ใช้โทรศัพท์ผิดวิธี มีสิทธิ์สูญเสียการได้ยิน (ตอนที่ 3 และตอนสุดท้าย)

รศ. นพ. ภาคภูมิ สุปิยพันธุ์ ประธานราชวิทยาลัยโสต สอ นาสิกแห่งประเทศไทย กล่าวเตือนผู้ใช้โทรศัพท์ผิดวิธี เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน โดยแนะนำว่า ไม่ควรโทรเกิน ครั้งละ 30 นาที พร้อมปรับความดังอย่างเหมาะสม มิฉะนั้น เสียงดังจากการใช้โทรศัพท์ มีแนวโน้มที่จะทำให้สูญเสียการได้ยิน เพราะไปทำลายระบบเซลล์ประสาทหูชั้นในจนเกิดความเสื่อมลง

รศ. นพ. ภาคภูมิ เคยออกมาเปิดเผยว่า "ในทางการแพทย์ โรคก้านหูอักเสบไม่เคยมีปรากฏ" พร้อมทั้งอธิบายว่า โครงสร้างและการทำงานของหู แบ่งออกเป็น 3 ชั้น อันได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน โดยหูชั้นนอกทำหน้าที่รับเสียงเข้าไปในหู ส่วนหูชั้นกลางจะนำเสียงเข้าไปยังหูชั้นใน ซึ่งเป็นเซลล์ประสาท สำหรับกลไกในการรับเสียงนั้น จะอาศัยกระดูกหู 3 ชิ้นในหูชั้นกลาง (อันได้แก่ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน) เพื่อมิให้สูญเสียพลังงานเสียงที่ได้ยิน

เครื่องช่วยการได้ยิน (Hearing aid) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำให้ผู้สูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) สามารถ รับเสียงในบางช่วง (Amplitude) ได้ การพัฒนาทางเทคโนโลยีนี้ได้นำไปสู่คุณประโยชน์ของการปรับปรุงความรู้สึก/สัมผัส (Sense) ของการได้ยินให้ดีขึ้น แต่การใช้เครื่องช่วย การได้ยินยังอยู่ในระดับต่ำมาก

ในทางจิตวิทยา ครั้งแรกที่ผู้มีปัญหาเรื่องการได้ยิน เริ่มตระหนักว่า จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากนักโสตสัมผัสวิทยา (Audiologist) ก็มักจะสายเกินไปแล้ว ในเบื้องต้น เขามักจะไม่ต้องการเชื่อว่า หูของเขากำลังจะหนวก ดังนั้น จึงมีผลกระทบในเชิงลบต่อการใช้เครื่องช่วยการได้ยิน การคุ้นเคยกับเครื่องช่วยการได้ยินและปรึกษานักวิชาชีพทางด้านโสตวิทยา จะเป็นกำลังใจให้เขามีความรู้สึกที่ดีขึ้นต่อการใช้เครื่องช่วยการได้ยิน

จุดเริ่มต้นที่การได้ยินทำให้เกิดความรู้สึก/สัมผัส (Threshold) และความสามารถในการค้นหาตำแหน่ง (Localize) ของแหล่งเสียง จะลดลงเมื่ออยู่ใต้น้ำ (Underwater hearing) ซึ่งเป็นสภาพที่เสียงจะเดินทางเร็วกว่าเมื่อเดินทางในอากาศ โดยกระดูกของกระโหลกศีรษะเป็นสื่อนำเสียง (Bone conduction) ไปยังหูชั้นใน [ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้สร้างเครื่องช่วยการได้ยิน] ส่วนตำแหน่งของแหล่งเสียง ดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของช่วงเสียง (Amplitude) ที่ผ่านกระดูก

สัตว์ทุกประเภทมิได้มีการได้ยินทุกๆ เสียงเหมือนกันหมด แต่ละประเภท มีช่วงการยินตามปรกติสำหรับความดัง ค่อย (Loudness) ซึ่งวัดเป็นช่วง (Amplitude) และระดับสูงต่ำ (Pitch) ซึ่งวัดเป็นความถี่ (Frequency) สัตว์หลายประเภท [รวมทั้งมนุษย์ด้วย] ใช้เสียงในการสื่อสารทั้งในการขานเรียก (Call) และในคำพูด (Speech) ดังนั้นการได้ยินจึงมีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตอยู่ ทั้งในแง่ความอยู่รอด (Survival) และในการสืบพันธุ์ (Reproduction)

ความถี่ที่ทำให้มนุษย์ได้ยินเรียกว่า “Audio” หรือ “Sonic” ซึ่งช่วงของเสียง จะอยู่ระหว่าง 20 Hz และ 20,000 Hz [Hz = Hertz คือ มาตรความถี่ของคลื่น] ความถี่ที่สูงกว่านี้เรียกว่า “Ultrasonic” ซึ่งจะได้ยินโดยค้างคาวและสุนัข เป็นต้น ส่วนความถี่ที่ต่ำกว่านี้เรียกว่า “Infrasonic” ซึ่งจะได้ยินโดยงู (ผ่านหน้าท้อง) ปลาวาฬ ยีราฟ ปลาโลมา และช้าง เป็นต้น สัตว์บางประเภทมีความรู้สึก/สัมผัสการได้ยินมากกว่ามนุษย์ จึงสามารถได้ยินเสียงที่อาจจะแผ่วเบาเกินกว่าที่มนุษย์จะได้ยิน

เยื่อที่ชื่อ Basilar membrane ของหูชั้นใน ทำหน้าที่กระจายความถี่ที่ต่างกัน โดยที่ความถี่สูงจะสร้างแรงสั่นสะเทือน (Vibration) มาก ณ ปลาย [ประสาท] ที่ใกล้กับหูชั้นกลาง และความถี่ต่ำจะสร้างแรงสั่นสะเทือนมาก ณ ปลาย [ประสาท] ที่ไกลจากหูชั้นกลาง ดังนั้นหูจึงทำหน้าที่วิเคราะห์ความถี่ดังกล่าว เช่นเดียวกับชีพจรประสาท (Nerve pulse)

แหล่งข้อมูล:

  1. เตือนใช้โทรศัพท์ผิดวิธี ระวังสูญเสียการได้ยิน: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000048676 [2012, April 25].
  2. Hearing (sense). http://en.wikipedia.org/wiki/Hearing_%28sense%29 [2012, April 25].
  3. Bone collection. http://en.wikipedia.org/wiki/Bone_conduction [2012, April 25].
  4. "ก้านหูอักเสบ?" โรคที่ไม่เคยรู้จัก!!! http://www.npa-account.com/news/view.php?id=8435 [2012, April 25].