โภชนาการกับการหายของแผล(Nutrition in Wound Care) ตอนที่ 6

โภชนาการกับการหายของแผล

การเลือกรับประทานอาหาร มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการ การรักษาบาดแผลเนื่องจากบาดแผลที่รุนแรงต้องการ โปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ซึ่งวิตามินต่างๆเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีความจำเป็นในการส่งเสริมการหายของบาดแผล และเกลือแร่ที่สำคัญต่อการหายของแผลมีดังนี้

1. ทองแดง เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์ที่ เชื่อมโยงคอลลาเจน ร่างกายคนเราต้องการแร่ธาตุทองแดงวันละ 2 – 3 มิลลิกรัมซึ่งได้รับจากอาหารเพียงอย่างเดียว อาทิ ตับ เห็ดทุกชนิด ถั่วต่างๆ เมล็ดธัญพืช กุ้ง และกล้วยทุกชนิด

2. สังกะสี ช่วยในการสร้างเซลล์เยื่อบุผิวและการสังเคราะห์ใยคอลลาเจน หากระดับสังกะสีในซีรั่มต่ำกว่า 100 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ทำให้เนื้อเยื่อที่งอกใหม่เจริญเติบโตช้า การสร้างเซลล์ผิวผิดปกติ ลดแรงต้านการแยกออกจากกันของขอบแผล ทำให้แผลหายช้า ร่างกายคนเราต้องการ แร่ธาตุสังกะสีวันละ 10 – 15 มิลลิกรัม ซึ่งสังกะสีจะพบมากใน หอยนางรม ตับ เนื้อสัตว์สีแดง จมูกข้าว ผักโขมและเมล็ดฟักทอง

3. แมกนีเซียม แร่ธาตุในเซลล์ที่สำคัญมีบทบาทต่อร่างกายในการรักษากล้ามเนื้อปกติและทำงานของเส้นประสาททำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง รักษาจังหวะการเต้นของหัวใจและการสร้างกระดูกให้แข็งแรง การขาดแมกนีเซียมสามารถนำไปสู่กล้ามเนื้อกระตุกโรคหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกันการบริโภคแมกนีเซียมมากเกินไปมักจะทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในขณะที่ร่างกายพยายามที่จะขับถ่ายส่วนเกิน อาหารแมกนีเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม ปลาทู ถั่วเหลือง ผลอะโวคาโด โยเกิร์ต กล้วยหอม ผลไม้แห้งและชอคโกแลต

4. เหล็ก เหล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นใช้ในการขนส่งออกซิเจนไปยังทุกส่วนของร่างกาย ขาดเล็กน้อยในการทำให้เกิดโรคโลหิตจางเหล็ก (เมื่อยล้า / อ่อนแอ) และการขาดเรื้อรังสามารถนำไปสู่ความล้มเหลวของอวัยวะ ร่างกายต้องการธาตุเหล็กวันละ 10 มิลลิกรัม ในทางตรงกันข้ามเหล็กมากเกินไปจะนำไปสู่การผลิตของอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายและเป็นอุปสรรคกับการเผาผลาญอาหารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะเช่นหัวใจและตับ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงคือ เมล็ดฟักทอง ตับไก่ หอยต่างๆ เมล็ดอัลมอนต์ ถั่วขาวและถั่วเหลือง.

5. แคลเซียม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการบำรุงกระดูก การส่งสัญญาณประสาทการหดตัวของกล้ามเนื้อ กรณีมีแคลเซียมส่วนเกิน (โดยเฉพาะจากอาหารเสริม) สามารถนำไปสู่โรคนิ่วในไต เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด ร่างกายต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน พบได้ในอาหารดังนี้

ผักใบเขียวเข้ม ชีส นมไขมันต่ำ โยเกิร์ต เต้าหู้ กระเจี๊ยบเขียว บรอกโคลี ถั่วเขียว อัลมอนด์และปลากระป๋องที่มีกระดูก

การดูแลด้านอาหารและโภชนาการ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการดูแลบาดแผล เพื่อส่งเสริมให้แผลหายตามกระบวนการการหายของแผล ไม่ติดเชื้อและมีภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นสารอาหารและพลังงานที่เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูบาดแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น.

อ้างอิง

วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.

ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

รุจิรา สัมมะสุต.หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด ; บริษัทพรการพิมพ์จำกัด ,2541

อนุชตรา วรรณเสวก.พยาบาลโภชนบำบัด Nutrition Support Nurse;2557.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ