คอร์ติซอล ฮอร์โมนแห่งความเครียด (ตอนที่ 1)

Cortisol-1

      

      พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ได้อธิบายว่า เมื่อร่างกายเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด เช่น ช่วงสอบ อกหัก ตกงาน จะเกิดการหลั่งของฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คอร์ติซอล (Cortisol)

      เมื่อสภาวะที่ตึงเครียดบีบคั้นหายไป ระดับของฮอร์โมนเครียดก็จะลดลง แต่หากมีภาวะเครียดเรื้อรัง เช่น สอบไม่จบไม่สิ้น อกหักแล้วยังทำใจไม่ได้เสียที ก็จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเครียดสูงเรื้อรัง ซึ่งส่งผลเสียกับร่างกายเราหลายด้าน โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวมี ดังนี้

      เพราะร่างกายเข้าใจว่าในภาวะเครียด เราต้องการพลังงานจำนวนมาก เพื่อประทังชีวิต ฮอร์โมนเครียดจึงสั่งการให้เราหิวง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรืออาหารน้ำตาลสูง อาหารแคลอรี่สูง ขนมอย่างไอศครีม เค้ก และช็อคโกแล็ต จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่เราอยากหามารับประทานในยามเครียด

      นอกจากสั่งการไปยังสมองแล้ว ฮอร์โมนเครียดยังสั่งการตรงไปถึงเซลล์ไขมัน โดยเพิ่มการเคลื่อนตัวของไขมันไตรกลีเซอไรด์ ให้ไปสะสมในเซลล์ไขมันมากขึ้น เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ไขมัน และสั่งการให้เซลล์ไขมันมาสะสมบริเวณพุงมากขึ้น ภาวะเครียดเรื้อรังจึงส่งผลให้เราอ้วนลงพุงง่ายกว่าปกติ

      สำหรับวิธีการแก้ไขระดับฮอร์โมนเครียดสูงเรื้อรัง ขั้นแรกที่ตรงไปตรงมาที่สุด คือ หาสาเหตุของความเครียดแล้วแก้ไขให้ตรงจุด หากยังแก้ที่สาเหตุไม่ได้ ควรหากิจกรรมที่คลายเครียดทำ โดยกิจกรรมที่มีงานวิจัยสนับสนุนว่าช่วยลดระดับฮอร์โมนเครียดได้ดีคือ ทำสมาธิ นอน และออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังในแบบแอโรบิก เช่น วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก

      ส่วนอาการอยากอาหาร โดยเฉพาะน้ำตาลหรือของหวานๆ ที่จู่โจมขึ้นมายามเครียดนั้น แก้ไขได้โดย รับประทานเป็นผลไม้แทนขนมหวาน เน้นไปที่ผลไม้รสหวานน้ำชุ่มฉ่ำ เช่น ส้ม สับปะรด แตงโม จะช่วยบรรเทาอาการโหยของหวานได้

      พญ. ธิดากานต์ กล่าวในตอนท้ายว่า การต่อสู้กับความอ้วนนั้นเป็นการลงทุนหนัก ต้องใช้อาวุธหลายรูปแบบ ทั้งการปรับอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการดูแลสภาพจิตใจไม่ให้เครียด ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่หากลดน้ำหนักได้สำเร็จแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ทั้งสุขภาพ รูปลักษณ์ ความมั่นใจในตัวเอง และบุคลิกภาพที่ดีขึ้นนั้น คุ้มค่ากับความพยายามที่ทำไปอย่างแน่นอน

      คอร์ติซอล (Cortisol) เป็นสเตอรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormones) ที่สร้างขึ้นที่ต่อมหมวกไต (Adrenal glands) การหลั่งฮอร์โมนนี้จะถูกควบคุมโดยไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) และต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ซึ่งรวมกันเรียกว่า แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (Hypothalamic-pituitary-adrenal axis = HPA axis)

      เนื่องจากเซลล์ส่วนใหญ่ในร่างกายจะมีตัวรับคอร์ติซอล (Cortisol receptors) ดังนั้น คอร์ติซอลจึงมีผลกระทบต่อการทำงานหลายระบบในร่างกาย อย่างการสลายตัวของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการไหลเวียน ระบบกระดูก ตัวอย่างเช่น

แหล่งข้อมูล:

  1. ฮอร์โมนเครียด ทำให้อ้วนได้. http://www.thaihealth.or.th/Content/41382- ฮอร์โมนเครียด ทำให้อ้วนได้.html [2018, April 23].
  2. What is Cortisol?https://www.hormone.org/hormones-and-health/hormones/cortisol [2018, April 23].
  3. Cortisol Level Test. https://www.healthline.com/health/cortisol-urine#uses [2018, April 23].