โภชนาการกับการหายของแผล(Nutrition in Wound Care) ตอนที่ 3

โภชนาการกับการหายของแผล

การดูแลด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่มีบาดแผล ภาวะทุพโภชนาการมีความสัมพันธ์กับการเกิดรอยแยกของแผล โดยเฉพาะการหายของแผลที่มีการสูญเสียเนื้อเยื่อน้อยและใช้วิธีการเย็บขอบแผล (Primary intention) ในผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการเล็กน้อยอาจไม่มีผลต่อการหายของแผล ยกเว้นผู้ป่วยที่มีน้ำหนักลดลงร้อยละ 20 หรือมากกว่าของน้ำหนักตัวปกติภายในเวลา 6 เดือนมักพบว่ามีผลต่อการหายของแผล

ภาวการณ์ขาดสารอาหาร พบในผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมากถึงร้อยละ 25 และพบในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดร้อยละ 50 ภาวการณ์ขาดสารอาหารที่พบโดยมากมักจะเป็นภาวะขาดโปรตีน การขาดสารอาหารทำให้การหายของแผลช้าลง ระบบภูมิคุ้มกันลดลง อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

การดูแลอาหารผู้ป่วยจะต้องคำนึง ปริมาณพลังงานและโปรตีนเพื่อสร้างเสริมเซลล์ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่มีส่วนในการดูแลด้านอาหาร อาทิ การทำงานของอวัยวะอื่นๆ ตับ ไต หัวใจ ความอยากอาหาร การทำงานของระบบทางเดินอาหาร วิธีการให้อาหารทางปากหรือทางสายให้อาหาร เป็นต้น

อ้างอิง

วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.

ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

รุจิรา สัมมะสุต.หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด ; บริษัทพรการพิมพ์จำกัด ,2541

อนุชตรา วรรณเสวก.พยาบาลโภชนบำบัด Nutrition Support Nurse;2557.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ