โรคของคนชอบเก็บ-ไม่กล้าทิ้ง (ตอนที่ 3)

โรคของคนชอบเก็บ

ผู้ที่เป็นโรคนี้มักคิดว่าต้องเก็บสิ่งของเพราะ

  • เชื่อว่าอาจจำเป็นต้องใช้ของนั้นในอนาคตหรือของนั้นจะมีค่าในอนาคต
  • ของนั้นมีค่าต่อความรู้สึก เช่น เก็บไว้เพื่อรำลึกถึงความสุขที่เคยมี หรือเป็นตัวแทนของคนรักหรือสัตว์เลี้ยงที่รัก
  • มีความรู้สึกปลอดภัยเมื่อถูกแวดล้อมด้วยสิ่งที่เก็บสะสมมา
    • ยังไม่เป็นที่ทราบชัดถึงสาเหตุของการเกิดโรคนี้ แต่สาเหตุที่อาจเป็นไปได้และกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา ได้แก่ กรรมพันธุ์ สารเคมีในสมอง และความเครียด

      โดยความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ ได้แก่

      • อายุ – มักเริ่มเป็นตอนอายุระหว่าง 11-15 ปี และจะมีอาการมากขึ้นไปตามอายุ
      • บุคลิกภาพ – มักเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจ (Indecisiveness)
      • ประวัติครอบครัว – หากคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้น
      • ความเครียด – บางคนเป็นเริ่มเป็นโรคนี้ภายหลังที่ผ่านชีวิตที่เครียดและไม่สามารถจัดการได้ เช่น คนที่รักตาย มีการหย่าร้าง หรือสูญเสียของจากเหตุไฟไหม้
      • การแยกตัวจากสังคม (Social isolation) – คนที่เป็นโรคนี้มักชอบแยกตัวจากสังคม และในทางกลับกันบางคนก็อาจเป็นโรคนี้เพราะอยู่โดดเดี่ยว
      • เป็นคนโสดหรืออยู่คนเดียว

      โรคชอบเก็บสะสมของสามารถก่อให้เกิดสภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น

      • สภาพซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ (Unsanitary conditions) ซึ่งเป็นต้นเหตุของความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะรก สกปรก ทำความสะอาดยาก
      • เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
      • เกิดเพลิงไหม้
      • ทำงานแย่ลง (Poor work performance)
      • มีความขัดแย้งในครอบครัว
      • โดดเดี่ยวและแยกตัวจากสังคม
      • มีปัญหาเรื่องการเงิน

      ส่วนการวินิจฉัยโรคนี้อาจทำได้จากการประเมินทางจิตวิทยา (Psychological evaluation) โดยถามคำถามกับผู้ป่วยหรือคนรอบข้าง

      แหล่งข้อมูล

      1. Hoarding disorder. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hoarding-disorder/basics/definition/con-20031337 [2016, September 4.

      2. Hoarding disorder. http://www.nhs.uk/Conditions/hoarding/Pages/Introduction.aspx#why [2016, September 4].

      3. Hoarding. http://www.rcpsych.ac.uk/healthadvice/problemsdisorders/hoarding.aspx [2016, September 4].