ไทฟอยด์ (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ไทฟอยด์-4

      

      อย่างไรก็ดี แม้จะมีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แต่เชื้อแบคทีเรียก็อาจคงอยู่ในลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะได้อีกนานหลายปี โดยผู้ป่วยเหล่านี้จะกลายเป็นตัวพาหะเรื้อรัง (Chronic carriers) โดยไม่แสดงอาการแต่อย่างใด

      สำหรับการป้องกันทำได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  • วัคซีนที่ฉีดครั้งเดียวก่อนการเดินทางอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และมีอายุป้องกันได้ 3 ปี ทั้งนี้ ไม่นิยมฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี หรือในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดตัวเป็น (Live Attenuated Vaccine)
  • วัคซีนชนิดรับประทาน: โดยวัคซีนบรรจุในแคปซูล 4 แคปซูล โดยกินวันละแคปซูล วันเว้นวัน ในเวลาเดียวกัน โดยวางแผนให้กินหมดก่อนการเดินทางอย่างน้อย 1 สัปดาห์

      ทั้งนี้ มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้วัคซีนดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังกินยาแคปซูล
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ภายใน 2 ชั่วโมงหลังกินยาแคปซูล เพราะแอลกอฮอล์สามารถทำลายยาให้ไม่มีประสิทธิผลได้
  • ไม่ควรใช้ยาโปรกัวนิล (Proguanil) ที่ใช้เป็นยาต้านมาลาเรียอย่างน้อย 10 วัน หลังจากที่ใช้วัคซีนไทฟอยด์ เพราะยาโปรกัวนิลอาจทำให้วัคซีนมีประสิทธิผลน้อยลง
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ เช่น ผู้ที่อยู่ระหว่างการให้คีโม ผู้ที่กินยากดภูมิกรณีที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ไม่ควรให้วัคซีนระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร นอกจากได้ปรึกษาแพทย์แล้ว
  • ควรเก็บยาไว้ในตู้เย็น

      เนื่องจาก การใช้วัคซีนก็อาจป้องกันไม่ได้ทั้งหมดและประสิทธิภาพของยาก็จะลดลงตามระยะเวลา ดังนั้น จึงควรระวังป้องกันตัวด้วยการ

  • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ก่อนการกินหรือเตรียมอาหารและหลังการเข้าห้องน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการกินผักผลไม้ดิบ
  • กินอาหารร้อน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Typhoid fever. https://www.nhs.uk/conditions/typhoid-fever/ [2018, February 16].
  2. Typhoid fever. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/typhoid-fever/symptoms-causes/syc-20378661 [2018, February 17].
  3. What Is Typhoid Vaccine, Live? https://www.everydayhealth.com/drugs/typhoid-vaccine-live [2018, February 17].