โภชนบำบัดกับกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (ตอนที่ 1)

โภชนบำบัดกับกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นกลุ่มอาการที่พบได้มากขึ้นและบ่อยขึ้น เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มอาการนี้ยังไม่มียารักษาให้หายขาดจากอาการของโรคได้ จึงทำให้บุคลากรทางสาธารณสุขส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ และมุ่งเน้นป้องกันเพื่อไม่ให้กลุ่มอาการนี้เกิดขึ้น หรือ พยายามให้ภาวะนี้เกิดขึ้นช้าที่สุดในกรณีที่ป้องกันไม่ได้ทั้งนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดและนานที่สุดของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมอง

การป้องกันภาวะสมองเสื่อม เป็นอีกหนึ่งวิธีการป้องกันที่ได้รับจำเป็นอย่างมากจึงเมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางงานวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่าการที่ทารกในครรภ์จะสามารถพัฒนาสมองให้มีศักยภาพที่สมบูรณ์และมากที่สุดนั้นขึ้นกับสารอาหารที่ได้รับขณะอยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะ กลุ่มไขมันและวิตามิน/เกลือแร่ภาวะน้ำหนักตัวน้อยในทารกแรกเกิดและวัยเด็กมีความสัมพันธ์กันศักยภาพของสมองที่น้อยลงในวัยผู้ใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกและเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติ (A recent systematic review of evidence from epidemiological cohort studies estimated a relative risk for Alzheimer’s disease (AD) associated with mid-life obesity of 1.60(95% CL 1.34-1.92).

และยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน ระหว่างความสัมพันธ์ของความสามารถของสมองกับสารอาหารประเภทต่างๆ ได้แก่ วิตามินบี 6 บี12 โฟเลท โอเมกา-3 วิตามินซี วิตามินอีและอาหารเมดิเตอร์เรเนียน.

อ้างอิง

นัยพินิจ คชภักดี. อาหารฟังก์ชั่นกับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและสมอง. การประชุมวิชาการ เรื่อง แนวทางการดูแลสุขภาพและชะลอวัยแบบองค์รวม ; วันที่ 4 กันยายน 2558 ; ณ โรงแรมซากุระแกรนด์วิว สงขลา.

อรพิชญา ไกรฤทธิ์ . Nutritional Therapy for people with dementia . การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่อง งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ ; วันที่ 27 – 29 เมษายน 2558 ; ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์. กรุงเทพฯ.

เพียงพร เจริญวัฒน์ . งานโภชนบำบัดกับผู้ป่วยสมองเสื่อม . การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่อง งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ ; วันที่ 27 – 29 เมษายน 2558 ; ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์. กรุงเทพฯ.