แนวทางการรักษาโรคอ้วน ตอนที่ 5

แนวทางการรักษาโรคอ้วน

อาหารการรักษาโรคอ้วนด้วยการควบคุมอาหาร มีหลายรูปแบบโดยการควบคุมอาหารที่จำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ และนักกำหนดอาหาร ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบซึ่งจะกล่าวถึงในรูปแบบที่ 2 ดังนี้

อาหารคาร์โบไฮเดรทต่ำและอาหารโปรตีนสูง(Low-carbohydrate , High protein Diet : Low –CHO) โดยไม่จำกัดพลังงานอาหารที่รับประทาน

ตามแนวคิด คาร์โบไฮเดรทจะกระตุ้นการหลั่งของอินซูลิน และอินซูลินทำให้ไขมันสะสมในร่างกาย ทำให้อ้วน การลดอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทและเพิ่มอาหารที่มีไขมันในอาหารทำให้กระตุ้นการหลั่งของอินซูลินลดลง ไม่มีไขมันสะสมและเกิดการสลายไขมันในร่างกายมาใช้เป็นพลังงาน ทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ โดยมีข้อมูลที่มีการรวบรวมที่เปรียบเทียบผล ระหว่างอาหารที่จำกัดคาร์โบไฮเดรทและอาหารจำกัดไขมันเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าอาหารที่จำกัดคาร์โบไฮเดรท ช่วยลดน้ำหนักตัวได้ดีกว่าอาหารจำกัดไขมันที่ระยะเวลา 6 เดือน แต่น้ำหนักตัวที่ลดลงได้ไม่แตกต่างกันที่ระยะเวลา 1 ปี ขณะที่อาหารที่จำกัดคาร์โบไฮเดรท จะลดไขมันTriglyceride ได้ดีกว่าและเพิ่ม HDL-Cho ได้มากกว่า แต่ทำให้ไขมันTotat cholesterol และ LDL- Choสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารจำกัดไขมันในที่ 6 เดือนและ 1 ปี.

ซึ่งได้มีการสรุปว่าอาหารทั้ง 2 กลุ่ม สามารถช่วยลดน้ำหนักได้เมื่อทำการควบคุมอาหารร่วมกับการเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย

อ้างอิง

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

ประณิธิ หงสประภาส.การประเมินภาวะโภชนาการ.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ] เข้าถึงได้จาก http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000016/resume/Nutritional_assessment.doc

ศุภวรรณ บูรณพิร. Obesity in practice . Nutrition Update. สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.