ไตวาย ตายไว (ตอนที่ 2)

ไตวาย ตายไว

พญ.ธนันดา กล่าวว่า โรคไตพบได้ทุกช่วงอายุ หากเกิดขึ้นกับเด็กสาเหตุส่วนใหญ่มาจากกรรมพันธุ์ หรือระบบทางเดินปัสสาวะผิดรูป เกิดการติดเชื้อบ่อยๆ ส่วนในวัยเจริญพันธุ์หรือวัยหนุ่มสาวเป็นกลุ่มแพ้ภูมิตัวเอง แต่ถ้าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุส่วนมากจะมาจากโรคเบาหวาน การรับประทานยา ความดัน และการรับประทานอาหารรสเค็มจัดสะสมมาเรื่อย ๆ

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease = CKD) หรือที่เรียกกันว่า โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney failure) เป็นโรคที่ไตค่อยๆ ทำงานได้น้อยลงๆ เพราะไตมีหน้าที่กรองและนำของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ หากไตไม่สามารถทำงานได้ถึงจุดหนึ่ง ระดับของเหลวที่เรียกว่า อิเลกโตรไลท์ (Electrolytes) และของเสียในร่างกาย จะก่อให้เกิดอันตรายได้

โดยในระยะแรกของโรคนี้อาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อย และอาจไม่ปรากฏอาการจนกระทั่งไตเสียไปมากแล้ว สัญญาณความผิดปกติของไตที่เป็น ก็คือ การมีโปรตีนในปัสสาวะสูงและไตมีการทำงานได้น้อยลงนานเป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป

อาการของโรคไตวายเรื้อรังจะค่อยๆ เป็น เมื่อไตค่อยๆ ถูกทำลาย อาการดังกล่าวได้แก่

  • คลื่นไส้ (Nausea)
  • อาเจียน (Vomiting)
  • เบื่ออาหาร
  • เหนื่อยและอ่อนเพลีย
  • มีปัญหาเรื่องการนอน
  • ปัสสาวะเปลี่ยนไป
  • ความคิดความอ่านน้อยลง
  • กล้ามเนื้อกระตุกและเป็นตะคริว
  • สะอึก (Hiccups)
  • เท้าและข้อเท้าบวม
  • ผิวหนังแห้งและคันบ่อย
  • เจ็บหน้าอก (ถ้ามีปัญหาของเหลวบริเวณหัวใจ)
  • หายใจลำบาก (ถ้ามีปัญหาของเหลวบริเวณปอด)
  • ความดันโลหิตสูง(Hypertension)
  • ตาบวม (Puffy eyes) โดยเฉพาะตอนเช้า
  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน

เพราะอาการเหล่านี้ก็คล้ายๆ กับการป่วยของโรคอื่น และเพราะว่าไตมีความสามารถในการปรับตัวได้สูง ดังนั้นอาการอาจไม่ปรากฏจนกว่าไตถูกทำลายจนถึงขั้นที่ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้

แหล่งข้อมูล

    ‘โรคไต’ ป้องกันได้แต่เนิ่นๆ http://www.dailynews.co.th/article/331055 [2015, July 17]. How Your Kidneys Work. https://www.kidney.org/kidneydisease/howkidneyswrk [2015, July 17]. About Chronic Kidney Disease. https://www.kidney.org/prevention [2015, July 17].