โรคภูมิแพ้...ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย (ตอนที่ 2)

โรคภูมิแพ้พบในทุกเพศทุกวัย แต่พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โรคภูมิแพ้เป็นภัยเงียบที่บั่นทอนสุขภาพคนไทย มีแนวโน้มจะพบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่ามีคนไทยป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ประมาณ 10 - 15 ล้านคน แม้ว่าโรคนี้จะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการทำงานและชีวิตประจำวัน

ต่อจากโรคภูมิแพ้ทางจมูก ก็ตามมาติดๆ ด้วยโรคเกี่ยวกับภูมิแพ้ที่คนไทยเป็นกันเยอะที่สุดเป็นอันดับสอง คือโรคหืด (Asthma) นั่นเอง โรคหืดเป็นความผิดปกติที่ทำให้ทางเดินอากาศหายใจของปอด บวมและตีบแคบลง ซึ่งนำไปสู่การหายใจลำบาก หายใจแล้วมีเสียงฟืดฟาด หายใจขาดเป็นห้วง แน่นหน้าอก และไอ

โรคหืดเกิดจากการอักเสบของทางเดินอากาศหายใจ เมื่ออาการโรคหืดกำเริบ กล้ามเนื้อรอบๆ ทางเดินอากาศหายใจ จะตึง และกล้ามเนื้อด้านในทางเดินอากาศหายใจจะบวม เมื่อเป็นเช่นนี้อากาศก็จะเดินทางผ่านทางเดินได้น้อยลง สำหรับคน ที่ไวต่อสิ่งเร้า อาการโรคหืดสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยการหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าไป

สารก่อภูมิแพ้ดังกล่าวมีตั้งแต่ขน หรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ ฝุ่น อากาศเปลี่ยน (มักเป็นอากาศเย็น) สารเคมีในอากาศหรืออาหาร การออกกำลังกาย เชื้อรา ละออง เกสรดอกไม้ การติดเชื้อในทางเดินหายใจอย่างโรคหวัด ความเครียด ควันยาสูบ และในผู้ป่วยบางราย การกินยาแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ก็กระตุ้นให้เกิดอาการได้

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหืดจะอาการกำเริบแตกต่างกันไป คือ บางคนมีอาการลมหายใจ ขาดเป็นห้วงระยะยาว พ่วงด้วยอาการดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นอีกเป็นช่วงๆ และจะมีการหายใจแล้วมีเสียงหรืออาการไอเป็นอาการ หลัก อาการโรคหืดอาจกำเริบเพียงไม่กี่นาทีไปจนถึงเป็นวันๆ และอาจเป็นอันตรายหากกระแสลมหายใจถูกกั้นอย่างรุนแรง

อาการ โดยทั่วไปของโรคหืดประกอบไปด้วย ไอโดยไม่มีเสมหะ พื้นที่ระหว่างซี่โครงหดตัวเมื่อหายใจ หายใจไม่ทันมากยิ่งขึ้นเมื่อออกกำลังกาย และหายใจแล้วมีเสียงฟืดฟาด ซึ่งมาเป็นช่วงๆ คั่นโดยช่วงปลอดอาการ อาการอาจแย่ลงตอนกลางคืน หรือเช้ามืดอาจหายไปเอง

อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจดีขึ้นเมื่อใช้ยาขยายหลอดลมช่วยเปิดทางเดินอากาศหายใจ (Bronchodilator) อาจแย่ลงเมื่อหายใจในอากาศเย็น อาจแย่ลงเมื่อออกกำลังกาย อาจแย่ลงเมื่อมีอาการกรดไหลย้อน จุกเสียดกลางหน้าอกร่วม ด้วย และมักเกิดขึ้นกะทันหัน แล้วยังมีอาการในภาวะฉุกเฉินอีก ไม่ว่าจะเป็นปากและหน้ามีสีเขียว ระดับความตื่นตัวของร่างกายลดต่ำลง

นอกจากนี้อาจมีอาการง่วงหรือสับสนอย่างรุนแรงเมื่ออาการกำเริบ หายใจลำบากขั้นรุนแรง ชีพจรเต้นเร็ว กระวน กระวายขั้นรุนแรง เนื่องมาจากการหายใจลำบาก และการออกเหงื่อ อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมกับโรคหืดได้ด้วย อย่างรูป แบบการหายใจที่ผิดปกติ คือ หายใจออกนานกว่าหายใจเข้าถึง 2 เท่า หยุดหายใจชั่วคราว เจ็บและแน่นหน้าอก

สำหรับการรักษาโรคหืดนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการบวมของทางเดินอากาศหายใจ และเพื่ออยู่ให้ห่างจากสาร ที่กระตุ้นให้เกิดอาการของคุณ การรักษาโรคหืดด้วยยามีอยู่ 2 ประเภทหลัก คือ ยาคุมอาการเพื่อป้องกันโรคกำเริบ และยา บรรเทาอาการเพื่อใช้ระหว่างอาการกำเริบ

แหล่งข้อมูล:

  1. พบคนไทย เป็นภูมิแพ้มากขึ้น ส่งผลกระทบ ชีวิตการงาน http://www.thairath.co.th/content/life/307266 [2012, November 27].
  2. Asthma. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0001196/ [2012, November 27].