โภชนาการกับการหายของแผล(Nutrition in Wound Care) ตอนที่ 2

โภชนาการกับการหายของแผล

ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการหายของแผล

  • การกำซาบของเนื้อเยื่อ(tissue perfusion)การที่เนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญในการนำสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • การได้รับออกซิเจนของเนื้อเยื่อ(Oxygenation)มีผลต่อการหายของแผลคือ เป็นการทำลายแบคทีเรีย สร้างภูมิคุ้มกันต้านทางการติดเชื้อ การสังเคราะห์คอลลาเจน การสร้างเยื่อบุผิว
  • ภาวะขาดสารอาหาร

    a. โปรตีนช่วยส่งเสริม การสร้างเนื้อเยื่อที่สึกหรอ เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง

    b. คาร์โบไฮเดรตสร้างพลังงานกับร่างาย เมื่อขาดคาร์โบไฮเดรต ร่างกายจะดึงโปรตีนที่สะสมในร่างกายมาใช้เป็นพลังงาน ส่งผลให้แผลหายช้า

    c. วิตามินและเกลือแร่ วิตามินซี วิตามินเอ สังกะสีและธาตุเหล็ก สำคัญต่อการสร้างคอลลาเจน ภูมิต้านทานเชื้อโรค การสร้างเยื่อบุผิว และการทำหน้าที่ของเม็ดเลือดแดงในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ ถ้าขาดวิตามินจะทำให้แผลหายช้า เนื้อเยื่อที่สร้างใหม่ไม่แข็งแรงและแผลแยกง่าย

  • อายุ ผู้สูงอายุการหายของแผลจะช้ากว่าคนหนุ่มสาว เนื่องจากมีการตอบสนองต่อการอักเสบได้น้อย การสังเคราะห์คอลลาเจนน้อยลง การสร้างหลอดเลือดช้า เพราะผนังหลอดเลือดหนาตัว การไหลเวียนของเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อบริเวณบาดแผลลดลง ประสิทธิภาพการต่อต้านเชื้อโรคลดลง
  • สภาวะโรค เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หลอดเลือดแดงเล็กจะมีการกำซาบออกซิเจนได้น้อย เป็นอุสรรคต่อการหายของแผล
  • ภาวะเครียดของแผล ภาวะเครียดของร่างกายทุกชนิด เช่น อาเจียน ท้องอืด แน่นท้อง ไอ จาม จะขัดขวางการสมานของเนื้อเยื่อทุกชนิด

ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการหายของแผล

  • ยาที่รับประทาน หรือยาฉีด เช่น ยาเคมีบำบัดจะกดไขกระดูก ทำให้การสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลง ยาสเตอรอยด์ จะทำให้แผลหายช้าลง
  • รังสีรักษา ทำให้เกิดพังผืด และรอยแผลเป็น ทำให้รบกวนแผลหลังผ่าตัด แผลจะติดช้ากว่าปกติ 4 - 6 สัปดาห์ และทำให้เนื้อเยื่ออ่อนแอถูกทำลายได้ง่าย
  • การสูบบุหรี่ ทำให้ฮีโมโกลบินทำงานลดลง รบกวนการปล่อยออกซิเจนเข้าเนื้อเยื่อทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
  • การดูแลบาดแผลที่ไม่เหมาะสม สิ่งแปลกปลอมในแผล การชอกช้ำที่แผล(mechanical trauma) การติดเชื้อ การเปื่อยนุ่มของผิวหนังรอบแผลจากสารน้ำแผลออกชุ่มบริเวณผิวหนังรอบๆแผลมากเกินไป

อ้างอิง

ระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.

ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

รุจิรา สัมมะสุต.หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด ; บริษัทพรการพิมพ์จำกัด ,2541

อนุชตรา วรรณเสวก.พยาบาลโภชนบำบัด Nutrition Support Nurse;2557.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ