisol [2018, April 25].
  4. Cortisol Level Test. https://www.healthline.com/health/cortisol-urine#uses [2018, April 25].
  5. Stress Symptoms, Signs, and Causes. https://www.helpguide.org/articles/stress/stress-symptoms-signs-and-causes.htm [2018, April 25].