โรคภูมิแพ้...ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

สำหรับการรักษาโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง ก่อนจำเป็นต้องไปพบแพทย์ เราสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ด้วยวิธีการ

  1. หลีกเลี่ยงการเการอยผื่น โดยการบรรเทาอาการคันด้วยการใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ ครีมสเตียรอยด์เฉพาะที่ หรือ ครีมตามใบสั่งแพทย์ตัวอื่นๆ และรับประทานสารต้านฮิสตามีนเพื่อช่วยลดอาการคันรุนแรง ตัดเล็บให้สั้น อาจสวมถุงมือบางๆ เพื่อป้องกันการเกาตอนกลางคืน รักษาความชุ่มชื้นของผิวด้วยการใช้ขี้ผึ้ง ครีม หรือโลชั่นทา 2 - 3 ครั้งต่อวัน มอยส์เจอร์ไรเซอร์ ที่ใช้ควรปราศจากแอลกอฮอล์ กลิ่น สารย้อมสี น้ำหอม หรือสารเคมีอื่นๆ
  2. หลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ที่อาจทำให้อาการเลวร้ายลง ไม่ว่า จะเป็นอาหารบางประเภทอย่างไข่ โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อย ตัวก่อความระคายเคืองอย่างขนสัตว์และไขมันจากขนแกะ สบู่หรือ ผงซักฟอกเข้มข้น เช่นเดียวกันกับสารเคมีและตัวทำละลายต่างๆ การเปลี่ยนแปลงฉับพลันของอุณหภูมิ และความเครียด ของร่างกาย (ซึ่งอาจทำให้เหงื่อออกและอาการเลวร้ายลง) และ
  3. เมื่อซักล้างหรืออาบน้ำ ควรโดนน้ำในเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และใช้สบู่อาบน้ำสูตรอ่อนโยนแทนสูตรธรรมดา อาบน้ำเย็นเพียงเวลาสั้นๆ ดีกว่าแช่น้ำอุ่นเป็นเวลานาน ไม่ควรขัดหรือเช็ดผิว แรงหรือนานเกินไป ที่สำคัญ หลังอาบน้ำนั้น ควรทาครีมโลชั่น หรือขี้ผึ้งที่ให้ความชุ่มชื้นบนผิวขณะที่ผิวยังเปียก วิธีนี้จะช่วยกักความชุ่มชื้นไว้ได้

ถ้าอาการเลยเถิดมาถึงขั้นต้องพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยยา การฉีดยารักษาภูมิแพ้ไม่ใช่การรักษาสำหรับโรคภูมิแพ้ ทางผิวหนัง การรับประทานสารต้านฮิสตามีนอาจช่วยเรื่องอาการคัน ถ้าคุณเป็นภูมิแพ้ ยาประเภทนี้ยังสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมี แพทย์อีกด้วย

สารต้านฮิสตามีนบางตัวอาจทำให้ง่วงนอน แต่ก็มีประสิทธิภาพในเรื่องควบคุมการเกาตอนนอน แต่ก็มีสารต้านฮิสตามีนแบบใหม่ที่ไม่ทำให้ง่วงนอน อย่าง fexofenadine (Allegra), loratadine (Claritin, Alavert), และ cetirizine (Zyrtec) ต้นเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง มักได้รับการรักษาด้วยยาที่ทาลงบนผิวโดยตรง (ยาทาเฉพาะที่)

เริ่มแรกแพทย์อาจสั่งครีม Cortisone แบบเบา (หรือสเตียรอยด์) หรือขี้ผึ้ง ถ้ายังไม่หาย อาจต้องใช้ยาสเตียรอยด์ที่แรง กว่าเดิม หรืออาจต้องใช้ยาสเตียรอยด์ที่มีความเด่นต่างชนิดกันไปตามบริเวณของผิวหนังที่คัน ยาเฉพาะที่ประเภท Immunomodulator เช่น Tacrolimus (Protopic) และ Pimecrolimus (Elidel) ใช้ในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 2 ขวบ

ตัวยาที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้ง ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินที่ทำจากถ่านหิน หรือ Anthralin ใช้สำหรับบริเวณที่เป็นรอย หนา ยาที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอที่มีส่วนประกอบของ Ceramide วิธีการรักษาอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะชนิดครีมหรือกิน ถ้าผิว หนังติดเชื้อ ยาที่ระงับระบบภูมิคุ้มกันได้แก่ Cyclosporine, Methotrexate หรือ Mycophenolate mofetil นอกจากนี้ยังมี การรักษาด้วยวิธีสังเคราะห์แสง ที่ปล่อยให้ผิวสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลตอย่างพอประมาณ

ดร. พญ. วิภารัตน์ มนุญากร จาก รพ. รามาธิบดีกล่าวว่า สำหรับผู้สนใจ เรื่องโรคภูมิแพ้ สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ www.allergyexpert.org ซึ่งเป็นศูนย์กลางความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคภูมิแพ้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งมีแบบสอบถามโรคภูมิแพ้เบื้องต้นว่า เรามีความเสี่ยงเป็นโรคภูมแพ้ มากน้อยแค่ไหน

แหล่งข้อมูล:

  1. พบคนไทย เป็นภูมิแพ้มากขึ้น ส่งผลกระทบ ชีวิตการงาน http://www.thairath.co.th/content/life/307266 [2012, November 30].
  2. Atopic dermatitis. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0001856/ [2012, November 30].