แลโลกยามค่ำคืน (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

แลโลกยามค่ำคืน

สาเหตุภายนอกของอาการตาบอดกลางคืน (ต่อ)

  • การขาดธาตุสังกะสีที่ทำงานคู่กับวิตามินเอ
  • การสัมผัสกับแสงแดดที่มากเกินไป
  • ผลแทรกซ้อนจาการทำเลสิก (LASIK surgery) ทำให้เห็นเป็นแสงจ้ารอบวัตถุโดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่มีผลทำให้จอประสาทตาเสื่อมหรือที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic retinopathy)
  • การใช้ยาที่มีความเป็นพิษต่อจอประสาทตา (Retinotoxic) ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการตาบอดกลางคืน เช่น ยาควินิน (Quinine) ยารักษาสิวไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) โดยเฉพาะในผู้ที่มีระดับวิตามินเอในร่างกายต่ำอยู่แล้ว

การทดสอบอาการตาบอดกลางคืนทำได้โดยการทดสอบเปิดปิดไฟ (Dim light) แล้วดูว่าความสว่างขนาดไหนที่ทำให้มองเห็น และต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไรที่จะมองเห็น วิธีทดสอบ ได้แก่

  • การตรวจการมองเห็นสี (Color vision testing)
  • การตรวจสอบปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Pupil light reflex)
  • การทดสอบการหักเห (Refraction)
  • การตรวจจอประสาทตา (Retinal exam)
  • การใช้กล้องตรวจตา (Slit lamp examination)
  • การวัดสายตา (Visual acuity)
  • การวัดคลื่นไฟฟ้าจอตา (Electroretinogram / ERG)
  • การตรวจสอบลานสายตา (Visual field)

สำหรับการรักษา กรณีที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินเอ ก็จะให้กินอาหารที่มีวิตามินเอสูง เช่น ตับ แครอท ฟักทอง แคนตาลูป แอปิคอต มะละกอ มะม่วง ไข่แดง เนย ฯลฯ หรือ ให้กินอาหารเสริมวิตามินเอ

แต่กรณีที่เป็นโรคทางพันธุกรรมนั้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา มีแต่เพียงการให้วิตามินเอในปริมาณที่สูงที่สามารถชะลออาการตาบอดให้ช้าลง ส่วนอนาคตอาจเป็นไปได้ที่จะรักษาด้วยการปลูกถ่ายจอประสาทตา หรือรักษาด้วยสเต็มเซลล์

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำในการดูแลสุขภาพตาที่ดี

  • กินอาหารบำรุงสายตา เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 fatty acids) ลูทีน (Lutein) สังกะสี (Zinc) วิตามิน เช่น ผักใบเขียว อย่างผักปวยเล็ง ผักคะน้า ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ไข่ ถั่ว แหล่งโปรตีนที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ หอยนางรม เนื้อหมู
  • งดสูบบุหรี่
  • สวมแว่นกันแดด เพื่อป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต
  • ปกป้องสายตาจากการงานหรือกีฬาที่อาจเป็นอันตรายต่อตา เช่น สวมหมวกนิรภัย เป็นต้น
  • พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ ที่เป็นสาเหตุให้ตาเพลีย (Eyestrain) ตาแห้ง ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดไหล่

แหล่งข้อมูล

1. Vision - night blindnesshttps://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003039.htm [2016, June 6].

2. Night Blindness http://www.ourmed.org/wiki/Night_Blindness [2016, June 6].

3. How to Maintain Good Eye Health. http://www.webmd.com/eye-health/healthy-vision-as-you-age-14/good-eyesight [2016, June 6].