โรคกระดูกเปราะกรรมพันธุ์ (ตอนที่ 3)

โรคกระดูกเปราะกรรมพันธุ์

โรค OI ชนิดที่ 3 (Type III OI)

  • เป็นชนิดที่รุนแรงของเด็กแรกเกิด (Neonatal period) ที่มีชีวิตรอดมาได้
  • ทารกทั่วไปมีแขนขาโก่งและสั้น และกะโหลกศีรษะด้านบนบาง (Soft calvarium)
  • กระดูกหักง่าย (มักหักตั้งแต่แรกเกิด สามารถเอ็กซเรย์เห็นได้ก่อนคลอด)
  • ตาขาวมีสีฟ้า ม่วง หรือเทา อ่อน
  • ข้อหลวมและมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อที่แขนและขาไม่ดี
  • มีลักษณะของผนังทรวงอกเป็นรูปอกโอ่ง (Barrel-shaped rib cage)
  • ศีรษะมักจะใหญ่เมื่อเทียบกับตัว
  • ใบหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • กระดูกสันหลังคด (Spinal curvature)
  • อาจมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ หัวใจ
  • กระดูกมักผิดรูปร่างอย่างรุนแรง
  • ฟันอาจเปราะง่าย (Dentinogenesis imperfe)
  • หูอาจหนวก
  • มีการสร้างคลอลาเจนที่ไม่ปกติ

โรค OI ชนิดที่ 4 (Type IV OI)

  • มีความรุนแรงอยู่ระหว่างชนิดที่ 1 และชนิดที่ 3
  • กระดูกหักง่าย (มักเกิดก่อนวัยเริ่มหนุ่มสาว) โดยร้อยละ 25 ของทารกที่เป็นจะมีกระดูกหักมาตั้งแต่เกิด
  • มีการเจริญเติบโตที่ช้า (Growth retardation) ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงรุนแรง
  • ตัวเตี้ยกว่าปกติ แขนขาสั้น
  • ตาขาวสีค่อนข้างปกติ (สีขาวหรือเกือบขาว)
  • กระดูกผิดรูปร่างระดับอ่อนจนถึงปานกลาง
  • มีแนวโน้มที่กระดูกสันหลังจะคด
  • มีลักษณะของผนังทรวงอกเป็นรูปอกโอ่ง
  • ใบหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • ฟันอาจเปราะหรือไม่เปราะก็ได้
  • หูอาจหนวก
  • มีการสร้างคลอลาเจนที่ไม่ปกติ

บรรณานุกรม

1. Osteogenesis Imperfecta Overview. http://www.niams.nih.gov/health_info/bone/osteogenesis_imperfecta/overview.asp [2016, October 16].

2. Learning About Osteogenesis Imperfecta. https://www.genome.gov/25521839/learning-about-osteogenesis-imperfecta/ [2016, October 16].

3. Facts about Osteogenesis Imperfecta. http://www.oif.org/site/PageServer?pagename=AOI_Facts [2016, October 16].