ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่ (ตอนที่ 9 และตอนจบ)

ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่-9

นอกจากนี้ โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ยังมีสภาวะที่ปรากฏร่วม (Coexisting conditions) ซึ่งได้แก่

  • โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders) เช่น ซึมเศร้าหดหู่ โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) หรืออื่นๆ
  • โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล กระวนกระวายใจมากเกินไป
  • โรคทางจิตเวช (Psychiatric disorders) อื่นๆ เช่น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality disorders) โรคระเบิดอารมณ์ชั่วคราว (Intermittent explosive disorder) และ การใช้สารเสพติดให้โทษ (Substance abuse)
  • ความบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning disabilities) ทำให้มีปัญหาในเรื่องความเข้าใจและการสื่อสาร

ส่วนอาการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกับโรคสมาธิสั้น ได้แก่

  • อาการผิดปกติทางจิต (Mental health disorders) เช่น อารมณ์ผิดปกติ หดหู่ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ความประพฤติผิดปกติคล้ายอันธพาล (Conduct disorders) ความบกพร่องในการเรียนรู้และภาษา (Learning and language deficits) หรือโรคทางจิตเวช (Psychiatric disorders) อื่นๆ
  • การใช้ยาที่มีผลกระทบต่อความคิดหรือพฤติกรรม เช่น ความผิดปกติในด้านพัฒนาการ (Developmental disorder) อาการชัก (Seizure disorder) ปัญหาไทรอยด์ (Thyroid problems) ความผิดปกติด้านการนอน (Sleep disorders) การได้รับสารพิษตะกั่ว (Lead poisoning) การได้รับบาดเจ็บที่สมอง (Brain injury) หรือ การมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
  • การติดเหล้าและเสพสารเสพติด

สำหรับการวินิจฉัยโรคของผู้ใหญ่นั้นเหมือนกับการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นในเด็ก ส่วนการรักษาในผู้ใหญ่จะใช้จิตบำบัด (Psychotherapy) เช่น ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive behavioral therapy) การรักษาชีวิตสมรสและครอบครัวบำบัด (Marital counseling and family therapy) เพื่อช่วยในการ

  • พัฒนาการจัดการเรื่องเวลาและทักษะการจัดการ
  • เรียนรู้ที่จะลดพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น
  • พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหา
  • จัดการกับความล้มเหลวที่ผ่านมาทั้งด้านการเรียน การงาน และสังคม
  • พัฒนาความพึงพอตัวเอง (Self-esteem)
  • เรียนรู้วิธีที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนฝูง
  • พัฒนากลยุทธ์ในการควบคุมอารมณ์

สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจช่วยได้ด้วยการ

  • เขียนรายการกิจกรรมงานที่ต้องทำในแต่ละวัน เรียงลำดับตามความสำคัญ แต่ต้องไม่มีปริมาณที่มากเกิน
  • แบ่งงานออกเป็นชิ้นย่อย ค่อยๆ ทำทีละขั้นตอน อาจจดเป็นรายการที่ต้องทำ (Checklists)
  • ใช้กระดาษโน้ต (Sticky pads) ติดตามที่ต่างๆ เช่น หน้าตู้เย็น หน้ากระจก ในรถ หรือที่ที่มองเห็นและเตือนได้
  • จดลงสมุดนัดเพื่อช่วยจำ
  • หาเวลาในการจัดระบบการเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ
  • ทำให้เป็นนิสัย เช่น วางกุญแจ กระเป๋าเงิน ในที่เดิมเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงที่ที่มีเสียงดังซึ่งทำให้เสียสมาธิ
  • ขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว
  • ออกกำลังกาย

แหล่งข้อมูล:

  1. Adult attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adult-adhd/home/ovc-20198864/262809.php [2017, August 13].
  2. Attention Deficit Hyperactivity Disorder in Adults. http://www.webmd.com/add-adhd/guide/adhd-adults#1 [2017, August 13].
7