ใช้โทรศัพท์ผิดวิธี มีสิทธิ์สูญเสียการได้ยิน (ตอนที่ 1)

รศ. นพ. ภาคภูมิ สุปิยพันธุ์ ประธานราชวิทยาลัยโสต สอ นาสิกแห่งประเทศไทย กล่าวเตือนผู้ใช้โทรศัพท์ ว่า ขณะนี้มีการศึกษาวิจัยที่ค้นพบว่า การใช้โทรศัพท์ซึ่งบางครั้งมีเสียงดังมากนั้น มีแนวโน้มที่จะทำให้สูญเสียการได้ยิน เพราะเป็นการทำลายระบบ เซลล์ประสาทหูชั้นในจนเกิดความเสื่อม

ส่วนเรื่องผลกระทบต่อระบบประสาทหู ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์นั้น อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สรุป หลังการศึกษาวิจัยว่า ยังไม่สามารถบ่งชี้ชัดเจนได้ แต่มีความเป็นไปได้ที่อาจเป็นต้นเหตุหนึ่ง จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง โดยเก็บตัวอย่างข้อมูลคนไข้เพิ่มมากขึ้น

การได้ยิน (Hearing or audition) คือความสามารถในการรับรู้เสียง (Sound) จากการสั่นสะเทือน (Vibration) ผ่านอวัยวะ เช่น หู เป็น 1 ในของ 5 ของความรู้สึก/สัมผัส (Sense) [หรือที่เรียกกันว่า “ขันธ์ทั้งห้า”] หากปราศจากความสามารถในการได้ยิน เรียกว่า “หูหนวก” (Deafness)

สำหรับมนุษย์และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง การได้ยินเกิดขึ้นผ่านระบบการรับรู้เสียง (Auditory system) โดยการสั่นสะเทือนของหู แล้วเปลี่ยนความถี่หรือกระแส (Transduce) ไปยังชีพจรประสาท (Nerve impulse) ที่รับรู้โดยสมอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณกลีบขมับ (Temporal lobe)

เช่นเดียวกับการสัมผัส (Touch) การได้ยินต้องอาศัยความไวต่อการเคลื่อนไหวของโมเลกุลในโลกภายนอกของสิ่งมีชีวิต ทั้งการได้ยินและสัมผัสเป็นชนิดหนึ่งของกลไกการรับรู้ความรู้สึก (Mechanosensation)

ในกลไกการได้ยินนั้น มีแก้วหู (Eardrum) ทำหน้าที่กรองคลื่นความดันอากาศให้ไหลเข้าผ่านช่องทางเดียวของช่วง (Amplitude) ส่วนในหูชั้นใน (Inner ear) การกระจายแรงสั่นสะเทือน จะเป็นไปตามความยาวของเนื้อเยื่อ ที่เรียกว่า Basilar membrane ที่รับความรู้สึกโดยเซลล์เส้นขน (Hair cell)

สำหรับรูปแบบในเรื่องระยะทางและเวลา (Space and time) ของการสั่นสะเทือนในเยื่อฐาน (Basilar membrane) จะถูกแปรงสภาพไปเป็นรูปแบบ ณ ประสาทการได้ยิน (Auditory nerve) ซึ่งจะส่งผ่านข้อมูล (Information transmission) ไปยังก้านสมอง (Brainstem)

เราสามารถวัดการได้ยินด้วยการทดสอบพฤติกรรม โดยอาศัยเครื่องมือวัดเสียง (Audiometer) และเครื่องมือต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์กายภาพ (Electrophysiological test) ซึ่งได้ผลที่ค่อนข้างแม่นยำ แม้ผู้รับการทดสอบอาจจะหมดสติอยู่ (Unconscious) ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการทดสอบดังกล่าว ทำให้การคัดกรองการได้ยิน (Hearing screening) เป็นที่นิยมแพร่หลาย แม้ในเด็กทารก

โครงสร้างการได้ยินในสัตว์และมนุษย์มีกลไกการป้องกัน (Defense mechanism) [ตามธรรมชาติ] ต่อภัยคุกคาม ตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อของหูชั้นกลาง (Middle ear) ที่มีชื่อว่า Tensor tympani muscle ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม [รวมทั้งมนุษย์ด้วย] จะหดตัวกลับ เป็นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเสียงดังที่อาจเป็นอันตรายต่อความสามารถในการได้ยินของสิ่งมีชีวิต

แหล่งข้อมูล:

  1. เตือนใช้โทรศัพท์ผิดวิธี ระวังสูญเสียการได้ยิน: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000048676 [2012, April 23].
  2. Hearing (sense). http://en.wikipedia.org/wiki/Hearing_%28sense%29 [2012, April 23].