แรงงานไทย เสี่ยงภัยพิษสุรา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จัดการพบปะพูดคุยนโยบายโรงงานสีขาวลด ละ เลิกเหล้า เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบการ และลูกจ้าง กว่า 100 คนเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้

หลังจากพบว่า แรงงานไทยมีอัตราเสียชีวิต เพราะสุราถึง 40,000คน ต่อปี จึงมีการเสนอกฎหมายใหม่ห้ามขายห้ามดื่มสุราในโรงงาน ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งกองทัพผู้ใช้แรงงานและฝ่ายนายจ้างมากกว่า 95%

สุราเป็นแอลกอฮอล์ (Alcohol) ประเภทหนึ่ง แต่ที่นิยมกันที่สุดคือแอลกอฮอล์เอธานอล (Ethanol) ซึ่งมีอีเธน (Ethane) เป็นสารประกอบหลัก มนุษย์ได้ทำการผลิตและบริโภคเอธานอลมายาวนานานับพันๆ ปี ก่อนยุคประวัติศาสตร์ โดยการหมักและกลั่นเป็นเครื่องดองของเมาที่เรียกว่าสุราหรือเหล้า และใช้ประโยชน์อื่นๆได้อีก

เอธานอลเป็นของเหลวติดไฟ มีจุดเดือดที่ 78.4 องศาเซลเซียส ซึ่งใช้เป็นตัวทำละลาย (Solvent) ในอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงรถยนต์ และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี เนื่องจากข้อกำหนดของกฎหมายและภาษีในการบริโภคแอลอฮอล์ ในสหรัฐอเมริกาและในอีกหลายประเทศ เมื่อมีจุดประสงค์เพื่อนำเอธานอลไปใช้ในอุตสาหกรรม จะต้องทำการเติมสาร (Additive) บางชนิด หรือสารพิษบางอย่าง เพื่อมิให้เกิดความอร่อยถูกปาก (Unpalatable) นอกจากนี้ เอธานอลยังมีประโยชน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด เป็นอาหาร และเป็นยารักษาโรค

อย่างไรก็ตาม การบริโภคแอลกอฮอล์เอธานอล (สุรา) ในปริมาณมากจะก่อให้เกิดการมึนเมา (Drunkenness) และมีอาการเมาค้าง (Hangover) ปัจจัยสำคัญที่อาจก่อให้เกิดความล้มเหลวในระบบทางเดินหายใจจนถึงเสียชีวิตคือปริมาณแอลกอฮอล์และความบ่อยถี่ในการบริโภค [ซึ่งมีผลกระทบต่อความคุ้นชินของร่างกายที่มีต่อแอลกอฮอล์] เนื่องจากแอลกอฮอล์เอธานอลมีผลลดประสิทธิภาพการตัดสินใจของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งกระตุ้นพฤติกรรมอยู่ไม่สุข งุ่นง่าน จนถึงการขาดสติขาดความรับผิดชอบ

สาเหตุหลักของความเป็นพิษในแอลกอฮอล์เอธานอลมาจากสารปฐมภูมิ (ขั้นแรก) และสารทุติยภูมิ (ขั้นที่สอง) ในกระบวนการผลิต ซึ่งก่อให้เกิดสารสังเคราะห์อินทรียสาร (Acetaldehyde) และกรดน้ำส้มสายชู (Acetic) ตามลำดับ เมื่อถูกเผาผลาญในร่างกาย แต่สารจากทุติยภูมิและตติยภูมิ (ขั้นที่สาม) ในกระบวนการผลิต จะเป็นพิษน้อยกว่า แอลกอฮอล์เอธานอล เพราะตับไม่สามารถเผาเผลาญจนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง (Toxic by-product) จึงเหมาะที่นำสารจาก 2 ขั้นสุดท้าย มาใช้เพื่อความบันเทิงเริงรมย์และการรักษาพยาบาล เนื่องจากอันตรายจากผลข้างเคียงที่ต่ำกว่า

อย่างไรก็ตาม ยังมีแอลกอฮอล์อีกชนิดหนึ่งที่เป็นพิษมากกว่าเอธานอล นั่นคือเมธานอล (Methanol) เพราะเมธานอลซึ่งใช้เวลาเผาผลาญในร่างกายนานกว่ามากและสารที่ได้จากการเผาผลาญมีความเป็นพิษมากกว่า เช่น การหมักแอลกอฮอล์จากไม้จะก่อให้เกิดการสันดาปเป็นสารฆ่าเชื้อที่มีกลิ่นฉุน (Formaldehyde) และเป็นกรดควันระคายเคือง (Formic) ในตับ ซึ่งการสะสมสารดังกล่าว จะส่งผลให้ตาบอดหรือเสียชีวิตได้ในที่สุด

แหล่งข้อมูล:

  1. นายจ้าง-ลูกจ้าง จับมือ หนุนออก กม.ห้ามดื่มเหล้าในโรงงาน http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000025199 [2012, February 27].
  2. History of alcoholic beverages http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_alcoholic_beverages [2012, February 27].