แนวทางการรักษาโรคอ้วน ตอนที่ 1

แนวทางการรักษาโรคอ้วน

โรคอ้วน หมายถึง การมีไขมันในร่างกายมากเกินปกติ โดยทั่วไปใช้ค่าดัชนีมวลกายหรือbody mass index (BMI) เป็นเกณฑ์ในการบอกว่าอ้วนหรือไม่ BMI ที่ > 23 กก./ม2 ถือว่ามีน้ำหนักเกินและที่ > 25 กก./ม2 ถือว่าอ้วน ซึ่งมีความสันพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย และใช้รอบเอว(waist circumference) เป็นตัวตัดสินว่ามีภาวะอ้วนลงพุงหรือไม่ โดยภาวะอ้วนลงพุง หมายถึง รอบเอว > 90 ซม.ในผู้ชาย และ > 80 ซม.ในผู้หญิง เนื่องจากการมีภาวะอ้วนลงพุงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนมากกว่าเป็นโรคอ้วนอย่างเดียว

ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน (WHO 1998)

สาเหตุของโรคอ้วน เกิดจากพลังงานที่รับประทานเข้าไปมากกว่าพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ ทำให้มีพลังงานส่วนเกินสะสมในรูปไขมันในร่างกาย ซึ่งมาจากผลทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมรวมกัน อาทิปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การรับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ใช้งาน การออกกำลังกายน้อย หรือการใช้ยาบางชนิด มีโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น Cushing ,s syndrome โรคทางพันธุกรรม และอ้วนกรรมพันธุ์

โรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคต่างๆ โรคอ้วนมีผลเสียต่อสุขภาพทำให้อัตราตายและอัตราพิการเพิ่มขึ้นมากกว่าคนไม่อ้วน การที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือความอ้วนนั้น สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบด้วยกัน

อ้างอิง

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

ประณิธิ หงสประภาส.การประเมินภาวะโภชนาการ.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ] เข้าถึงได้จาก http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000016/resume/Nutritional_assessment.doc

ศุภวรรณ บูรณพิร. Obesity in practice . Nutrition Update. สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.