โรคเบาหวานกับธาตุโครเมียม (ตอนที่ 1)

ในประเทศไทยมีคนป่วยเป็น “โรคเบาหวาน” ประมาณร้อยละ 9.6 ของประชากรผู้ใหญ่ เฉลี่ยอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย เนื่องจากทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดอัตราเจ็บป่วยและอัตราเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น

ส่วนการขาดธาตุโครเมียม (Chromium) เป็นความผิดปกติซึ่งมีผลมาจากการกินอาหารที่มีธาตุโครเมียมไม่เพียงพอ กรณีไม่ปกติดังกล่าว เป็นที่สังเกตในผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งได้รับอาหารชนิดของเหลวทางหลอดเลือดดำ เป็นระยะเวลานานๆ อย่างไรก็ตาม ปริมาณของธาตุโครเมียม ในร่างกายสามารถลดลงจากผลของอาหารที่มีน้ำตาลสูง

คำแนะนำการให้อาหารของสหรัฐเมริกา (US dietary guideline) สำหรับการได้ธาตุโครเมียมที่เพียงพอ ของปี พ.ศ. 2544 ต่ำลงจาก 50 - 200 ไมโครกรัม/วัน สำหรับผู้ใหญ่เป็น 30 - 35 ไมโครกรัม/วัน (สำหรับผู้ชาย) และ 20-25 ไมโครกรัม/วัน (สำหรับผู้หญิง) ปริมาณนี้ได้รับการจัดเป็นระบบคล้ายกับจำนวนค่าเฉลี่ยของการบริโภคของผู้มีสุขภาพดีในแต่ละคน ทำให้เข้าใจกันว่า มีคนอเมริกัน เป็นส่วนน้อยที่ขาดธาตุโครเมียม

ธาตุโครเมียม อาจถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับธาตุแมงกานีส ซึ่งปกติคนส่วนมากได้รับมากเกินพออยู่แล้ว ประมาณ 2% ของธาตุโครเมียมในกระเพาะที่ถูกดูดซึม ส่วนเกินที่เหลือจะถูกขับออกทางอุจจาระ กรดอะมิโน วิตะมิน ซี และ ไนอาซิน (Niacin) จะเพิ่มการดูดซึมธาตุโครเมียมจากระบบทางเดินอาหาร หลังการดูดซึม ธาตุโครเมียมชนิดนี้จะถูกสะสมที่ตับ กระดูก และม้าม

ธาตุโครเมียม (Cr 3+) พบในอาหารส่วนมาก รวมทั้งผลิตภัณฑ์เมล็ดพืช เนื้อที่ผ่านการปรุงอาหาร อาหารซีเเรียล(Cereal) ธัญพืช กาแฟ ถั่ว ถั่วเขียว ผัก บร็อคโคลี่ และบางชนิดของเหล้าไวน์ และเบียร์ ผลไม้และผักส่วนใหญ่ ตลอดจนอาหารที่ทำจากนม (Dairy) มักมีธาตุโครเมียมน้อย

ส่วนใหญ่ของธาตุโครเมียมในอาหารของคนมาจากอาหารปรุง หรือเก็บในกระทะและเครื่องกระป๋องที่ทำจากโลหะ สเตนเลส ซึ่งเครื่องกระป๋องประกอบด้วยธาตุโครเมียมถึง 18%

ปริมาณของธาตุโครเมียม ในร่างกายสามารถลดลงจากผลของอาหารที่มีน้ำตาลสูง ร่างกายจะเพิ่มการขับของธาตุโครเมียมผ่านทางปัสสาวะ เนื่องจากอัตราการขับถ่ายที่สูงและอัตราการดูดซึมที่ต่ำมากของรูปแบบส่วนใหญ่ของธาตุโครเมียม ความเป็นพิษฉับพลัน (Acute toxicity) อาจเกิดขึ้นได้ แม้จะไม่ปกติ

อาการของการขาดธาตุโครเมียม เป็นเหตุโดยการได้รับอาหารทางสายเป็นเวลานาน เป็นการบกพร่องของ Glucose tolerance อย่างรุนแรง น้ำหนักลด และสับสน ผู้ป่วยรายอื่นอาจพัฒนาอาการที่เส้นประสาทถูกทำลาย (เส้นประสาทส่วนปลายฝ่อ) (peripheral neuropathy)

การศึกษาในหนู เรื่อง Glucose Tolerance Factor (GTF) พบว่า ธาตุโครเมียมให้ผลที่เหมือนอินซูลินและมีศักยภาพที่เป็นประโยชน์ ทั้งในสิ่งมีชีวิตและในหลอดทดลอง โดยได้แสดงการสร้างผลเหมือนอินซูลิน ผ่านการออกฤทธิ์ที่สัญญาณของเซลล์ตามตัวรับอินซูลิน (Insulin receptor)

แหล่งข้อมูล:

  1. เบาหวานลงไต ปัจจัยเสี่ยงและแนวทางรักษา - http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111360&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2013, September 17].
  2. Chromium deficiency - http://en.wikipedia.org/wiki/Glucose_tolerance_factor#Supplementation [2013, September 17].