โรคหลอดเลือดสมองตอน อัมพาตต้องตรวจเพิ่มเติมอะไร

การให้อาหารทางสายยาง

ตรวจเลือดเพื่ออะไร

  • จำเป็นต้องตรวจเลือด ระดับน้ำตาล เกลือแร่ เพื่อคัดกรองภาวะอื่นที่มีอาการคล้ายกับอัมพาตได้ เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ เกลือแร่ผิดปกติ
  • เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคอัมพาต เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ธัยรอยด์ผิดปกติในผู้ป่วยอัมพาตอายุน้อย โรคซิฟิลิส เป็นต้น
  • ต้องตรวจหาประเมินภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะติดเชื้อ เกาต์อักเสบ
  • ต้องประเมินข้อห้าม และความพร้อมของการให้ยาละลายลิ่มเลือด เช่น ภาวะเลือดออกง่าย ซีดมาก เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น

คัดกรองภาวะอื่นๆ ที่คล้ายกับอัมพาต

  • ตรวจวัดระดับน้ำตาล เกลือแร่ในเลือด สารบ่งชี้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกับโรคอัมพาตได้

หาสาเหตุของอัมพาต

  • ตรวจเลือดเพื่อประเมินว่า เคยติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่ ภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ หน้าที่ของต่อมธัยรอยด์ ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด และอัลตราซาวด์หัวใจ (เอ็คโค่หัวใจ) กรณีผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 40 ปี

ประเมินภาวะแทรกซ้อน

  • การประเมินภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อ ได้แก่ ความสมบูรณ์ของเลือด (ซีบีซี:CBC) การตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ และปัสสาวะ เป็นต้น รวมทั้งการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองซ้ำว่ามีภาวะสมองบวมหรือไม่ กรณีอาการทางระบบประสาททรุดลง

ประเมินข้อห้ามและความพร้อมการให้ยาละลายลิ่มเลือด

  • ผู้ป่วยอัมพาตสมองขาดเลือดเฉียบพลัน การประเมินความพร้อมในการให้ยาละลายลิ่มเลือด ต้องตรวจการแข็งตัวของเลือด (พีที: ไอเอ็นอาร์: INR)
  • ตรวจวัดปริมาณเกล็ดเลือด ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง และระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจเพิ่มเติมในแต่ละคนไม่เหมือนกัน แพทย์พิจารณาเฉพาะรายตามความเหมาะสม