โรคกระดูกเปราะกรรมพันธุ์ (ตอนที่ 4)

โรคกระดูกเปราะกรรมพันธุ์

โรค OI ชนิดที่ 5 (Type V OI)

  • อาการและรูปที่ปรากฏจะคล้ายกับชนิดที่ 4
  • มักจะมีการงอกของกระดูกเกิดใหม่ที่โตเกิน (Hypertrophic calluses) ในบริเวณที่กระดูกหักหรือบริเวณที่ผ่าตัด
  • มีหินปูนเกาะเยื่อบุเซลล์ระหว่างกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) ซึ่งเป็นกระดูกแขนบริเวณระหว่างข้อศอกกับข้อมือ จึงทำให้การเคลื่อนไหวของปลายแขนมีจำกัด
  • ตาขาวสีค่อนข้างปกติ (สีขาวหรือเกือบขาว)
  • ฟันปกติ
  • มีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบยีนเด่น (Dominant inheritance pattern)

โรค OI ชนิดที่ 6 (Type VI OI)

  • เป็นชนิดที่ไม่ค่อยพบ มีอาการและลักษณะคล้ายชนิดที่ 4
  • มีค่าของ Alkaline phosphatase ที่สูงเล็กน้อย
  • กระดูกมีลักษณะเป็นเกล็ดปลา (Fish-scale) ที่ชัดเจนเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์
  • วินิจฉัยได้จากการการตัดชิ้นเนื้อกระดูก (Bone biopsy)
  • ยังไม่แน่ชัดว่า โรค OI ชนิดนี้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมลักษณะเด่น (Dominant) หรือลักษณะด้อย (Recessive)

โรค OI ชนิดที่ 7 (Type VII OI)

  • มีลักษณะคล้ายชนิดที่ 4
  • แต่ก็มีบางส่วนที่คล้ายกับชนิดที่ 2
  • ตัวเตี้ย
  • กระดูกต้นแขน (Humerus) และกระดูกต้นขา (Femur) สั้น
  • ขาโก่ง (Coxa vara) และมุมแหลมของกระดูกต้นขามีผลต่อเบ้าสะโพก (Hip socket)

โรค OI ชนิดที่ 8 (Type VIII OI)

  • มีลักษณะคล้ายชนิดที่ 2 หรือ 3 ยกเว้นในเด็กจะมีตาสีขาว
  • ไม่เจริญเติบโตอย่างรุนแรง (Severe growth deficiency)
  • การสะสมแคลเซียมในกระดูกไม่เพียงพอ (Undermineralization)

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิด ขึ้นกับชนิดของ OI ที่เป็น โดยมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปัญหากระดูกอ่อนและหักบ่อย ซึ่งได้แก่

  • การสูญเสียการได้ยิน (พบมากในชนิดที่ 1 และ 3)
  • ภาวะหัวใจวาย (พบในชนิดที่ 2)
  • ปัญหาทางเดินหายใจและปอดอักเสบอันเนื่องมาจากการมีผนังหน้าอกผิดรูป
  • ปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังหรือก้านสมอง
  • พิการถาวร (Permanent deformity)

บรรณานุกรม

1. Osteogenesis Imperfecta Overview. http://www.niams.nih.gov/health_info/bone/osteogenesis_imperfecta/overview.asp [2016, October 17].

2. Osteogenesis imperfecta.https://medlineplus.gov/ency/article/001573.htm [2016, October 17].