โนโมโฟเบีย (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

โนโมโฟเบีย

โทรศัพท์มือถือเริ่มมีการขายในตลาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2526 และได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในสังคมปัจจุบัน หรืออาจถือว่าเป็นสารเสพติดที่ไม่ใช่ยา (Non-drug addiction) ของศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว

เด็กนักเรียนบางคนอาจใช้เวลาถึงวันละ 9 ชั่วโมงอยู่กับโทรศัพท์ ทำให้มีผลต่อการเรียนที่ตกลง เพราะการขาดเรียน การไม่ทำการบ้าน หรือแม้แต่การใช้โทรศัพท์ระหว่างเรียน

จากการศึกษาของบริษัทวิจัยการตลาดของอังกฤษจากตัวอย่าง 2,163 คน พบว่า ร้อยละ 53 ของผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือในอังกฤษ มีอาการวิตกกังวลเมื่อทำโทรศัพท์มือถือหาย แบตเตอรี่หมด หรือไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ และพบว่าผู้ชายร้อยละ 58 และผู้หญิงร้อยละ 47 มีอาการหวาดกลัว (Phobia) และอีกร้อยละ 9 รู้สึกเครียดเมื่อปิดโทรศัพท์

อาการทั่วไปที่เกิดขึ้น ได้แก่

  • วิตกกังวล (Anxiety)
  • การหายใจเปลี่ยนแปลง (Respiratory alterations)
  • สั่นเทา (Trembling)
  • เหงื่อออก (Perspiration)
  • กระสับกระส่าย (Agitation)
  • งุนงงสับสน (Disorientation)
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia)

อาการทางอารมณ์ (Emotional symptoms) ได้แก่

  • หดหู่ซึมเศร้า (Depression)
  • ตื่นตระหนก (Panic)
  • กลัว (Fear)
  • ไม่เป็นอิสระ (Dependence)
  • ปฏิเสธ (Rejection)
  • ความภูมิใจในตัวเองลดลง (Low self-esteem)
  • โดดเดี่ยว (Loneliness) ไม่ยอมพบปะผู้คนซึ่งหน้า

ผลการรักษาในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นโรคแนวใหม่ อย่างไรก็ดีการรักษาที่น่าจะเป็นไปได้ ก็คือ วิธีปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-behavioral psychotherapy) ร่วมกับการใช้ยา (Pharmacological interventions) โดยวิธีปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมจะทำให้เป็นอิสระจากอำนาจของเทคโนโลยี่ (Technological influences) มากขึ้น

วิธีอื่นที่ใช้ได้ ก็คือ วิธีเผชิญความจริง (Reality Approach) โดยให้ผู้ป่วยอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือไปเลย และหากมีอาการรุนแรงอาจให้ยา Benzodiazepines ซึ่งเป็นยาในกลุ่มยานอนหลับและยาคลายเครียด หรือยา Tranylcypromine ร่วมกับยา Cloanzepam

แหล่งข้อมูล

  1. Nomophobia. https://en.wikipedia.org/wiki/Nomophobia [ [2015, September 6].