แนวทางการรักษาโรคอ้วน ตอนที่ 2 การประเมินด้านโภชนาการในผู้ป่วยอ้วน

แนวทางการรักษาโรคอ้วน
  1. การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก เพื่อคำนวณค่าBMI และวัดเส้นรอบเอว เพื่อประเมินความรุนแรงโรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุง
  2. การซักประวัติครอบครัว โรคที่มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน เพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับบริบท
  3. การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว อาทิ อายุที่เริ่มอ้วนขึ้น น้ำหนักสูงสุดและต่ำสุดเมื่อมีอายุมากกว่า 18 ปี
  4. วิธีการลดน้ำหนักที่เคยใช้ อาทิ การควบคุมอาหาร การใช้ยาลดน้ำหนัก การใช้อาหารเสริมต่างๆสมุนไพรลดน้ำหนักหรือการผ่าตัดลดน้ำหนัก
  5. อาหารที่รับประทาน ในแต่ละมื้อหลัก มื้อว่าง เครื่องดื่มต่างๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. การออกกำลังกาย และกิจวัตรประจำวันควรย้อนหลัง 1 – 2 ปี
  7. แรงจูงใจในการลดน้ำหนัก

การประเมินดังกล่าวควรใช้วิธีการที่กระชับ การพูดคุยแบบสบายๆไม่กดดัน เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และจะทำให้การลดน้ำหนักไม่เกิดผลสัมฤทธ์ที่ดี.

อ้างอิง

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

ประณิธิ หงสประภาส.การประเมินภาวะโภชนาการ.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ] เข้าถึงได้จาก http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000016/resume/Nutritional_assessment.doc

ศุภวรรณ บูรณพิร. Obesity in practice . Nutrition Update. สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.