ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่ (ตอนที่ 6)

ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่-6

ทั้งนี้ ปริมาณยา (Dose) ที่ให้ในเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการปรับยาพอสมควรเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ในการใช้ยากลุ่ม Psychostimulants เช่น ปัญหาโรคหัวใจ ประสาทหลอน (Hallucinations) เป็นต้น

ส่วนยาอื่นที่อาจใช้ได้ผล เช่น

  • ยา Atomoxetine
  • ยา Antidepressants เช่น ยา bupropion
  • ยา Guanfacine
  • ยา Clonidine

โดยยา Atomoxetine และยา Antidepressants เป็นยาที่ไม่กระตุ้น ใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งช้ากว่ายาในกลุ่ม Psychostimulants และมีการสันนิษฐาน (แต่ยังพิสูจน์ไม่ได้) ว่า อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายในเด็กก็ได้ อย่างไรก็ดี ยังมีข้อดีกว่าในเรื่องที่ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงเหมือนการใช้ยาในกลุ่ม Psychostimulants

ส่วนการบำบัดโรคสมาธิสั้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ADHD behavior therapy) เช่น

  • พฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy)
  • จิตบำบัด (Psychotherapy)
  • การฝึกอบรมทักษะของผู้ปกครอง (Parenting skills training)
  • ครอบครัวบำบัด (Family therapy)
  • การฝึกทักษะสังคม (Social skills training)

ทั้งนี้ต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง (Ongoing treatment) โดยพบแพทย์เป็นประจำ และต้องคอยสังเกตถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หงุดหงิดมากขึ้น หรืออาการไม่ดีขึ้น เพื่อการปรับแผนการรักษาต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีการแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine treatments) บางชนิด ที่อาจช่วยลดอาการลงได้ เช่น

  • การเล่นโยคะหรือการทำสมาธิ – เพื่อการผ่อนคลายและเรียนรู้ที่จะมีวินัย
  • อาหารเฉพาะบางอย่าง – ลดอาหารที่จะทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น น้ำตาล อาหารปรุงแต่ง กาแฟ เป็นต้น
  • การออกกำลังกาย

เพราะโรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติที่สลับซับซ้อนและอาการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถให้คำแนะนำสำหรับเด็กทุกคนได้เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีบางอยางที่สามารถแนะนำได้ดังนี้

แหล่งข้อมูล:

  1. Attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD) in children. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adhd/home/ovc-20196177 [2017, August 10].
  2. ADHD: Hyperactive-Impulsive Type. http://www.webmd.com/add-adhd/guide/adhd-hyperactive-impulsive-type#1 [2017, August 10].
7