แอมบรอกซอล (Ambroxol)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาแอมบรอกซอล (Ambroxol) จัดเป็นยาที่พบแพร่หลายในร้านยาและสถานพยาบาลทั่วไป ใช้รักษาโรคทางเดินหายใจที่มีเสมหะเหนียวข้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการไอ

ยาแอมบรอกซอลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

แอมบรอกซอล

ยาแอมบรอกซอลมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • เป็น ยาขับเสมหะ และยาละลายเสมหะ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง อีกทั้งช่วยรักษาอาการเจ็บคอชนิดเฉียบพลันอันเกิดจากเชื้อไวรัส

ยาแอมบรอกซอลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาแอมบรอกซอลออกฤทธิ์โดยละลายเสมหะ ทำให้เสมหะลดความข้นเหนียวลง อีกทั้งกระตุ้นการหลั่งสารลดแรงตึงผิวของหลอดลม จึงทำให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น

ยาแอมบรอกซอลมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาแอมบรอกซอลมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น

  • ชนิดเม็ด 30 มิลลิกรัม
  • ชนิดน้ำเชื่อม 30 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา)

ยาแอมบรอกซอลมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาแอมบรอกซอล มีขนาดการใช้ยาที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นกับ อายุ ความรุนแรง สภาวะความเจ็บป่วยของร่างกาย ดังนั้น

  • จึงควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยสั่งจ่ายยาที่เหมาะสม
  • ไม่ควรซื้อรับประทานเอง
  • ขนาดรับประทานสูงสุดในผู้ใหญ่ต้องไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/วัน
  • ส่วนในเด็กควรต้องเป็นคำแนะนำจากแพทย์

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาแอมบรอกซอล ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดและอาการจากการแพ้ยา เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่น หายใจติดขัด/หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย
  • โรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาแอมบรอกซอลอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว
  • หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์หรือไม่ หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาแอมบรอกซอล อาจผ่านรก หรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารก ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้

หากลืมรับประทานยาแอมบรอกซอลควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาแอมบรอกซอล สามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยาใกล้กับมื้อถัดไป ให้รับประทานขนาดปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

ยาแอมบรอกซอลมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/ อาการข้างเคียง) จากยาแอมบรอกซอล เช่น

  • ระคายเคืองกระเพาะอาหาร และลำไส้ จึงควรรับประทานพร้อมหรือหลังอาหาร

มีข้อควรระวังการใช้ยาแอมบรอกซอลอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาแอมบรอกซอล เช่น

  • ห้ามใช้ยาในผู้ที่แพ้ยานี้
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

*****อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมถึงยาแอมบรอกซอลด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะ ยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาแอมบรอกซอลมีปฏิกิริยาระหว่างยาแอมบรอกซอลกับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยังไม่พบว่า ยาแอมบรอกซอลมีปฏิกิริยาระหว่างยาร่วมกับยาอื่น

ควรเก็บรักษายาแอมบรอกซอลอย่างไร?

ควรเก็บรักษายาแอมบรอกซอล เช่น

  • เก็บยาให้พ้นแสง/แสงแดด
  • เลี่ยงการเก็บในที่ชื้น หรือในที่ที่มีอุณหภูมิสูง
  • สามารถเก็บยาในอุณหภูมิห้องได้
  • ไม่ควรเก็บยาที่หมดอายุ ควรนำทิ้งทำลาย (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ‘วิธีทิ้งยาหมดอายุ’)
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • และห้ามเก็บยาในตู้แช่แข็งของตู้เย็น

ยาแอมบรอกซอลมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต ยาแอมบรอกซอล เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
AMBROLEX (แอมบรอเลกซ์)Glaxo Smith Kline
AMBROXAN (แอมบรอซาน)M & H Manufacturing
AMPROMED (แอมโปรเมด)Millimed
AMTUSS (แอมทัส)Unison
AMXOL (แอมซอล)Biolab
BROXOL (โบรซอล)Masa Lab
MEDOVENT (เมโดเวนท์)Medochemie
MISOVAN (ไมโซแวน)T.O. Chemicals
MOVENT (โมเวนท์)Community Pharm PCL
MUCODIC (มูโคดิค)Medicine Products
MUCOLAN (มูโคแลน)Milano
MUCOLID (มูโคลิด)Greater Pharma
MUCOMED (มูโคเมด)Medifive
MUCOSOLVAN (มูโคโซลแวน) Boehringer Ingelheim
MUCOSOLVAN PL (มูโคโซลแวน พีแอล)Boehringer Ingelheim
MUCOXINE F (มูโคซิน)Pharmasant Lab
MUSOCAN (มูโซแคน)Sriprasit Pharma
NUCOBROX (นูโคบรอก)Bangkok Lab & Cosmetic
POLIBROXOL (โพลิโบรซอล)Polipharm
SECRETIN (เซครีทิน)Osoth Interlab
SIMUSOL (ไซมูซอล)Siam Bheasach
STREPSILS CHESTY COUGH (สเตรปซิลซ์ เชสทีค็อก)Reckitt Benckiser Healthcare
STREPTUSS AX (สเตรปทัสส์ เอเอ็กซ์)Reckitt Benckiser Healthcare

บรรณานุกรม

1. http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fThailand%2fdrug%2finfo%2fBroxol%2f%3fq%3dambroxol [2020,Oct24]
2. http://en.wikipedia.org/wiki/Ambroxol [2020,Oct24]