โรคไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว (ตอนที่ 2)

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นอาการผิดปกติทางสมองซึ่งทำให้มีการแปรปรวนในอารมณ์ การทำกิจกรรม และการทำงานประจำ อาการผิดปกติของโรคไบโพล่าร์ค่อนข้างรุนแรง เพราะมีความแตกต่างแบบ 2 ขั้ว ทำให้มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งในที่ทำงานหรือโรงเรียน และแม้แต่การฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ดีโรคไบโพล่าร์สามารถรักษาและใช้ชีวิตปกติได้

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาโรคไบโพล่าร์ กล่าวว่า โรคนี้เกิดจากหลายเหตุปัจจัยร่วมกัน อย่างแรกก็คือ จากพันธุกรรม โดยนักวิจัยพบว่าเด็กที่มีพ่อแม่หรือญาติเป็นโรคไบโพล่าร์จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กส่วนใหญ่จะต้องเป็นโรคนี้

อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในคู่แฝด (Identical twins) แม้ว่าทั้งคู่จะมียีน (Genes) ที่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้เป็นโรคนี้ทั้งคู่ ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จรงที่ทำให้เป็นโรคไบโพล่าร์

จากการศึกษาโครงสร้างสมองด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (Magnetic resonance imaging = MRI) และเครื่องวัดการทำงานของสมอง (Positron emission tomography = PET) ทำให้นักวิจัยได้ภาพการทำงานของสมอง

ซึ่งบางภาพแสดงให้เห็นถึงสมองของคนที่โรคไบโพล่าร์ว่าแตกต่างจากสมองของคนปกติหรือสมองของคนที่มีความผิดปกติทางจิตด้านอื่น เช่น สมองคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (Prefrontal cortex = PFC) ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไบโพล่าร์จะเล็กและทำงานได้น้อยกว่าสมองของผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ ทั้งนี้สมองส่วนนี้มีหน้าที่ในการตัดสินใจ

การทำงานของสมองส่วนนี้ระหว่างที่เป็นวัยรุ่น การพัฒนาที่ผิดปกติของสมอง ทำให้รู้ว่าทำไมจึงมีความผิดปกติเกิดขึ้น และอาจช่วยในการค้นหาอาการป่วยได้ก่อน

คนที่เป็นโรคไบโพล่าร์จะมีอารมณ์สุดขั้ว 2 ด้าน คือ อารมณ์คลุ้มคลั่งที่เรียกว่า ระยะเมเนีย (Manic episode) และอารมณ์ที่เศร้าหรือสิ้นหวังที่เรียกว่า ระยะซึมเศร้า (Depressive episode) หรือบางทีก็มีอารมณ์ผสมกันทั้ง 2 อย่างที่เรียกว่า ระยะผสม (Mixed state) โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านของพลังงาน กิจกรรม การนอน และพฤติกรรม โดยอาการของโรคไบโพล่าร์มีดังนี้

อาการของระยะเมเนีย

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

  • รู้สึกมีความสุขมาก
  • หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย
 

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

  • รู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวัง
  • ขาดความสนใจในกิจกรรรมที่เคยสนใจ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์

อาการของระยะซึมเศร้า

การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

  • พูดเร็ว คิดเร็ว ความคิดกระโดดไปมา
  • ไม่มีสมาธิ
  • ทำกิจกรรมมากขึ้น เช่น เริ่มโครงการใหม่
  • กระสับกระส่าย
  • นอนน้อยแต่ไม่รู้สึกเพลีย
  • มีความเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริงในความสามารถของคนบางคน
  • หุนหันพลันแล่น และมีพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง
 

การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

  • รู้สึกเหนื่อยหรือช้าลง
  • มีปัญหาในการแก้ไขปัญหา การจำ และการตัดสินใจ
  • กระสับกระส่าย หงุดหงิด
  • เปลี่ยนแปลงในการกิน การนอน หรือนิสัยอื่นๆ
  • คิดถึงความตาย การฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

แหล่งข้อมูล:

  1. Bipolar Disorder. http://www.nimh.nih.gov/health/topics/bipolar-disorder/index.shtml [2014, March 20].