โนโรไวรัส (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

โนโรไวรัส

อาการแทรกซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กและผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง (Severe dehydration) ภาวะขาดสารอาหาร (Malnutrition) และแม้แต่เสียชีวิต โดยสัญญาณเตือนของภาวะขาดน้ำ ได้แก่

  • อ่อนล้า (Fatigue)
  • ปากและคอแห้ง
  • กระสับกระส่าย (Listlessness)
  • เวียนศีรษะ (Dizziness)
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ร้องไห้ไม่มีน้ำตาในเด็ก

การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้ด้วยการตรวจอุจจาระ ส่วนการรักษานั้นไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะ และไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้ เนื่องจากเป็นการติดเชื้อไวรัส การฟื้นตัวโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของระบบภูมิต้านทาน อย่างไรก็ดี ต้องระวังเรื่องการเสียน้ำด้วยการดื่มน้ำให้มากพอหรือการดื่มน้ำเกลื่อแร่ (Oral rehydration fluids) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

ทั้งนี้ ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่และน้ำซุป เพราะการดื่มน้ำที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ จะทำให้อาการท้องเสียแย่ลง นอกจากนี้ อาจช่วยเรื่องอาเจียนได้ด้วยการแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และกินอาหารอ่อนย่อยง่าย (Bland diet) เช่น

  • น้ำแกง
  • กล้วย
  • โยเกิรต์

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อนั้น สามารถทำได้ด้วยการ

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ โดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำหรือการเปลี่ยนผ้าอ้อม ไม่ควรใช้เพียงแค่เจลล้างมือ (Alcohol hand gels)
  • หลีกเลี่ยงอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นผู้ทำอาหารควรงดทำอาหารอย่างน้อย 2 วัน หลังหายจากอาการ
  • ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนกิน
  • ปรุงอาหารทะเลให้สุก
  • ทำความสะอาดพื้นผิวที่อาจมีการปนเปื้อนให้สะอาด เช่น ห้องน้ำ ผ้าปูที่นอน
  • ทิ้งอาเจียนและอุจจาระของผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
  • พักผ่อนอยู่ที่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางจนกว่าอาการจะหาย

บรรณานุกรม

1. Norovirus infection. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/norovirus/basics/definition/con-20029968 [2017, February 25]

2. Norovirus. https://www.cdc.gov/norovirus/ [2017, February 25]