แลโลกแบบแห้งแล้ง (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

แลโลกแบบแห้งแล้ง

น้ำตาเทียมเป็นสารสังเคราะห์ที่ถูกผลิตขึ้นให้คุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำตาธรรมชาติมากที่สุด โดยมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น

  • Carboxymethylcellulose
  • Dextran
  • Glycerin
  • Hypromellose
  • Polyethylene glycol 400 (PEG 400)
  • Polysorbate
  • Polyvinyl alcohol
  • Povidone
  • Propylene glycol

น้ำตาเทียมที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ

1. น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย (Eyedrops with preservatives) เพื่อยืดอายุยาโดยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียหลังการเปิดใช้ น้ำตาเทียมชนิดนี้อาจทำเกิดการระคายเคืองต่อตา โดยเฉพะกรณีที่ตาแห้งปานกลางถึงรุนแรง

2. น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย (Preservative-free eyedrops) เป็นน้ำตาเทียมที่แนะนำให้ใช้สำหรับผู้ที่ต้องหยอดน้ำยามากกว่า 4 ครั้งต่อวัน หรือกรณีที่มีตาแห้งปานกลางถึงรุนแรง น้ำตาเทียมชนิดนี้มักบรรจุในขวดขนาดเล็กเพื่อสะดวกต่อการใช้ครั้งเดียว (Single-dose vials)

สำหรับการใช้น้ำตาเทียมนั้น ให้ปฏิบัติตามฉลากกำกับ อย่าใช้ยาที่เปลี่ยนสี ควรเก็บยาให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น หากเป็นยาที่ไม่มีสารกันเสีย ควรใช้ภายใน 12 ชั่วโมงหลังการเปิดใช้ และปฏิบัติดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด
  • เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปเจริญเติบโตในยา พยายามอย่าสัมผัสกับหัวขวดหรือปลายหลอด และปิดฝาให้แน่นหลังการใช้
  • แหงนหน้าขึ้น ใช้มือข้างหนึ่งดึงหนังตาล่างเบาๆ ลงมาเป็นกระเปาะหรือกระพุ้ง
  • เหลือบตามองขึ้นข้างบน
  • ยอดน้ำตาเทียม 1-2 หยด ด้วยมืออีกข้างลงในเบ้าตา
  • หลับตา กรอกตาไปมา ห้ามกระพริบตาชั่วครู่
  • เช็ดยาส่วนเกินที่หยดออกมานอกดวงตาด้วยกระดาษชำระหรือผ้าที่สะอาด

ทั้งนี้ หากต้องหยอดตาอื่นด้วย ให้รออย่างน้อย 5 นาที จึงค่อยหยอดยาอื่น และห้ามใช้ยาหยอดตาหรือน้ำตาเทียมร่วมกับผู้อื่น เพราะหากเจ้าของยามีการติดเชื้อ ก็อาจได้รับเชื้อนั้นด้วย

แหล่งข้อมูล

1. Lubricant Eye Drops. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-76422/lubricant-eye-drops/details#uses [2016, June 14].