ไดคลาซีแพม (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

ไดคลาซีแพม-2

      

      ไดคลาซีแพม (Diclazepam / Chlorodiazepam) เป็นยาคลายเครียดในกลุ่มเบนโซไดอาซีปีน (Benzodiazepine) ที่ออกฤทธิ์คล้ายยาไดอาซีแพม (Diazepam) แต่มีผลแรงมากกว่ายาไดอาซีแพมถึง 10เท่า เป็นยาที่เกิดจากการสังเคราะห์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503

      ส่วนใหญ่เรามักพบไดคลาซีแพมในรูปของของเหลว อย่างไรก็ดี ยังมีการซื้อขายยาในรูปของผงแป้ง (Powder) ยาเม็ด (Tablet) กระดาษซับ (Blotter paper) หรือ ยาเม็ดเล็กๆ (Pellet) ผู้ใช้ยานี้แม้ในปริมาณที่น้อยก็สามารถติดได้ และร่างกายสามารถทนต่อยาได้ภายใน 2 สัปดาห์ นั่นหมายถึง ผู้ใช้ยาต้องใช้ยาในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้ได้ผลเท่าเดิม

      การออกฤทธิ์ของยา

      - ผลทางร่างกาย (Physical effects)

o กล้ามเนื้อคลายตัว (Muscle relaxation)

o กล่อมประสาท

o ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ได้

o กดการหายใจ (Respiratory depression)

o มึนเวียนศีรษะ (Dizziness)

      - ฤทธิ์ที่ขัดแย้งกัน (Paradoxical effects)

o ชักมากขึ้น

o ก้าวร้าว

o พฤติกรรมรุนแรง

o วิตกกังวลสูง

o หงุดหงิด

o ขาดการควบคุมอารมณ์ของตนเอง (Impulse control)

      - ผลต่อการรับรู้ (Cognitive effects)

o ความจำเสื่อม (Amnesia)

o หุนหันพลันแล่น (Disinhibition)

o หยุดความวิตกกังวล (Anxiety suppression)

o ความคิดอ่านช้าลง (Thought deceleration)

o อยากยา (Compulsive redosing)

o กดอารมณ์ (Emotion suppression)

      ไดคลาซีแพมสามารถออกฤทธิ์ได้นาน 7-14 วัน หลังการใช้ ในขณะที่ผู้ใช้ยานี้เป็นประจำยาอาจออกฤทธิ์ในเวลาเพียง 3-4 วัน เท่านั้น ซึ่งหากหยุดยา อาจมีอาการถอนยา (Withdrawal symptoms / rebound symptoms) อีกนานหลายสัปดาห์ ดังนั้นจึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และห้ามหยุดยานี้โดยทันทีทันใดเพราะอาจทำให้ชักหรือเสียชีวิตได้ จึงควรลดการใช้ยาลงทีละน้อยๆ

      ข้อควรระวัง ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านซึมเศร้า แอลกอฮอล์ หรือโอปิออยด์ (Opioids) เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Diclazepam. https://psychonautwiki.org/wiki/Diclazepam [2019, May 26].
  2. Guide to Diclazepam: Dosage, Half-Life, and Abuse Potential.