ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่ (ตอนที่ 8)

ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่-8

ผู้ใหญ่บางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางคนก็ยังคงมีอาการหลักๆ ที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ บางคนไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้ เพียงแต่รู้สึกว่างานเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทั้งนี้ อาการของโรคสมาธิสั้นที่เกิดในผู้ใหญ่ ได้แก่

  • หุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)
  • ไม่เป็นระเบียบและมีปัญหาเรื่องการจัดความสำคัญก่อนหลัง
  • มีปัญหาเรื่องการจัดเวลา
  • มีปัญหาในการจดจ่อกับงาน
  • ทำงานผิด
  • มีกิจกรรมที่มากเกินหรืออยู่ไม่สุก
  • ไม่มีการวางแผนที่ดี
  • มีความอดทนต่อความคับข้องใจได้น้อย
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
  • มีปัญหาในการตามงานและการทำงานให้สำเร็จ
  • อารมณ์ร้อน
  • มีปัญหาในการจัดการกับความเครียด
  • เบื่อเรื้อรัง (Chronic boredom)
  • ขี้ลืมบ่อย
  • ผลัดวันประกันพรุ่ง (Procrastination)
  • แรงจูงใจต่ำ (Low motivation)
  • มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น (Relationship problems)

เกือบทุกคนจะมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้นในบางช่วงของชีวิต ดังนั้น การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้อาจทำได้ยากเพราะว่ามีอาการคล้ายกับภาวะอื่นๆ เช่น วิตกกังวล (Anxiety) หรือ อารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) โดยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีภาวะทางจิตใจอื่นร่วมด้วยอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น หดหู่ซึมเศร้า หรือ วิตกกังวล

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่นั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับของเด็ก แต่อาการแทรกซ้อนอาจทำให้เกิดปัญหาในชีวิตได้ดังนี้

  • มีผลการเรียนหรือผลงานที่แย่
  • ตกงาน
  • มีปัญหาทางด้านกฏหมาย
  • ติดเหล้าหรือติดสารเสพติด
  • เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์หรืออุบัติเหตุอื่นบ่อยๆ
  • ความสัมพันธ์ไม่คงเส้นคงวา
  • สุขภาพกายและสุขภาพจิตแย่
  • มีภาพลักษณ์ที่แย่ (Poor self-image)
  • มีปัญหาเรื่องการหย่าร้าง
  • มีความพยายามที่จะฆ่าตัวตาย

แหล่งข้อมูล:

  1. Adult attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adult-adhd/home/ovc-20198864/262809.php [2017, August 12].
  2. Attention Deficit Hyperactivity Disorder in Adults. http://www.webmd.com/add-adhd/guide/adhd-adults#1 [2017, August 12].
7